รัฐ-ชุมชนสวัสดิการทางการศึกษา


เราคิดมากกว่านั้นขึ้นมาหน่อยตรงที่ว่า การจัดสวัสดิการนั้นไม่ใช่ราฐเป็นผู้จัดให้เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ชุมชนต้องมามีส่วนร่วมในการจัดการ เรื่องสวัสดิการด้านนี้ด้วย เราจึงเรียกว่า รัฐ-ชุมชนสวัสดิการทางการศึกษาที่พึงมีแก่เด็ก เยาวชน ซึ่งเป็นบุตรหลานของชุมชน

การทำงานเพื่อท้องถิ่นนั้น ในฐานะที่เป็นคนท้องถิ่นเราก็ต้องการเห็นการเสริมสร้างและยกระดับการทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง   ดังนั้น เราจึงคิดต่อยอดกิจกรรม โครงการต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาคน หรือ ให้คนเป็นศูนย์กลางาการพัฒนา  เราจึงมองไปที่การจัดการศึกษา  ที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ของทั้งสองฉบับ (  ถึงแม้ว่ารธน.๔๐ จะถูกยกเลิกไปแล้วก็ตาม)  รธน. ปี ๕๐  มาตรา.๔๘ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรืออยู่ในสภาวะที่ยากลำบากต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมจากรัฐ

มาตรา.๔๙ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการศึกษาอบรม การเรียน การสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ในการจัดการศึกษานั้น  เราจะนำเอายุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนมาใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนรูปแบบการจัดการศึกษาที่จะต้องก่อเกิดประโยชน์แก่ทุกคนทุกฝ่าย(Education for All) ภายใต้แนวทางหลัก ๒ ประการ คือ
๑) การจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน และ
๒) ให้ประชาชน อปท. ชุมชน มีส่วนร่วมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้นแล้ว การจัดการศึกษาของเทศบาลตำบลปริกจะต้องนชำไปสู่วิสัยทัศน์ของเทศบาลตำบลปริกเองที่ต้องการเห็นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การศึกษาจึงต้องเป็นเรื่องของทุกคนทุกฝ่ายที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการจัดการศึกษา(All for Education )เพื่อสังคมและชุมชนของปริกเองและสังคมทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน

เพราะเราเชื่อว่าการจัดการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสวัสดิการ ที่รัฐจะต้องทำหน้าที่ในการจัดสวัสดิการให้พลเมือง  แต่เราคิดมากกว่านั้นขึ้นมาหน่อยตรงที่ว่า การจัดสวัสดิการนั้นไม่ใช่ราฐเป็นผู้จัดให้เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ชุมชนต้องมามีส่วนร่วมในการจัดการ เรื่องสวัสดิการด้านนี้ด้วย เราจึงเรียกว่า รัฐ-ชุมชนสวัสดิการทางการศึกษาที่พึงมีแก่เด็ก เยาวชน ซึ่งเป็นบุตรหลานของชุมชน

เพราะเราเชื่อว่า การพัฒนาที่สำคัญ คือการพัฒนาคน เราจึงกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานที่ ให้ คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา  เราจึงให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา ตอนนี้เราได้เริ่มไปบ้างแล้วโดยต่อยอดจากการที่เรามีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขยายผลมาเป็น ชั้นอนุบาล และชั้น ป.๑ แล้วค่อย ๆ ต่อยอดขยายชั้นเรียนออกไปปีละ ๑ ชั้นเรียนเป็นลำดับ ครับผม

 

หมายเลขบันทึก: 163089เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2008 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 06:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ว่างๆจะหาโอกาสไปเยี่ยมโรงเรียนของท่านนายกฯ สักหน่อยครับ  อิอิ
  • เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ครับผม
  • ยินดียิ่งนัก

 

     

 

การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของคน 

ความรู้คือเครื่องมือที่ดี ที่เขาจะนำไปใช้ในการดำรงชีวิต

เดือนหน้าจะพาลูกสาวไปเยี่ยมปู่ที่บ้านพรุ  อาจจะเลยไปเยี่ยมท่านนายกฯ  ที่เทศบาล นะเจ้าคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท