โครงสร้างของจิต


 ความรู้สึกตัว

 สนามแม่เหล็กไฟฟ้า

 กิจกรรมของเซลล์ประสาท เช่น  กระบวนการทางเคมี, กระบวนการการเกิดกระแสไฟฟ้า, กระบวนการ Synapses เป็นต้น

 ตัวเซลล์ประสาท

โครงสร้างของจิต อาจจะเขียนเป็นรูปได้ดังรูปข้างบนนี้   รูปข้างบนนี้จะแบ่งออกเป็น "ชั้น" จากบนลงล่างรวม ๔ ชั้น  ชั้นบนสุดคือ "ความรู้สึกตัว"  ชั้นล่างสุดคือ " ตัวเซลล์  หรือ กลุ่มเซลล์ประสาท"  เรื่องต่างๆที่บรรจุอยู่ในชั้นต่างๆนี้  ผมได้กล่าวมาแล้วในบันทึกครั้งก่อนๆ

ถ้าจะเปรียบเทียบกับโลกแล้ว   ความรู้สึกตัว  จะอยู่ที่ "ผิวโลก"  ส่วนอื่นๆถัดลงไปทั้งหมด ก็อยู่ "ใต้ผิวโลก" ลึกทะยอยลงไป จนถึงตัวเซลล์ โมเลกุล  และอนุภาคต่างๆที่ประกอบกันเข้าเป็นตัวเซลล์นั้น ก็จะอยู่แถวๆใจกลางโลก  ในระดับภายใต้ผิวทั้งหมดนี้  เราสังเกตโดยตรงไม่ได้

ส่วนที่อยู่ภายใต้ผิวลึกลงไปนี้เอง คือ ส่วนที่   ถ้าเรากล่าวถึง ก็เรียกว่า  เรากล่าวระดับ  "ทฤษฎี"  หรือกล่าวแบบทฤษฎี  คำแต่ละคำก็จะเป็น "คำเชิงทฤษฎี" หรือ Theoretical Word, Theoretical Term,  Premitive Term, เป็นต้น  ถ้าเราใช้คำเหล่านีกล่าวเป็นข้อความ  ก็เรียกว่า "ข้อความเชิงทฤษฎี"  และถ้าเราใช้ข้อความเหล่านี้เป็นประโยค เป็นเรื่องราวเพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่อยู่บริเวณผิวขึ้นไป  ก็เรียกว่า "ทฤษฎี"  ดังนั้น  คำว่า "อะตอม, อนุภาค, อิเล็กตรอน ฯลฯ" ก็ล้วนแต่เป็น คำเชิงทฤษฎี ทั้งสิ้น 

อนึ่ง ขอให้สังเกตว่า  โครงสร้างของจิต ตามรูปข้างบนนี้  เป็นมุมมองในปัจจุบัน  สิ่งที่ยังเป็นปัญหาสำหรับเราอยู่ในปัจจุบันก็คือ ที่เรากล่าวเป็นเชิงสมมุติฐานว่า  จิตเกิดจากกิจกรรมของเซลล์สมองนั้น  เรายัง "ไม่รู้" ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?  ซึ่งที่ผ่านมา  การตอบคำถามว่า ".... อย่างไร?" นั้น  ถือเป็นงานของนักวิทยาศาสตร์สาขา Neurology  แต่นักประสาทวิทยา เขาก็ไม่ได้สนใจเรื่องจิตเท่าไรนัก  ยกเว้นว่าจะไปพบ โดยบังเอิญ  ส่วนนักจิตวิทยาก็ไม่มีความรู้ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับ Neuroscience

ผมจึงคิดว่า  ถึงเวลาที่จำเป็นแล้ว ที่จะต้องเสนอสาขาความรู้ใหม่ขึ้นมา นั่นคือ Neuropsychology ครับ  เปิดเป็นสาขาหนึ่งใน Department of Neuroscience  ในคณะวิทยาศาสตร์ก็ได้  หรือถ้ามีคณะจิตวิทยาอยู่แล้ว  ก็เปิดในคณะจิตวิทยาได้เลย  ผมไม่ทราบว่าประเทศใดได้เปิดขึ้นแล้วหรือไม่ประการใด  แต่ เราไม่ต้อง "นั่งคอยให้เพื่อนเปิดก่อนแล้วเปิดตาม" หรอกครับ  เราเปิดสอนไปได้เลย  ถึงวันนั้น  เราอาจจะส่งวิชาการเป็นสินค้าออกก็ได้. 

หมายเลขบันทึก: 162539เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2008 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

รอนานเหมือนกัน กว่าจะได้อ่านตอนต่อมาของอาจารย์

 

ผมก็เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ เพราะตอนที่เรียน Cognitive Psychology ก็มีการพูดถึงเรื่องของ Neuroscience ไว้เยอะเหมือนกัน และเป็นสาขาที่มนุษย์เรายังไม่รู้อะไรอีกมาก และมีการทดลองและวิจัยเยอะแยะเต็มไปหมด เนื้อหาก็เยอะมากๆ และด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้เราได้ข้อมูลเพิ่มมาอีกมากมาย ผมเองก็คิดว่าคงถึงเวลาซักทีที่จะต้องมีสาขาวิชาด้านนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะแล้ว 

ครับ ดีแล้ว  ช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ มองในมุมมองใหม่ๆบ้าง จะได้มีของใหม่  ไม่ตามเพื่อน 

สวัสดีค่ะ อาจารย์  ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

  • อ่านบทความนี้ แล้วรู้สึกดีและเห็นถึงความเป็นไปได้ค่ะ
  • ยินดีที่ว่าต่อไป กายกับจิต มีโอกาสจะได้ซ่อมในที่เดียวกันค่ะ
  • ซ่อมได้ ทั้ง software และ hardware
  • น่าสนใจดีนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีครับ คุณ koffee mania

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท