newwave1
หลักสูตร การพัฒนาผู้นำ คลื่นลูกใหม่ ของกรมส่งเสริมการเกษตร

ติดตามนิเทศงานครั้งแรกในปี 2551


วันที่ 21 มกราคม 2551 ติดตามนิเทศงานงานวันแรกของสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ทีมที่ 1 นำโดยหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต พี่ปราโมทย์ จันทร์วิบูลย์ พี่ปรารมณ์ ยานะวิมุติ ผู้รับผิดชอบงานวิสาหกิจชุมชน เป็นตัวแทนจากกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร พี่ลาวัณย์ วงษ์รวยดี เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี เป็นตัวแทนจากฝ่ายบริหารทั่วไป พี่ไมตรี สุขเกษม รับผิดชอบงานระบบฯ ตัวแทนจากฝ่ายยุทธศาสตร์ และตัวผู้เขียน (จินตนาภร) รับผิดชอบศูนย์เรียนรู้ งานป้องกันฯ ตัวแทนจากกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต อำเภอแรก คืออำเภอธารโต  บรรยากาศในการเดินทางวันนี้ ไม่มีเรื่องตื่นเต้นและหวาดเสียวอะไรมาก นอกจากมีงูเห่ามานอนชูแม่เบี้ยหราอยู่ข้างถนน ก็ขอให้ข้ามถนนโดยปลอดภัย 
            สำนักงานเกษตรอำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีเกษตรอำเภอใหม่ (เคยเป็นนักวิชาการเก่าที่นี่) คือพี่ชำนาญ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร บรรจุใหม่ 2 คน ธุรการใหม่ และนักวิชาการเก่า 1 คน
            เคยได้ฟังพี่บางคนว่า ถ้ามีคนบรรจุใหม่น่าจะให้ไปอยู่ในอำเภอเดียวกัน แล้วให้ได้เกษตรอำเภอใหม่ไฟแรง เป็นพี่เลี้ยง มันเหมือนบรรยากาศสมัยที่พี่เขาเพิ่งบรรจุ (สมัยเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว) เกษตรตำบลสนุกสนานกับการทำงาน เพราะเป็นน้องใหม่ เกษตรอำเภอก็เข้มข้นในการทำงาน ...ที่นี่ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อปี 49 ทีมจังหวัดเคยมาร่วมเปิดโรงเรียนไม้ผลที่ตำบลคีรีเขต (กับพี่นักวิชาการเก่า ที่ยังไม่แก่) ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี 
             หลังจากหัวหน้าทีมติดตามนิเทศได้แจ้งข้อราชการ เกษตรอำเภอรายงานผล ก็ถึงวาระที่สำคัญคือ การเสนอแนะ และปัญหาอุปสรรค จึงเกิดคำถามขึ้นมาในใจ
             1.คนที่ไม่เห็นคล้อยตามคนอื่น ใช่คนที่ผิดเสมอไปหรือไม่
             2.คนที่คนอื่นคิดว่าเป็นคนมีปัญหา จริงๆแล้วเป็นแบบนั้นหรือ
             3.คนที่เห็นแย้งกับคนอื่น แล้วมีข้อเสนอแนะตามมาเป็นเหตุเป็นผล เราสมควรฟังเขาหรือไม่
             4.การขัดแย้งกันในที่ประชุมดีกว่า การ "ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก" หรือไม่

             ในการทำงานที่ผ่านมา เรามักจะพบว่า คนที่พูดมากในที่ประชุมมีหลายประเภท คือ ให้ได้พูดแย้งคนอื่นก็พอ พูดให้ข้อมูลสาระข้อเท็จจริงแก่คนอื่น ขัดแย้งแล้วให้ข้อเสนอแนะ แต่ทั้งนี้ ทั้งน้ันจะพบว่าคนในที่ประชุมมักไม่ชอบคนพูดมาก และไม่ค่อยฟังในสิ่งที่คนอื่นพูด (สรุปจากประสบการณ์ส่วนตัว) ทั้งๆที่บางครั้งเต็มไปด้วยสาระ น่าฟังและเก็บมาคิด (โดยเฉพาะผู้บริหาร) เพราะคนมักพูดถึงสิ่งที่เขาประสบอยู่ อยากบอกอยากเล่า และอยากโชว์เหมือนกัน 
             จะมาเขียนต่อวันหลังนะคะ หมดเวลาอินเตอร์เน็ต จากจินตนาภร 

หมายเลขบันทึก: 160517เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอให้มีความสุข และเดินทางปลอดภัยนะครับ 
  • ขอบคุณมากครับ  ที่นำเรื่องราวมาแบ่งปันให้ได้รับรู้และเรียนรู้
  • ไม่ทราบว่าที่อื่นเป็นเหมือนยะลาหรือเปล่านะ ลองนำไปเป็นแง่คิดก็ดีนะ
  • ออกจะตัดพ้อนิดๆ หรือเปล่า ตามสไตน์น้องเขียว
  • ขอบคุณสิงห์ป่าสักที่แวะมาเยี่ยมบ่อยๆ

ขอบคุณจินตนาภร มากครับที่มีมุมมองอะไรที่น่าสนใจเล่าให้พวกเราอยู่ตลอดเวลาครับ

 ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีอิสระทางความคิดเพราะแต่ละคนได้รับการหล่อหลอมมาจากสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญคือการยอมรับฟังความมีเหตุมีผลซึ่งกันและกัน นำเอาสิ่งที่ดีๆเป็นประโยชน์ต่อองค์กรไปปฏิบัติมิใช่ดีแต่ตัวเองครับอย่างนี้องค์กรก็ไปไม่รอด  แค่นี้ก่อนครับถึงเวลาทำงานแล้วครับ โชคดีทุกคนที่ได้อ่าน

 

น้องเขียวประมวลได้ชัดเจน  ทุกคนต้องการแสดงออกโดยผ่านการพูดที่บอกว่าโชว์  ก็น่าเป็นเวทีที่เหมาะสม  วัตถุประสงค์ต่างๆกันไป ฟังแล้วก็น่าจะทราบว่าผุ้พูดต้องการอะไร  แต่ผุ้ฟังก็ต้องใส่ใจการพูดด้วยความตั้งใจน่ะ  อย่าเห็นว่าไม่สำคัญ  มีโอกาสได้อ่านเรื่องดีๆ จะคอยติดตามน่ะและขอเป็นกำลังใจให้น้องต่อด้วย  สู้ๆ

ขอบคุณที่น้องเขียวนำข้อคิดมาให้พวกเราได้อ่านเล่าต่อสิ กำลังคิดตาม

 เดี๋ยวขาดตอน       พี่คิดถึงและเป็นห่วงน้องเสมอเป็นกำลังใจอยู่เสมอ

 

กรรณิการ์ (คนมีคลื่น)

มีหลายคนไม่อยากพูดแต่อยากรู้อยากอ่าน  ชอบฟังความคิดเห็นคนอื่นแล้วเก็บมาคิดมาปรับใช้กับตนเอง

 

คำพูดมักมาจากความคิด ทุกคนที่พูดคงมีจุดประสงค์ น่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมแจม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท