Field-Note สมุทรสาคร


เราอาจจะกล่าวได้ว่าปัญหา "กำลังทรัพย์" ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เหมือนที่เคยได้ยินมาจากที่อื่น เเต่ปัญหาเรื่องการสื่อสารและการทำความเข้าใจเรื่องระบบสาธารณสุขแบบใหม่ ที่ประเทศไทย เเละคนไทยเองก็ยังงงๆ อยู่นี้ ให้แรงงานข้ามชาติในสมุทรสาครเข้าใจ เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีการนำเสนอ ประเด็นหลักประกันสุขภาพเเรงงานข้ามชาติที่มหาชัยจึงอาจเเตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะเเรงงานฯของเรายืนยันว่า "จ่ายแพงกว่า 30บาทได้ ถ้าให้บริการดี"

Field-note แรงงานต่างด้าว

 

กลุ่มในเมือง

 

กลุ่มที่ไปพบได้รับบริการจากหน่วยสาธารณสุขณรงค์ฤทธิ์ ด้านการให้ความรู้ บางครั้งรงงานก็จะส่งตัวแทนเเรงงานไปอบรมเรื่องวัณโรค ฯลฯ เป็นต้น ส่วนเรื่องบริการ จะเก็บ ค่าประกันสุขภาพ 1300 ก็ไม่ว่าขอให้ได้รับบริการที่ใส่ใจ ไม่ต้องรอนาน อยากได้ยาที่รักษาหายเร็วๆ เน้นยาฉีด หลายคนบอกว่า ถ้าไปโรงพยาบาลก็ได้เเค่พารา ซึ่งหาซื้อเองได้ที่ร้านขายยาใกล้บ้าน หรือถ้าไปคลินิกเอกชน (เป็นหวัด เป็นไข้เริ่มที่ 300 บาท) ก็จะได้ฉีดยา แรงงานข้ามชาติคิดว่า ยาฉีด ดีกว่ายาสำหรับรับประทาน ซึ่งก็จะต้องสื่อสารกันต่อไป  

 

พวกเขารู้สึกว่าคลินิกเอกชนค่อนข้างตามใจ เเละทันใจ นั่นคือไม่ต้องคอยนาน อยากเอกซ์เรย์ เจาะเลือด ตรวจเเล็บ ก็ทำได้ทันที เพียงเเค่บอก เเละจ่ายสตางค์เท่านั้น และเปิดถึง สามทุ่ม ส่วนศูนย์สุขภาพชุมชน ณรงค์ฤทธิ์ ให้บริการเฉพาะการให้ยาพื้นฐาน ให้คำเเนะนำด้านสุขภาพ เเละฉีดยาคุมกำเนิด  มีเสียงสะท้อนจาก พนักงานสาธารณสุขต่างด้าวว่า แรงงานฯ ที่นี่ยังทานยาคุมตามความเชื่อเดิมๆ ผลก็คือทานเเล้วยังท้อง ประกอบกับความนิยม "ยาฉีด" ทำให้การฉีดยาคุม ตามคลินิก เป็นการคุมกำเนิดที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมที่สุด 

 

นอกจากคลินิกเอกชเเล้ว ร้านขายยาใกล้บ้านก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะว่าไม่ต้องเสียค่ารถมอเตอร์ไซค์เที่ยวละ 20 บาท ไปโรงพยาบาล ไปรอเป็นชั่วโมงๆ เเล้วรับยาพาราเซตามอลกลับบ้าน

 

 

กลุ่มนอกเมือง

 

นอกจากพ่นยุงลายเเล้ว ไม่ได้รับบริการจากการ "ออกหน่วย"  หรือการบริการให้ความรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพเลย น่าแปลกใจที่กลุ่มที่ไปสำรวจ ทุกคนมี หรือเคยมีหลักประกันสุขภาพ แต่ไม่ค่อยได้ใช้ ยกเว้นกรณีป่วยหนัก หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน ทางเลือกในการใช้บริการก็คือ ไปคลินิก ซื้อยารับประทานเอง เพราะเมื่อไปโรงพยาบาล ก็ต้องรอนานมาก เนื่องจากเเรงงานฯทำงานทั้งวัน บางคนที่ทำกะกลางวันก็ไม่สามารถไปให้ทันกับการปิดเเละเปิดตามเวลาราชการได้

 

แรงงานฯ ที่จดทะเบียนถูกต้อง และมีบัตรประกันสุขภาพ จึงนิยมไปโรงพยาบาลเมื่อคลินิกบอกว่าป่วยมาก ไม่สามารถรักษาที่คลินิกได้ หลายคนเชื่อว่าการมีหลักประกันสุขภาพเป็ฯสิ่งที่ดี แต่พวกเขาไม่สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ เพราะนายจ้างจะเลือกให้ บางครั้งโรงพยาบาลที่ถูกใจนายจ้างก็บริการไม่ดี  ไม่สะดวกสำหรับลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไปใช้บริการคลินิกเอกชน

 

ทั้งสองกลุ่มรู้สึกว่าเงินที่เสีย 1300 บาทต่อปีไม่เป็นภาระ เเละเชื่อว่า ถ้ามีการปรับปรุงบริการให้ดี เขายินดีจะจ่ายเงินเพื่อรับบริการตามศักยภาพ เช่นหลักร้อย หลักพัน เขาพอจ่ายได้ ถ้าเป็นหลักหมื่น ก็อาจต้องขอผ่อนจ่าย หรือขออนุเคราะห์บางส่วน แต่ที่เขาไม่ไปใช้หลักประกันสุขภาพ เพราะว่าไม่สะดวก ต้องรอนาน แต่ก็อยากมีประกันสุขภาพไว้ เพราะอนาคตไม่ทราบว่าจะต้องป่วยหรือประสบเหตุที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงอะไรบ้าง 

 

ที่จริงเเล้วก็เป็นปัญหาที่คนไทยเองก็พบเหมือนกัน เเต่เรายังสามารถฟังคำอธิบาย อ่านป้าย เเละสื่อสารได้  แต่คนที่ไม่สามารถสื่อสารได้ เขาจะรู้สึกอย่างไร เมื่อไปโรงพยาบาลก็ไม่ได้รับการตรวจรักษาที่คาดหวัง โดยไม่มีคำอธิบาย แรงงานที่มีกำลังซื้อ (เน้นว่าอาจเป็นเพราะ ที่นี่เเรงงานได้ค่าจ้างค่อนข้างตามมาตรฐานขั้นต่ำ และช่วงที่มีกุ้ง ปลาเข้ามามากๆ แรงงานมีรายได้ดี ประกอบกับเป็นคนที่อยู่ค่อนข้างนาน เเละแยู่ในสังคมเมือง มีโอกาสรับข้อมูลข่าวสารเองได้) จึงคิดว่าถ้าเลือกได้ ขอ "ออกแบบ" การรักษาเองที่คลินิกเอกชนดีกว่า ยกเว้นกรณีที่เหลือบ่ากว่าเเรงจริงๆ ก็ต้องไปใช้ที่โรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลที่ประกันตนไว้

 

แรงงานที่นี่เชื่อระบบปากต่อปาก ถ้าโณงพยาบาลหรือคลินิกที่ไหนดี เขาก็จะบอกต่อๆ กันไป แล้วคนก็จะไปใช้บริการที่นั่น ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีข่าวไม่ดี ออกมา แรงงานก็จะรู้กันทั่ว เพราะส่วนมากก็ทำงานในโรงงานเดียวกัน อยู่อาศัยในละแวกเดียวกัน

 

เราอาจจะกล่าวได้ว่าปัญหา "กำลังทรัพย์" ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เหมือนที่เคยได้ยินมาจากที่อื่น เเต่ปัญหาเรื่องการสื่อสารและการทำความเข้าใจเรื่องระบบสาธารณสุขแบบใหม่ ที่ประเทศไทย เเละคนไทยเองก็ยังงงๆ อยู่นี้ ให้แรงงานข้ามชาติในสมุทรสาครเข้าใจ เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีการนำเสนอ ประเด็นหลักประกันสุขภาพเเรงงานข้ามชาติที่มหาชัยจึงอาจเเตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะเเรงงานฯของเรายืนยันว่า "จ่ายแพงกว่า 30บาทได้ ถ้าให้บริการดี"  

หมายเลขบันทึก: 162003เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แล้วโจทย์วิจัยของเธอคืออะไรนะ

โจทย์วิจัยคือโรงพยาบาลคิดอย่างไร และทำอย่างไรกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย อันได้เเก่คนไร้รัฐเเละเเรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพ 

 

แต่โจทย์วิจัยย่อยข้อหนึ่งก็คือประเมินระบบของโรงพยาบาล ผ่านสายตาลูกค้า และคนที่จะมาเป็นลูกค้า ผ่านการศึกษา "ประสบการณ์" ของคนใช้ระบบนี้ค่ะ

 

เมื่อวันที่ 24 มกราคม ไปฟังโรงพยาบาลมาแล้ว ยังไม่ได้ถอดเทป ถ้าเอาแบบคำต่อคำสงสัยต้องมาขอฟังเองค่ะ ( จริงๆ แล้วจดไว้ทุกคำพูด มี MP3 ยืนยัน) เพราะจะเอาลงในที่นี่ไม่ได้

 

มุมมองจาก "ลูกค้า" ของระบบประกันสุขภาพ ก็น่าจะเป็นอีกเสียงหนึ่งที่สะท้อนการดำเนินการของโรงพยาบาลได้บ้างนะคะ เพื่อยืนยันว่าที่ได้ฟังจากโรงพยาบาลหูไม่ฝาด

 

โรงพยาบาลมี good practice เเต่ลูกค้าไม่ใช้ หรือคิดว่าของตัวเอง good แต่ลูกค้าไม่ปลื้ม ก็ดี หรือมันดีจริงๆ แต่ไม่สามารถสื่อสารความดีให้ถึงคนใช้บริการก็ดี ก็ย่อมดี ของดีย่อมดีอยู่ในตัว แต่จะมีประโยชน์กับกลุ่มเป้ามหายของเราหรือเปล่า 

กลัลมาอ่านอีกที ผมกำลังคิดถึงโจทย์เรื่องการเข้าถึงการบริการคู่ไปกับการได้รับหลักประกันทางสุขภาพ โดยทั่วไปคนจะคิดถึงการเข้าถึงแค่เข้ารับการรักษาได้ ไม่ถูกส่งออกมาจากโรงพยาบาล แต่ผมกำลังคิดว่าการเข้าถึงการจะหมายรวมถึงการได้รับความสะดวกในการเข้ารับการรักษาด้วย การเข้าถึงการบริการเชิงรุกของสถานพยาบาลที่ตนเองเข้ารับประกันสุขภาพด้วย ซึ่งแนวโน้มคือก็จะไปคาบเกี่ยวกับหลักประกันทางสุขภาพ คือ ประกันว่าผู้ใช้บริการจะต้องได้มากกว่าหายจากโรค แต่หมายถึงการดูแลตนเอง การได้รับความรู้ความเข้าใจในการรักษาสุขภาพของตนเอง ซึ่งกรณีแบบนี้สมุทรสาครจะเห็นได้ค่อนข้างชัด เพราะ สมุทรสาครโรงพยาบาลจะแข่งกันสูง (มันมีตัวเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชน) ซึ่งที่อื่นจะไม่มี

ความพึงพอใจของผู้รับบริการ หรือผู้ใช้หลักประกันอาจจะเป็นตัวชี้วัดที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งเช่นกัน เพราะความพึงพอใจมันจะสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการด้วย

ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวหรือเปล่านะ อ่านแล้วคิดได้ประมาณนี้ครับ

กลัลมาอ่านอีกที ผมกำลังคิดถึงโจทย์เรื่องการเข้าถึงการบริการคู่ไปกับการได้รับหลักประกันทางสุขภาพ โดยทั่วไปคนจะคิดถึงการเข้าถึงแค่เข้ารับการรักษาได้ ไม่ถูกส่งออกมาจากโรงพยาบาล แต่ผมกำลังคิดว่าการเข้าถึงการจะหมายรวมถึงการได้รับความสะดวกในการเข้ารับการรักษาด้วย การเข้าถึงการบริการเชิงรุกของสถานพยาบาลที่ตนเองเข้ารับประกันสุขภาพด้วย ซึ่งแนวโน้มคือก็จะไปคาบเกี่ยวกับหลักประกันทางสุขภาพ คือ ประกันว่าผู้ใช้บริการจะต้องได้มากกว่าหายจากโรค แต่หมายถึงการดูแลตนเอง การได้รับความรู้ความเข้าใจในการรักษาสุขภาพของตนเอง ซึ่งกรณีแบบนี้สมุทรสาครจะเห็นได้ค่อนข้างชัด เพราะ สมุทรสาครโรงพยาบาลจะแข่งกันสูง (มันมีตัวเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชน) ซึ่งที่อื่นจะไม่มี

ความพึงพอใจของผู้รับบริการ หรือผู้ใช้หลักประกันอาจจะเป็นตัวชี้วัดที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งเช่นกัน เพราะความพึงพอใจมันจะสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการด้วย

ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวหรือเปล่านะ อ่านแล้วคิดได้ประมาณนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท