beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่า Mobile Unit ที่โรงเรียนบางยางพิทยาคม


ผมมีเรื่องเล่าที่เป็นความเห็นส่วนตัวดังนี้

         วันที่ 19-20 มกราคมนี้ "หน่วยบริการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาสุขภาพและอาชีพประชาชน" หรือ "Mobile Unit" ของเราชาวมน. ก็ได้ออกบริการ ณ โรงเรียนบางยางพิทยาคม ต.บ้านแยง อ.นครไทย จังหวัดพิษณุโลก..... ผมมีเรื่องเล่าที่เป็นความเห็นส่วนตัวดังนี้.....

         เช้าวันนี้ นาฬิกาปลุกตอนตี ๕...ผมไม่ได้ตื่นเช้าแบบนี้มาหลายวันแล้ว ส่วนมากจะตื่นตอน ๖ โมงหรือ ๖ โมงกว่าๆ... ก่อนหน้านี้ผมขอเพิ่มชื่อกับคุณวิภาเพื่อไปออกหน่วย..คุณวิภาก็ตอบว่า OK แต่สงสัยว่าทำไมไม่ได้รับคำสั่ง..เลยไม่ทราบเวลารถออก แต่กะว่าคงออกราวๆ ๖ โมง ๑๕ นาที

        มาที่ตึกชีววิทยาเพื่อเตรียมของเล็กน้อยตอนเกือบ ๖ โมงแล้ว เห็นนิสิตหลายคนเตรียมไป "ตีแปลง" ที่อำเภอวังทอง ในวิชา Ecology.. ไม่มีเวลาทักนิสิตแล้ว มีทั้งปี ๓ และปี ๒ แต่นิสิตหลักเป็นปี ๒....

         เตรียมของเสร็จก็ออกไปขึ้นรถบัสที่คณะแพทย์ ตอน ๖ โมงกว่าๆ มีคนมาแค่ ๑๐ กว่าคนเอง..แต่ความจริงมีรถสองคัน...เวลานัดหมายที่รถจะออกคือ ๖ โมงครึ่ง แต่ก็ Late ไป ๑๕ นาที...อากาศกำลังเย็นสบาย และรู้สึกสดชื่น

         พอรถออกนอก "มอนอ" เวลา ๗ โมงเช้า พระอาทิตย์ดวงโตสีแดงขึ้นทางตะวันออก และพอไปได้หน่อยหนึ่ง ระยะทางแค่ ๕ กิโลเมตร มองเห็นหมอกเรี่ยต้นข้าวบนผืนนาเป็นหย่อมๆ...สวยมาก..เป็นภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะไม่ได้ออกเดินทางแต่เช้าแบบนี้มานานมากแล้ว    อยากจะถ่ายภาพเหมือนกันแต่ว่ารถต้องไปที่หมายให้ทันตามกำหนด...

          ในรถคุยกันว่า Mobile ครั้งนี้มีสมาชิกออกหน่วยกันมากประมาณ 110 คน...ส่วนเดือนที่ผ่านมาก็ไม่น้อยหน้าเหมือนกัน...ครั้งนี้คุณวิภาเป็นผู้ประสานงานหลักและเดือนหน้าด้วย..ส่วนอีก ๒ เดือนถัดไปก็เป็นคุณเล็กเป็นผู้ประสานงาน.... ครั้งนี้เป็น Mobile Unit ครั้งแรกในปี ๒๕๕๑ ผมไปออกหน่วยเอาฤกษ์เอาชัย ไปได้แค่วันเดียวเท่านั้น

         ๗.๑๕ น. เราถึงสี่แยกอินโดจีน เลี้ยวขวาไปทางอำเภอวังทอง และไปถึงบ้านแยงตอน ๘ โมงเช้าพอดี ก่อนที่จะเลี้ยวเข้าโรงเรียนบางยางพิทยาคม ขนของลงจากรถและไปทานข้าวตอน ๘.๑๐ น. ที่โรงอาหาร คนเข้าแถวรอนานมาก แต่สำหรับผมไม่มีปัญหา เพราะว่ามีอาหารเจรออยู่...อาหารเช้าเป็นข้าวต้ม และกาแฟ+โอวัลติน แล้วแต่ใครจะชอบ..แต่ว่าปริมาณหมดพอดี ไม่มีเหลือ.. ผู้รับทำอาหารคือ คุณนารี แก้ววิชิต ชักใจไม่ดี..อาหารไม่พอ บอกว่าถ้ามีคนมาทานอีกจะให้สั่งที่ร้านค้า แต่ก็ไม่มีใครมาทานเพิ่ม....

          พอผู้ที่ออกหน่วยไปจากโรงอาหารหมดแล้ว...คุณนารี แกก็ถามผมว่า "อาหารเป็นอย่างไรบ้าง ติชมกันได้" ผมก็ได้โอกาสคุยกับคุณนารี..ท่าทางจะเป็นคนคุยเก่ง สัมภาษณ์แบบ AI ได้ความมาว่า....

         ที่นี่แต่เดิมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เดี๋ยวนี้ยกฐานะเป็นเทศบาล และแกได้สมัครเป็น "สท." สมาชิกสภาเทศบาล เพิ่งได้รับเลือก และ กกต.รับรองผลแล้ว แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติงาน ต้องรอให้นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านแยงแถลงนโยบายวันที่ ๒๓ เดือนนี้ก่อน....ที่เทศบาลนี้มี 13 หมู่บ้านด้วยกัน...โรงเรียนบางยางฯ นี้อยู่หมู่ที่ ๑๑

         ผมถามแบบขอความรู้ว่าเป็นเทศบาลกับอบต.ต่างกันอย่างไร..แกก็อธิบายว่า งบประมาณต่างกัน ถ้าเป็นอบต.ได้งบทั้งที่จัดเก็บและส่วนกลางให้ 175 บาท/คน (ประชากรในตำบล) แต่ถ้าเป็นเทศบาลได้ถึง 500 บาท/คน...ภาษีท้องถิ่นที่เก็บได้มีเพียงภาษีป้ายกับภาษีโรงเรือน (เก็บเฉพาะร้านค้า)

         ต่อมาผมก็ได้มีโอกาสคุยกับข้าราชการประจำในเทศบาลคนหนึ่งบอกว่า..งานบางอย่างที่อบต.ไม่มีอำนาจในการทำ เช่น ทะเบียนราษฎร์ ซึ่งจะอยู่ที่อำเภอ แต่พอเป็นเทศบาลก็สามารถนำเรื่อง ทะเบียนราษฎร์ มาทำได้...และข้าราชการยุคใหม่ การกำหนดแผนงานต้องมาจากความต้องการของประชาชนด้วย แต่ส่วนมากประชาชนจะคิดเรื่องปากท้องเป็นสำคัญ เขาก็จะขอเรื่องสาธารณูปโภคมากกว่าโครงการที่ส่งเสริมอาชีพ.. ซึ่งส่วนนี้ต้องให้ความรู้กับประชาชนด้วย

         ครั้งนี้ผมไปออกหน่วยในนามคณะวิทยาศาสตร์เอาเรื่อง "น้ำผึ้ง" ไปสาธิต ส่วนมากคนก็มาถามเรื่อง "น้ำผึ้งแท้" กับ "น้ำผึ้งปลอม" ผมก็ได้อธิบายไป... ถ้าตอบแบบฟันธงเลย ผมบอกว่า ให้ "ชิม" น้ำผึ้ง

  • น้ำผึ้งแท้เมื่อชิมแล้ว พอหมดรสหวานแล้ว รสหวานก็หายไป
  • ส่วนน้ำผึ้งปลอมนั้เน พอหมดรสหวานแล้ว เราจะรู้สึกเปรี้ยวที่โคนลิ้น

        ระหว่างที่ผมคุยเรื่องผึ้ง ผมก็จะแทรกความรู้เรื่อง KM เข้าไปด้วยกับคนที่มาคุยด้วย เรียกว่าทำการประชาสัมพันธ์กันทีเดียว.....ระหว่างนั้นก็มีผู้หนึ่งทราบภายหลังว่าเป็นนายกเทศบาลตำบลบ้านแยง ชื่อ "ถาวร สอนจันทร์" แกมีสมุดอยู่เล่มหนึ่ง พอผมพูดอะไรที่เป็น "ความรู้ใหม่" แกก็จะจดใส่สมุดไว้....นับว่าเป็นนักบริหารแนวใหม่ทีเดียว แต่ว่าท่าทางแกจะอายุมากแล้ว...ผมไม่ได้มีโอกาสถามแกมากนัก...ส่วนมากแกจะถามผมมากกว่า

         และแกตั้งโจทย์ที่ท้าทายผมว่า "จะทำให้คน 13 หมู่บ้าน มาร่วมงานกันพัฒนาชุมชนได้อย่างไร" ผมตอบไปทำนองว่า "การพัฒนาคน ต้องเริ่มต้นหาทีมงานที่ทำงานด้วยใจก่อน" คือต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้คนมารวมตัวกันก่อน ยังไม่พูดถึงงาน แต่ให้มารวมทีมกันอย่างมีความสุขเสียก่อน นี่คือแนวทางแบบเฮฮาศาสตร์ คือให้เขาติดเรื่องความสุข ความสนุก และเป็นทีมเดียวกันก่อน จึงค่อยเอางานมาปรึกษาหารือกัน...แกสนใจในตัวผมเหมือนกันจึงจดชื่อและเบอร์โทร..ที่โปสเตอร์ (เรื่องผึ้ง) เอาไว้...

        หลังจากทานข้าวเที่ยงแล้วก็ไม่มีลูกค้นมาคุยอีกตอนบ่าย....พอว่างหน่อย ท่านดร.วิภารัตน์ เชื้อชวด แห่งภาควิชาเคมี ก็พาฝรั่งชาวอเมริกัน ชื่อ Professor Julian Tyson (นามสกุลยังกะนักมวย) มาเยี่ยมบูธของผม (ถ่ายภาพร่วมกันด้วย)

beeman และ Prof.Julian Tyson
 

          Professor ท่านนี้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของดร.วิภารัตน์ อยู่ที่ มหาวิทยาลัย Massachusetts USA ได้ทุนเดินทางมาเมืองไทย แกสนใจเรื่องการออกหน่วย Mobile ก็เลยขอตามดร.วิภารัตน์มาออกหน่วยด้วย ตอนหลังผมถามดร.วิภารัตน์ว่า ฝรั่งต่างจากคนไทยอย่างไรให้บอกมา ๕ ประการ ดร.วิภารัตน์ตอบว่า "ฝรั่งต่างจากคนไทย"

  1. รู้จักคิด=คิดเป็น
  2. ชอบสิ่งท้าทายแปลกใหม่ (พร้อมที่จะเรียนรู้) =Change ได้
  3. มีความขยัน (คิดว่าสิ่งแวดล้อมทำให้เป็นแบบนี้)
  4. มีระเบียบวินัย
  5. เดินเร็ว=Active ตลอดเวลา

         สำหรับ Mobile Unit ครั้งนี้ขอเล่าเพียงตอนเดียวเท่านี้ครับ....

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 160168เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2008 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์
  • จะคอยติดตามตอนต่อไปนะครับ
  • นึกถึงบรรยากาศตอนเช้าแล้วรู้สึกสดชื่นดีครับ
  • ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณครูบัวชูฝักที่เข้ามาเยี่ยมอย่างรวดเร็วเขียนบันทึกยังไม่ทันจบครับ
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์
  • มาติดตามเหตุการณ์ต่อครับ
  • ชอบนิสัย 5 ประการของฝรั่งมากครับ
  • อย่างน้อย 2 ใน 5 ข้อ ผมได้คะแนนเต็มครับ
  • ส่วนอีก 3 ข้อ คงต้องปรับปรุง อิอิ
  • ขอบคุณท่านอาจารย์ครับ
  • สวัสดีอีกครั้งครับ ครูบัวชูฝัก
  • ผมลองสำรวจดูตัวเองแล้วก็มีแค่ ๒ ข้อเหมือนกัน..อิอิ
  • ส่วนข้อที่ฝรั่งเดินเร็ว ผมก็อภิปรายกับดร.วิภารัตน์ ว่า ที่บ้านเขาอาจจะมีลมแรง เวลาเดินต้องรีบเดินให้ถึงที่หมายไวๆ หรือต้องเดินต้านลม ออกแรงมาก...ซึ่งดร.วิภารัตน์แกก็บอกว่าที่แกเคยเรียนก็ลมแรงเหมือนกัน...แต่ผมนึกถึงอ.อ้อม ฐิติรัตน์ แดนกีวี..ที่นั่นลมแรงมากกว่า สงสัยอ.อ้อมกลับมาแกคงเดินเร็วเอามากๆ...อิอิ..

สวัสดีค่ะ   อาจารย์

มารออ่านตอนต่อไปด้วยคนค่ะ

อ่านที่มีคนมาให้โจทย์อาจารย์เรื่อง  การรวมตัวของคน 13 หมู่บ้าน  ทำให้นักการเมี่ยงนึกถึง ชาวบ้านบางระจัน   ที่พวกท่านเหล่านั้นรวมกันสู้ศึกกับพม่า

สงสัยว่า  เราต้องหาศึก ( ปัญหาที่อยากแก้ไข ) ให้กับคน 13 หมู่บ้านกันดีไหมคะอาจารย์  พวกเค้าจะได้ร่วมมือร่วมใจกันอ่ะค่ะ  แหะ ๆ

นักการเมี่ยง

 

  • เป็นความคิดที่ดีครับ นักการเมี่ยง
  • ถ้าผมจำไม่ผิด ตอนนั้นชาวบ้านบางระจันมีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นขวัญและกำลังใจ..เป็นศุนย์รวมจิตใจ และมีภาระกิจในการต่อสู้กับพม่าเป็นปัญหาที่จะแก้ไขร่วมกัน
  • ถ้าตั้งโจทย์ ว่าจะมีการใช้พื้นที่ของ ๑๓ หมู่บ้าน ทำอะไรสักอย่าง เช่น ก่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แถวๆ นั้น...เป็นปัญหาร่วมกัน จะรวมตัวชาวบ้านได้เหมือนกัน เชิญเฉพาะตัวแทนหมู่บ้าน หมู่ละ ๔ คน มาร่วมประชุมกัน....ก็อาจได้แนวความคิดดีๆ ได้ความร่วมมือกันครับ
  • ที่ใกล้ๆ เราตั้งปัญหา (โจทย์) ให้กับนักเรียนคุณอำนวยรุ่น ๑ แก้กันดีกว่า..อิอิ..

ขอขอบคุณอาจารย์ Beeman...

  • ขอแสดงความชื่นชมโครงการดีๆ แบบนี้ครับ...  สาธุ สาธุ สาธุ
  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์หมอวัลลภ ที่แวะมาเยี่ยมครับ
  • ตอนนี้ยังไม่มีโครงการใดๆ ครับ มีแต่ Idea

สวัสดีค่ะ

     ทำงานใน มน. นี้ค่ะ แต่แฟนทำงานเป็นผู้ใหญ่บ้าน ต.ยางโกลน อ.นครไทย   ซึ่งแถบนั้นชาวบ้านมีปัญหาด้านสุขภาพพอสมควร  และอยากจะรบกวนให้ มน.  ออก Mobile Unit แถบนั้นบ้าง  อยากสอบถามว่าการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ ใช้หลักเกณฑ์คัดเลือกอะไรบ้าง  อยากขอเสนอให้ออกหน่วย ที่หมู่ 1 บ้านกกกะบาก  ต.ยางโกลน จ.นครไทยบ้างค่ะ  แถวนั้นมีโรงเรียนอยู่ค่ะ   ต้องติดต่อใครค่ะ

  • หลักเกณฑ์การออก Mobile Unit ในเขตพื้นที่บริการมน. ๑๐ จังหวัด
  • ในแต่ละปีเราจะออก Moblie Unit ๑๒ เดือน แต่จังหวัดให้บริการปีละ ๒ จังหวัด (กว่าจะเวียนมาที่จังหวัดเดิมต้องใช้เวลา ๕ ปี)
  • โดยในปี ๒๕๕๑ เราจะออกหน่วยสลับกันระหว่าง จังหวัดอุทัยธานี กับจังหวัดพิษณุโลก
  • เดือนมกราคม ออกหน่วยจังหวัดพิษณุโลก, เดือนกุมภาพันธ์ ไปจังหวัดอุทัยธานี พอเดือนมีนาคมก็กลับมาจังหวัดพิษณุโลกอีกครั้ง
  • แต่ละครั้งเราก็เลือกมา ๑ อำเภอ พอได้อำเภอก็มาเลือกตำบลอีกครั้ง
  • อำเภอนครไทยออกหน่วยไปแล้ว ดังนั้นในปี ๕๑ เราจะไม่เวียนกลับมาที่อ.นครไทยอีก
  • โดยหลักการแล้ว เราให้จังหวัดเป็นคนกำหนดพื้นที่ให้เรา..เราไม่ได้กำหนดเอง
  • หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคุณแอ๊วหรือคุณเล็ก งานวิจัย โทรภายใน ๑๖๔๘ ครับ
พิษณุกรณ์ บุตรสีทา(ชื่อเดิม สำรวย บุตรสีทา)

ชื่นชมนะครับกับโครงการดีๆแบบนี้นี่ผมกะว่าเมื่อไหร่ถูกหวยซัก 30 ล้านจะกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตัวเองซักที(ขอให้ถูกซักทีเถอะสาธุๆๆ)

  • บ้านเกิดอยู่ที่ไหนครับ
ด.ช.สันติสุข รักพ่อ (โอม)

ผมชอบโรงเรียนนี้มากครับและผมก็ยากย้ายไปเรียนที่นี้มากเลยครับ

  • คุยกับผู้ปกครองเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท