ตอนที่ 33 กล้วยหลอดอบสอดไส้ที่ชัยนาทคุณภาพเยี่ยมท้าทายให้ลิ้มลอง


จังหวัดชัยนาทมีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางด้านพืชพันธุ์ธัญญาหาร อีกทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมากมาย

           

      เมื่อผมหิวๆ  เมื่อคราวขับรถจักรยานยนต์ เร่ร่อนไปอย่างไร้จุดหมาย เพื่อให้สมองผ่อนคลายจากงานที่ทำอย่างจำเจ  ผมจะมองดูสายน้ำเจ้าพระยา และสองข้างทางสลับกันไป ไปสะดุดตาที่ต้นกล้วยซึ่งปลูกเป็นทิวแถว จึงคิดถึงผู้อ่านขึ้นมาว่าน่าจะนำเรื่องดีๆ ฝากผู้อ่าน เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้วสิ่งที่ตามมาคือการขอความช่วยเหลือจากพี่ๆ เกษตรตำบลที่เป็นที่พึ่งของผม สำหรับงานนี้คือพี่ชลอ  เอี่ยมรอด  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว เพราะเป็นเขตที่ผมขับรถผ่านคือ ต.ธรรมามูล อ.เมือง จ.ชัยนาท และได้การตอบรับอย่างดีโดยนำพาไปที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านท่าราบก่อนอื่นมากว่าวถึงเรื่องของกล้วยว่า เป็นไม้ผลที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน  เป็นที่รู้จักกันดีของคนส่วนใหญ่เนื่องมาจากคุณค่าและประโยชน์ของกล้วยนั้นเอง  เพราะสามารถนำทุกส่วนมาประกอบอาหารทั้งคาวหวานและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  ที่สามารถส่งขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่าเดิม  และมีการเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด  จะสามารถทำรายได้ให้กับชุมชนและประเทศได้มากยิ่งขึ้น ต่อไป  <p><div style="text-align: center"></div></p><h4>         จังหวัดชัยนาทเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายประภากร  สมิติ มีนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน  ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาทได้ตอบสนองนโยบายมาโดยตลอด  การสนับสนุนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทั้งปัจจัยการผลิตและวิชาการ เพื่อให้เกิดกระบวนการ การบริหารจัดการ เรียนรู้ในการระดมความคิด  กำลังงาน  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประสบการณ์  ที่มีอยู่ให้เกิดการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีสู่ผู้บริโภคให้ได้ลิ้มลองของดีมีคุณภาพ  กล้วยน้ำว้าอบกรอบสอดไส้ เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแก้ปัญหานำผลผลิตซึ่งมีมากเกินความต้องการของตลาดในท้องถิ่นมาปรับปรุงคุณภาพ  เพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัว  ชุมชน  และประเทศเป็นการต่อสู้กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันที่ยังอยู่กับสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไขมิใช่คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นมาแก้ปัญหา </h4><p><div style="text-align: center"></div></p><h4>      เขียนมานานเพราะความอึดอัดในความต้องการที่จะบอกประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรว่ามีมากหลายนั่นเอง การเดินทางนับว่าโชคดีมากที่ไปพบสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกำลังทำงานกันอย่างแข็งขัน  และได้รับรู้เรื่องราวจากพี่อัมพร   เผ่าพงษ์ศักดิ์    ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าราบ  วัย  48  ปี บ้านเลขที่ 241 หมู่ที่ 7  .ธรรมามูล  .เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท กล่าวว่า กลุ่มได้รวมตัวก่อตั้ง จดทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่  10  กันยายน  2543 มีสมาชิก 20  คน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชัยนาท จำนวน 20,000 บาทมาสมทบทุนร่วมกับเงินหุ้นของกลุ่มนำมาแปรรูปอาหาร เช่น กล้วยกวน มะละกอแก้ว  มะละกอแช่อิ่มอบแห้ง  กล้วยอบกระเทียม  มะพร้าวแก้วใส่สีธรรมชาติ  และมะม่วงกวน ซึ่งได้รับ  อย.แล้วคือ กล้วยกวน และมะละกอแก้ว  วัสดุส่วนใหญ่รับซื้อจากสมาชิกทั้งสิ้น แต่ที่จะขอแนะนำให้ผู้อ่านได้รับรู้คือกล้วยหลอดสอดไส้ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ที่ดีให้แก่กลุ่ม ดังนี้กล้วยหลอดอบสอดไส้  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานระหว่างกล้วยอบกระเทียมและกล้วยกวน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคด้วยดีทำรายได้ดีให้แก่กลุ่มตั้งแต่เริ่มแรกของการวางตลาดจนถึงปัจจุบัน  แต่การผลิตนั้นถึงแม้ว่าจะไม่ยากนักแต่เป็นขนมที่ต้องใช้เวลาทำที่ยาวนานมากและหลายขั้นตอน การผลิตนั้นทางกลุ่มได้เน้นถึงประสิทธิภาพจึงต้องควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิต  เริ่มตั้งแต่การผลิตกล้วยกวน ด้วยการคัดเลือกกล้วยที่สุกงอมและไม่เน่าเสีย  ปอกเปลือกแล้ว 8  กิโลกรัม หันเป็นชิ้นเล็ก  คั้นกะทิจากมะพร้าวขูด  4  กิโลกรัม บดปนกับกล้วยให้เข้ากันด้วยเครื่องบดอาหารจนละเอียดจึงเทใส่กะทะจนหมด  แล้วจึงเติมน้ำตาลทราย 1  กิโลกรัม แบะแซ  1  กิโลกรัม ใช้ไฟกลางหมั่นคนเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดีและให้ความร้อนกระจายทั่วสมำเสมอ  ใช้เวลาประมาณ  7  ชั่วโมง จะเหนียวข้น  ตักใส่ถาดหนาพอประมาณ   1 เซนติเมตร เกลี่ยให้สม่ำเสมอ ทิ้งไว้จนเย็นจะเป็นก้อนแข็ง    นำมาหั่นให้เป็นก้อนพอคำ อีกขั้นตอนที่ต้องทำควบคู่กันไปคือกล้วยหลอด การผลิตการจะคัดเลือกกล้วยน้ำว้าที่แก่จัดแต่ไม่สุกและลูกใหญ่ปอกเลือกแช่น้ำธรรมดา  ฝานบาง ๆ ตามความยาวแล้วม้วนกลมใส่ถาดผึงลมทิ้งไว้พอหมาด ๆ นำมาทอดในน้ำมันให้สุกเลืองพองาม นำกล้วยกวนที่หันไว้สอดไปในหลอดกล้วย ก่อนใส่ถาดนำเข้าตู้อบประมาณ  20  นาที  เพื่อให้กรอบไม่เหม็นหืนเก็บไว้ได้นาน  การจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ ได้บรรจุขนาดถุงละ  250  กรัม ราคา 25  บาท   แต่ถ้าสั่งซื้อเพื่อจำหน่ายหรือสั่งทำพิเศษขอให้ติดต่อสอบถามได้ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร หรือที่เบอร์โทร. 056- 414830  จะได้ราคาที่ย่อมเยา   </h4><p>          <div style="text-align: center"> </div></p><h4>           นายรังสรรค์  กองเงิน  เกษตรจังหวัดชัยนาท   กล่าวเสริมถึงผู้อ่านว่า  จังหวัดชัยนาทมีความอุดมสมบูรณ์  มีความหลากหลายทางด้านพืชพันธุ์ธัญญาหาร  อีกทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมากมายเหมาะที่จะได้มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต   ซึ่งผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร  ของจังหวัดชัยนาทนั้นมีมากมายหลายอย่างท้าทายการลองลิ้มรสชาติหรือนำไปใช้ของผู้บริโภคซึ่งจะไม่ได้รับเพียงสินค้าที่ทรงคุณภาพเท่านั้นที่ได้รับแต่ยังมีส่วนสร้างงานสร้างรายได้ สร้างกำลังใจเกิดความคิดสร้างสรรค์ ก่อเกิดความเข้มแข็งของชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป </h4>

หมายเลขบันทึก: 160964เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2008 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท