ตอนที่32 การเลี้ยงจุลินทรีย์หน่อกล้วย


การเลี้ยงจุลินทรีย์จากหนอกล้วยไม่ยากนักเพียงใช้หน่อกล้วยสูงจากพื้น 1 เมตร

    ร้อน ๆๆๆๆๆ ทำไมร้อนขึ้นทุกวันเป็นเสียงบ่นและกล่าวถึงกันอยู่เสมอในทุกฤดูกาลที่ผ่านมา จากการได้รับฟังเมื่อผ่านและแวะเวียนไปพบเกษตรกร  เหมือนกับธรรมชาติจะสนองโต้ตอบมวลมนุษย์ที่ทำลายธรรมชาติตลอดมา ทั้งการบุกรุกทำลายป่า การใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ด้านการเกษตรเกษตรกรอาจคาดการไม่ถึงว่าได้เข้าไปมีส่วนร่วมที่ทำให้โลกร้อนด้วยการเผาตอซังฟางข้าวปลดปล่อยก๊าซสู่บรรยากาศโลก  เพราะมีตอซังและฟางข้าว  800 -1600 ..  หากปล่อยให้มีการเผาเกิดขึ้นทั้งหมดจะก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซสู่บรรยากาศโลกเป็นจำนวนมาก  เพิ่มการเกิด “ภาวะเรือนกระจก”  ซึ่งเป็นภาวะที่โลกปกคลุมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้รังสีความร้อนสะท้อนกลับออกไปได้หมดทำให้โลกมีอุณหภูมิที่เหมาะสมและอุ่นพอที่สิ่งมีชีวิตจะเจริญเติบโตได้ แต่ทุกวันนี้มนุษย์ก่อให้เกิดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นเป็นเวลานานแล้วจากการเผาสิ่งต่างๆ  จนนำไปสู่ภาวะอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นตลอดเวลารุนแรงขึ้นทุกปี  อีกทั้งการเผาจะทำให้สูญเสียธาตุอาหารที่อยู่ในฟางข้าว (เผาฟาง 5 ตัน จะสูญเสีย ไนโตรเจน  45 .., ฟอสฟอรัส 10 .. โพแทสเซียม 125 .. กำมะถัน10 ..) แต่ถ้าไม่เผาจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี 11.9 ..ต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า 152 บาทต่อไร่

                           สำหรับตอนนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้ไปพบและเห็นการดำเนินงานของเกษตรกร "หัวไวใจสู้" และอีกหลายท่าน/กลุ่มที่ทำเช่นนี้ แต่จะขอยกตัวอย่างเพียงท่านเดียวที่ดำเนินการ  ใช้การเลี้ยงจุลินทรีย์หน่อกล้วยแก้ปัญหาที่ว่าถ้าไม่เผาต่อซังและฟางข้าวจะทำให้ไถนาได้รำบากเพราะฟางข้าวจะไปหนุนผานไถนา อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรเผาตอซังและฟางข้าว การหาแนวทางแก้ไขด้วยการหาวิธีที่จะทำให้ฟางข้าวย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วด้วยจุลินทรีย์จึงเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะได้ปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวแล้วจะได้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายอินทรีย์อีกด้วย เช่นการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหนอกล้วยขนาดความสูงจากพื้นดินถึงยอด 1 เมตร ขดเหง้าสลัดเอาดินออกไม่ต้องล้างน้ำ เพราะมีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซีส(Actinomycete) ซึ่งเป็นแบคทีเรียรูปท่อนกลม

  

                   นายธรกิจ    เอมอยู่ หรือที่เพื่อนเกษตรกรเรียกว่า “พี่เชน” เกษตรกรวัย 46 ปี  วิทยากร “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ครบวงจร” 36  หมู่ 16 ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ทำนา 3 ไร่ อ้อยโรงงาน 5 ไร่  เล่าว่า การทำการเกษตรไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ลดต้นทุนได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแค่หมักฟางข้าวด้วยน้ำหมักหน่อกล้วยโดยไม่ต้องเผาตอซังและฟางข้าวก็ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่อฤดูได้ร้อยละ 60การทำน้ำหมักหน่อกล้วยทำได้ไม่ยากนักเพียงเตรียมวัสดุอุปกรณ์ดังนี้  หน่อกล้วยอ่อนความสูงจากพื้นดิน 1 เมตร แต่ถ้าสูงเกินตัดให้เหลือความสูง 1 เมตร ขุดเหง้าสลัดเอาดินออกไม่ต้องล้างน้ำ (มีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซีส) เอาทั้งเหง้าต้นใบด้วยชั่งน้ำหนักให้ได้ 30 ก.ก. แล้วหั่นสับหรือบด ให้ละเอียดใส่ถังพลาสติกขนาดจุ 150- 200 ลิตร ใส่กากน้ำตาล (Molasses) 10 ก.ก. เติมน้ำสะอาดลงถังเกือบเต็ม  ละลายสารเร่ง พด.2 กับน้ำมะพร้าวอ่อน คนติดต่อกัน 5 – 10 นาที ก่อนใส่ถังคนให้เข้ากัน(ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ก็ได้) ปิดฝาให้สนิท 2 วัน 2 คืน (48 ชั่วโมง) ไม่ให้อากาศเข้า (ไม่ให้จุลินทรีย์ภายนอกเข้าไป) หลัง 48 ชั่วโมงแล้ว ให้เปิดฝาถังคนทุกวัน และคอยกดวัสดุให้จมน้ำอยู่เสมอ  หมักไว้ในร่มนาน 7 วัน (จนหมดฟอง) นำกากกล้วยออกจากถังไปใส่โคนต้นไม้หรือในแปลงนาเพื่อเป็นปุ๋ยให้หมดเหลือแต่น้ำ  สามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือน

                   <p style="text-align: center"></p>

การนำไปใช้ในการเร่งการย่อยสลาย “ฟางข้าว”  โดยใช้น้ำหมักหน่อกล้วยจำนวน 10 ลิตรต่อพื้นที่นา 1 ไร่  อาจใช้การหยดหรือเทตามร่องน้ำไหล หรือวิด้วยท่อน้ำ  หมักฟางข้าวเป็นเวลา 10 วัน (ระดับน้ำ 4 – 7 ซม.) แล้วไถทำเทือกได้ตามปกติ  อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้หลายชนิดเช่น ปรับโครงสร้างของดิน ปรับสภาพน้ำเสีย ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์ และป้องกันกำจัดโรคพืช

</span></span><p>                       นายรังสรรค์  กองเงิน เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวถึงการส่งเสริมการเกษตรเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหา “ภาวะเรือนกระจก”  ว่า จังหวัดชัยนาทได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ โดยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดชัยนาท(จักรกลเกษตร) นำเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพไถกลบตอซังและฟางข้าวให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการลดการเผาตอซังฟางข้าว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนและฝึกอบรมการผลิตน้ำสกัดและปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อช่วยเร่งการย่อยสลายฟางข้าวให้เร็วขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดในด้านงบประมาณและปัจจัยต่างๆ ที่เป็นปัญหาส่งผลให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้ไม่ทั่วถึง แต่ถ้าเกษตรกรไม่ได้ใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพไถกลบตอซังและฟางข้าว อาจใช้การเกลี่ยฟางและหมักฟางร่วมกับวิธีทางชีวภาพช่วยเร่งการย่อยสลายฟางข้าวเร็วขึ้นก่อนการไถกลบ ไม่เพียงผลต่อโครงสร้างของดินที่สมบูรณ์ เพิ่มอินทรีย์วัตถุเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน และลดความเสี่ยงในการผลิตได้ เพื่อการเกษตร “ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” สร้างความยั่งยืนการเกษตรเท่านั้น ยังช่วยลดสภาวะของการเกิดโลกที่จะร้อนขึ้น  ลดความล่มสลายที่จะเกิดกับโลกของเราอีกด้วย</p></span>

หมายเลขบันทึก: 160547เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณมากครับที่นำมาแลกเปลี่ยน
  • เพลงเพราะมากครับ

 

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ เคยได้ยินทางวิทยุแต่ก็จดไม่ทัน

มีน้ำหมักไข่ หรืออย่างไรไม่แน่ใจครับ ใช้เป็นสารบำรุงดินด้วย ได้ฟังจากวิทยุเหมือนกัน

สวัสดีครับ ขอบคุณมาก ๆ ที่นำมาเล่าแบ่งปัน

ขอบคุุณมากครับ กำลังจะนำไปใช้สูตรนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท