เชื่อหรือไม่..สิทธิในหลักประกันสุขภาพก็ถูกพูดถึงในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) !?!


Guarantee VS Access (of the Right to Health)

ก่อนอื่นต้องกราบขอบพระคุณพี่สีน้อย เกษมสันต์ ณ อยุธยา ที่ช่วยเตือนสติ และช่วยชี้ให้เห็นทางสว่างว่า.. จริงๆ แล้ว สิทธิในสุขภาพ (The Right to Health)” นั้น ก็ถูก transform มาอยู่ในกติการะหว่างประเทศที่สำคัญมากอีกฉบับหนึ่งเหมือนกัน 

เดิมที ข้าพเจ้าก็เห็นและเชื่อเหลือเกินว่า สิทธิในสุขภาพ นั่น ปรากฏอยู่ใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 (International Covenant on Economic, Social, and Cultural Rights: ICESCR, 1966)” เท่านั้น ไม่ได้ฉุกคิดว่าก่อนเลยว่า สิทธิอันนี้จะมาหลบอยู่ใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR, 1966)” ได้ 

สิทธิในสุขภาพ (The Right to Health) หรือจะพูดให้ชัดใน subset ก็คือ สิทธิในหลักประกันสุขภาพ นั้น ถูกพูดถึงอย่างชัดแจ้งใน ICESCR โดยใช้คำว่า “medical service” แต่สิทธินี้กลับถูกพูดถึงเป็นนัยๆ และซ่อนอยู่ในมาตราที่ 25[1] ของ ICCPR ซึ่งโดยหลักแล้ว มาตรานี้พูดถึงสิทธิและโอกาสในการเข้าร่วมในกระบวนการของประชาธิปไตย เช่น การเลือกผู้แทน (freely chosen representatives), การเลือกตั้ง (to vote), การลงสมัครรับเลือกตั้ง (to be elected) เป็นต้น แต่ในวรรคสุดท้ายนั้นกลับกล่าวถึง โอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐ (to have access, on general terms of equality, to public service in his country)”  

แล้วบริการสาธารณะของรัฐมีอะไรบ้างล่ะ??

และการให้ประกันสุขภาพกับบุคคลนั่นเป็นบริการสาธารณะหรือไหมล่ะ?? 

เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นข้าพเจ้าตีความว่ากติการะหว่างประเทศทั้ง 2 ฉบับนี้ เขียนล้อกันอยู่ในที 

มาตราที่ 12 ของ ICESCR กล่าวถึง Guarantee of the Right to Health”  

ส่วนมาตราที่ 25 ของ ICCPR นั้น กังวลถึง Access to the Right to Health”



[1] Article 25 of ICCPR, 1966:
Every citizen shall have the right and the opportunity, without any of the distinctions mentioned in article 2 and without unreasonable restrictions:
(a) To take part in the conduct of public affairs, directly or through freely chosen representatives;
(b) To vote and to be elected at genuine periodic elections which shall be by universal and equal suffrage and shall be held by secret ballot, guaranteeing the free expression of the will of the electors;
(c) To have access, on general terms of equality, to public service in his country.
หมายเลขบันทึก: 161271เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 03:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อย่างไรก็ดี.. มีอีกหนึ่งข้อสังเกต คือ ในมาตราที่ 25 ของ ICCPR นั้นใช้คำว่า "Every Citizen"

ตอนนี้ปัญหาก็คงจะอยู่ที่การตีความของคำว่า 'citizen'
ว่าจะตีความให้หมายถึง "ราษฎรไทย" หรือ "คนสัญชาติไทย"..!!??!!
ICESCR, 1966 ใช้คำว่า CitiZen ด้วยไหมคะ

ICESCR, 1966 Art.12 บอกว่า "The States Parties to the present Covenant recognize the right of everyone to the enjoyment of the highest attainable standard of physical and mental health."

คำว่า "everyone" ก็เหมือนถึง "ทุกคน" โล่งใจไป

ไม่ต้องเจอศึกของการตีความอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท