เครือข่าย : การเกิดและการสร้าง


  • การเกิดของเครือข่าย

  • อาจารย์นฤมล นิราทร ได้ยกทฤษฎีและแนวคิดที่อธิบายการเกิดเครือข่ายในการทำงานไว้ดังนี้

  • ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) ซึ่งอธิบายถึงการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกัน ดังนั้น เหตุผลหลักที่จะทำให้เครือข่ายเกิดขึ้นได้โดยสมัครใจก็คือ แต่ละฝ่ายมองเห็นประโยชน์ที่ตนจะได้รับจากการเข้าร่วมเครือข่าย ซึ่งจะนำไปสู่ความเต็มใจที่จะประสานกัน หรือเข้าร่วมเป็นเครือข่าย

  • แนวคิดการรวมพลัง (Synergy) ซึ่งอธิบายด้วยสมการ 1+1 = 3 หรือ 2+2 = 5 หมายความว่า การรวมพลังการทำงานนำไปสู่ผลได้ที่มีค่าทวีคูณ หรือเข้มแข็งมากกว่าที่แต่ละองค์กรจะทำงานโดยโดดเดี่ยว ทั้งนี้ โดยความเชื่อว่าการรวมพลังจะก่อให้เกิดคุณค่าที่ทวีคูณ

  •  
  • การเกิดขึ้นของเครือข่ายที่เราเห็นทั่วไปนี้  ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้    แบบ  คือ

  • ๑. เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

  •    มาจากสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ  หรือมีความเชื่อถืออย่างเดียวกัน  เป็นครูเป็นศิษย์สถาบันเดียวกัน  ฯลฯ

  • ๒. เกิดขึ้นโดยการจัดตั้ง

  •     เกิดขึ้นจากความพร้อม  ความต้องการของผู้นำ และกลุ่มต่างๆ และการต่อรองขององค์กรภายนอก ฯลฯ

  • การสร้างเครือข่าย

  •         เครือข่ายอาจเกิดขึ้นได้ทุกวัน เพราะขบวนการสร้างเครือข่ายอาจเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีธรรมชาติ หรือเกิดจากการจัดตั้ง ความยากง่ายในการจัดตั้งเครือข่ายมิได้เป็นเครื่องประกันความสำเร็จของเครือข่าย

  •           ทุกวันนี้ เครือข่าย เป็นสิ่งที่ผู้คนทั้งในงานพัฒนาและภาคธุรกิจกล่าวถึง จนเหมือนกับเป็นแฟชั่นไปแล้ว  แต่จะเป็นเครือข่ายจริงแท้  หรือว่าเรียกไปตามกระแส  เราต้องพิจารณาองค์ประกอบและข้อคิดต่างๆก่อน

  • การพิจารณาในการที่จะสร้างเครือข่าย

  •         ความพร้อมในการสร้างเครือข่าย นอกเหนือจากความเข้าใจที่มีระหว่างกันในเรื่องอุดมการณ์ เป้าหมาย ในการทำงานแล้ว  ในการจัดตั้งหรือสร้างเครือข่าย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญต่างๆที่เป็นข้อพิจารณาสำคัญ (Badaracco, 1998) และจากข้อคิดของอาจารย์บัณฑร อ่อนดำ และคุณเดช พุ่มคชา)

  • ๑. ศักยภาพ องค์กรที่จะจัดตั้งเครือข่ายต้องชัดเจนในศักยภาพของตัวเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กรของตนเอง
  • ๒. คุณสมบัติขององค์กร ควรพิจารณาว่า องค์กรมีค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร ภาพพจน์ สิ่งเหล่านี้สามารถไปด้วยกันได้หรือไม่
  • ๓. ความเสี่ยง อาจจะเกิดขึ้นได้ในบางกรณีเช่น เรื่องการฉกฉวยโอกาสในเรื่องข่าวสารข้อมูล เป็นต้น
  • ๔. จะมีการพึ่งพิงระหว่างกัน  ต้องเข้าใจว่าการเข้าเป็นเครือข่ายหมายถึงการเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ

  • ๕. เป็นอิสระจากองค์กรเดิม การเข้ามาร่วมในเครือข่ายเป็นการเข้ามาร่วมโดยบางส่วนเท่านั้น

  • ๖. ความเท่าเทียมกัน ไม่มีการชี้นำหรือครอบงำโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่มีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม

  • ๗. มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การติดต่อสื่อสารกันอย่างเปิดเผย และสม่ำเสมอเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นอย่างยิ่ง

  • ๘. ต้องมีกิจกรรมร่วมกัน กิจกรรมจะเป็นเสมือนสายใยที่เชื่อมโยงเครือข่ายไว้ได้

  • ๙. การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร การสร้างเครือข่าย เป็นกิจกรรมที่ต้องการเวลา ฝ่ายบริหารขององค์กรต้องเห็นว่าเครือข่ายมีความสำคัญ

  •  
หมายเลขบันทึก: 160997เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2008 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

FoNt     มีหลากหลายขนาดและรูปแบบดีนะครับ

อาจสื่อได้ว่าเครือข่ายประกอบด้วย องค์ประกอบที่หลากหลาย ยึดโยงด้วยวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน รวมถึง มี"กรบวนการเรียนรู้"

ผมก็กำลัง Action เรื่องเครือข่าย CBT.*** อยู่ครับผม

 ***CBT = Community Based Tourism

  • สวัสดีครับคุณเอก
     P
  • 1. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
    เขียนบล็อกยังไม่เก่ง  พยายามเขียนข้างนอกแล้วนำมาแปะ  หน้าตาจึงออกมาอย่างที่เห็นนี่แหละ
    เรื่องเครือข่าย  คงให้หลักคิดกันไป มันหลากหลายจริงๆ  ไม่งั้นมันจะออกไปจนแบบว่าอะไรก็ได้จนหาตัวเองไม่เจอก็มีให้เห็นมาแล้ว
    ขอให้เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน (CBT.) ประสบผลสำเร็จนะครับ

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะคุณTAFS

เป็นไงบ้างค่ะ ห่างหายไปนาน

เครือข่ายมิตรภาพไร้พรมแดน

เป็นกำลังใจให้ด้วยระลึกค่ะ

สวัสดีครับคุณพู

ห่างหายไปดังว่าจริงๆ

แต่ก็เต็มไปด้วยประการณ์ใหม่ๆนะจะบอกให้

คิดว่าจะค่อยทะยอยลงบล็อคดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท