"สิทธิในสุขภาพ (the Right to Health)" ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1966


ประเทศไทยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะรัฐภาคี ภายใต้กติการะหว่างประเทศฉบับนี้ โดยไม่มีการตั้งข้อสงวนใดๆ เพราะฉะนั้นถือเป็นหน้าที่ที่รัฐไทยจะต้องปฏิบัติตาม

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 (the International Covenant on Economic, Social, and Cultural Rights, 1966) ถูกถือว่าเป็นหนึ่งในหลักของกฎหมายระหว่างประเทศที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 3 ฉบับ หรือที่เรียกกันว่า “The International Bill of Human Rights” ซึ่งประกอบไปด้วย

1.       ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (the Universal Declaration of Human Rights, 1948);

2.       กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 (the International Covenant on Economic, Social, and Cultural Rights, 1966) และ;

3.       กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (the International Covenant on Civil and Political Rights, 1966) 

ประเทศไทยเองก็ได้เข้าเป็นภาคีภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 (the International Covenant on Economic, Social, and Cultural Rights, 1966) โดยการให้สัตยาบันมาตั้งแต่ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2542  

นั่นก็หมายความว่า ประเทศไทยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะรัฐภาคี ภายใต้กติการะหว่างประเทศฉบับนี้ โดยไม่มีการตั้งข้อสงวนใดๆ เพราะฉะนั้นถือเป็นหน้าที่ที่รัฐไทยจะต้องปฏิบัติตาม โดยไม่มีข้อแม้ เช่น การส่งรายงานประเทศฯ ที่รายงานการปฏิบัติตามกติกาดังกล่าวตามระยะเวลาที่กำหนด หรือการที่รัฐไทยต้องถูกตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กติกาฉบับนี้ จากคณะกรรมาธิการที่ดูแลกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นี้ด้วย 

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า สิทธิในสุขภาพ (The Right to Health) เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่รัฐในประชาคมระหว่างประเทศต่างก็ยอมรับให้เป็นสิทธิเบื้องต้นที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน และสิทธิในสุขภาพ (The Right to Health) ก็ปรากฏอย่างชัดเจนใน ข้อ 12 ของกติการะหว่างประเทศฉบับนี้ ด้วย

International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights

Adopted and opened for signature, ratification and accession by General Assembly resolution 2200A (XXI) of 16 December 1966entry into force 3 January 1976, in accordance with article 27

 Article 12

1.   The States Parties to the present Covenant recognize the right of everyone to the enjoyment of the highest attainable standard of physical and mental health.

2.   The steps to be taken by the States Parties to the present Covenant to achieve the full realization of this right shall include those necessary for:

(a)  The provision for the reduction of the stillbirth-rate and of infant mortality and for the healthy development of the child;

(b)  The improvement of all aspects of environmental and industrial hygiene;

(c)  The prevention, treatment and control of epidemic, endemic, occupational and other diseases;

(d)  The creation of conditions which would assure to all medical service and medical attention in the event of sickness.

ข้อ 12.

   รัฐภาคีตามกติกาฉบับนี้ จะต้องรับรองสิทธิของมนุษย์ทุกคนในการได้รับประโยชน์จากมาตรฐานอันพึงมีของการมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ

    รัฐภาคีควรจะปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งการคุ้มครองสิทธิในสุขภาพอย่างเต็มที่

(a)  มาตรการในการลดอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด รวมถึงมาตรการในการพัฒนาสุขภาวะของเด็ก

(b)  การปรับปรุงสุขภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อมและด้านอุตสาหกรรมในทุกๆ แง่ด้าน

(c)  การป้องกัน การรักษา และการควบคุมโรคระบาด โรคประจำท้องถิ่น โรคที่เกิดจากการทำงานบางประเภท และโรคอื่นๆ

(d)  การสร้างเสริมสภาวะที่รองรับการให้บริการในการรักษาพยาบาลสำหรับการเจ็บป่วยทุกประเภท

REMARK:

- Also see the original provision of the ICESCR from http://www2.ohchr.org/english/law/cescr.htm 

- Translated by Ms. Bongkot Napaumporn

หมายเลขบันทึก: 160553เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"The States Parties to the present Covenant recognize the right of everyone to the enjoyment of the highest attainable standard of physical and mental health."

คำว่า "everyone" ก็เหมือนถึง "ทุกคน" โล่งใจไป

ไม่ต้องเจอศึกของการตีความอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท