เครือข่าย : ภูมิหลัง ลักษณะ องค์ประกอบ


  •         ถ้าจะว่าไปแล้ว การพึ่งพาอาศัยกัน ร่วมมือกันทำงาน เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในสังคมไทย ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย และยังคงมีอยู่เป็นปกติในสังคมชนบทในปัจจุบัน เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว และการร่วมกันทำงานในเทศกาลต่างๆตามประเพณี ซึ่งแสดงให้เห็นภาพของการทำงานโดยสมัครใจบนเครือข่ายที่โยงใยด้วยความสัมพันธ์ที่มีต่อกันแต่เดิมมา

  •         ส่วนในสังคมตะวันตก ในช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คน จนนำไปสู่การปฏิรูปสังคมในยุโรปในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 และ 19 นักปฏิรูปสังคมในสมัยนั้นใช้กลยุทธ์ในลักษณะเดียวกับการสร้างเครือข่าย ในการทำงานด้วย

  •  

  •         เครือข่ายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างจากวัฒนธรรมเดิมแบบสั่งการ แบบบนลงล่าง และแบบลำดับขั้น (top down, vertical, hierarchical) เครือข่ายเน้นความสัมพันธ์แบบแนวนอน (horizontal) ผู้นำในองค์กรเช่นนี้ไม่ใช่คนสั่งการ ไม่ใช้อำนาจทำให้ลูกน้องเกรงกลัว (intimidate) แต่เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ เป็นโค้ช ทำให้คนเข้มแข็ง (empowerment) สร้างความเชื่อมั่นและความไว้ใจกัน (trust) ดร. เสรี พงศ์พิศ

  •  

  • แม้เครือข่ายจะมีลักษณะร่วมกับความเป็นองค์กรหรือกลุ่ม แต่ไม่ใช่ทุกกลุ่ม หรือทุกองค์กรจะเรียกว่าเป็นเครือข่ายได้ เครือข่ายควรมีลักษณะดังนี้ (Alter and Hage, 2533)

  • lเป็นโครงสร้างทางความคิด (Cognitive structures) บุคคลในเครือข่ายจะมีกรอบความคิดใกล้เคียงกัน รวมทั้งด้านความรู้ความสามารถ ความคาดหวังต่อเครือข่าย

  • lไม่มีลำดับขั้น เป็นการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร และอิสระต่อกัน แต่ระดับความเป็นอิสระของแต่ละองค์กรอาจไม่เท่ากัน

  • lมีการแบ่งงานกันทำ (Division of labour)

  • lการพัฒนาของแต่ละองค์กรในเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญเพราะหมายถึงความเข้มแข็งของเครือข่ายด้วย

  • lมีการสมานฉันท์โดยผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตย เพราะต้องบริหารจัดการกันเอง (Self-regulating)

  • lต้องอาศัยระยะเวลาในการบ่มเพาะความสัมพันธ์ ศรัทธา และเชื่อใจกัน รวมทั้งดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

  •  

  • จากฐานคิด นิยาม และลักษณะ ของเครือข่ายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีจุดร่วมที่สำคัญอย่างน้อย 5 ประการ ของความเป็นเครือข่าย ได้แก่

  • -          หน่วยชีวิตหรือสมาชิก เครือข่ายเป็นระบบปฏิสัมพันธ์กันของแต่ละหน่วยชีวิต จะดำเนินการสานต่อเพื่อหาแนวร่วมในการสร้างสิ่งต่างๆ หน่วยชีวิตจึงเป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดความเป็นเครือข่าย

  • -           จุดมุ่งหมาย การร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของเครือข่าย

  • -           การทำหน้าที่อย่างมีจิตสำนึก หากขาดจิตสำนึกต่อส่วนรวมที่มาจากส่วนลึกภายในจิตใจของตนแล้ว ย่อมเป็นเพียงการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องหาผลประโยชน์ตอบแทนเท่านั้น

  • -           การมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยน ต้องมีอย่างสม่ำเสมอจะขาดเสียไม่ได้ซึ่งจะทำให้เครือข่ายนั้นมีพลังมากขึ้น

  • -           ระบบความสัมพันธ์และการสื่อสาร การสื่อสารกันในเครือข่ายต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการลื่นไหลของเครือข่ายนั้น

  •  

  • จอย เวอร์เนอร์ กล่าวถึงองค์ประกอบของเครือข่ายโดยใช้อักษรย่อ 4 ตัวคือ link หรือการเชื่อมต่อ  เพื่อให้จำได้ง่าย  จึงนำอักษรตัวแรก  เป็นอักษรนำแต่ละคำที่มีความหมาย  คือ

  • 1. การเรียนรู้ (Learning)

  • 2. การลงทุน (Investing)

  • 3. การดูแล (Nurturing)

  • 4. การรักษา (Keeping)

หมายเลขบันทึก: 160187เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2008 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณค่ะ ที่นำความรู้ มาเขียน ให้ได้อ่าน และนำไปปฏิบัติค่ะ
  • ครูอ้อยชอบตรงนี้ค่ะ..รวมชีวิน ร่วมใจจินต์ “ภราดรภาพ” ตราบนิรันดร์

 

สวัสดีครับครูP
ความรู้ความเข้าใจนั้นมองไม่เห็น  แต่มันจำเป็นและเป็นฐานรากอย่างดีของการทำงาน  หรือทำกิจกรรมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท