กว่าจะมาเป็นโรงเรียนพ่อแม่วันนี้...ตอนเริ่มกิจกรรม


        ย้อนถึงครั้งก่อนที่ตั้งคณะกรรมการโรงเรียนพ่อแม่ แล้วก็มีการแบ่งบทบาทหน้าที่กันไป แต่ละงานเขียนแผนการสอน ระบุรหัสวิชา ครูผู้สอน และออกข้อสอบ รวบรวมส่งที่พี่หม่วย     

       ขณะเดียวกันพี่หม่วยก็เริ่มด้วยการประชาสัมพันธ์งานให้ผู้รับบริการรู้จัก  ทั้งโปสเตอร์ แผ่นพับและสำคัญคือลงไปแนะนำและชักชวนกับผู้รับบริการเองในแต่ละวัน ทั้งในคุณแม่ตั้งครรภ์ ทั้งกลุ่มแม่หลังคลอดและวางระบบการเก็บข้อมูลโดยใช้แฟ้มทะเบียนแยกของแต่ละคนไว้ ต้องบอกว่าตอนนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์ประจำหน่วยงานต้องไปอาศัยพึ่งพิงจากที่ห้องอื่นๆ

         พอมีกลุ่มที่สนใจสมัครแล้วที่นี้ก็ต้องนัดกันมาเรียนในช่วงบ่าย  ก็เริ่มเจอปัญหาตามมา คือต้องนัดทั้งผู้เรียนและผู้สอน แล้วหาสถานที่อันเหมาะสม ทุกอย่างต้องพร้อม   แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นในทุกครั้ง  ..พี่หม่วยก็แก้ปัญหาด้วยการโทร.นัดผู้เรียนล่วงหน้าก่อนว่ามาแน่นะ  แล้วเตรียมขอบัตรคิวไว้ให้เลยแบบ case VIP จากนั้นแจ้งผู้สอนล่วงหน้าว่าจะมี case ในวันพรุ่งนี้  แต่ก็ยังพบอีกว่าบางครั้งผู้สอนไม่ว่างจริงๆเลย ก็ใครอีกล่ะที่จะสอนได้..พี่หม่วยสอนแทนอีก  แล้วลองนึกดูนะคะข้าราชการอย่างเราบ่ายประชุมบ่อยมั้ยคะ กิจกรรมอื่นนอกเหนือจากงานประจำก็มี ภาพที่เราเห็นประจำ คือ พี่หม่วยไม่มาประชุม ถ้ามาก็เข้าช้ากว่าคนอื่น เพราะติดให้บริการโรงเรียนพ่อแม่  จะไปประชุมไหนก็ต้องโทร.เลื่อนนัดด้วย

แม่น้องฟิล์มเรียนรู้เรื่องยาในเด็กจากงานเภสัชกรรม
งานโภชนาการสอนเรื่องอาหารที่คลินิกโภชนาการพร้อมโมเดลอาหาร
งานห้องคลอดแนะนำกิจกรรม LAMAZ

       แล้วโรงเรียนพ่อแม่ไม่แจกอะไรเลยหรือ หนังสือเรียนไม่มีจะเรียกโรงเรียนได้หรือ? ก็เลยมีการทำคู่มือการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด 1 เล่ม ,คู่มือการดูแลเด็ก 0-1 ปี 1 เล่มและคู่มือการดูแลเด็ก 2-5 ปีอีก 1 เล่ม  ..ใครทำคะ พี่หม่วยอีกตามเคยต้องเขียนร่างเป็นตุ๊กตาให้คณะกรรมการแต่ละท่านอ่านก่อน

       ขณะเดียวกันงานในเครือข่ายก็ต้องทำด้วย ปีนั้นเริ่มจากสถานีอนามัยนำร่อง 4 แห่ง สนุกเลยเพราะเคยทำแต่งาน routine จัดยา แจกยา รับ order ให้การพยาบาลในตึก  เรียนรู้ใหม่ทั้งหมด

      นี่ล่ะคะที่มาของน้ำตา และหยาดเหงื่อ ที่บอกว่าต้องทำเอง ก็เป็นตามนั้นจริงเพราะส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่า"งานเธอ ไม่ใช่งานเรา และไม่เอาหรอกนะเพิ่มภาระงาน  ทำไม่ได้ ยุ่งจะแย่แล้ว"

ความสำเร็จมาจากไหน..."มาจากพี่หม่วยเลยคะที่สู้..ทำจริงไม่มีบ่นปริปาก แม้ว่าจริงๆแล้วเราแอบรู้ภายหลังว่ามีแอบร้องไห้เพราะท้อเหมือนกัน  สิ่งที่พี่หม่วยเล่าให้ฟังคือ รู้สึกดีที่สมาชิกโรงเรียนพ่อแม่จะทักทาย และดีใจที่ได้เจอทั้งในรพ.และนอกสถานที่"

หมายเลขบันทึก: 160102เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2008 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • โอ้ ... เกิดขึ้นจากหยาดเหงื่อ แรงงาน และ (... แอบบวกแรงใจ ... มีจากใครหรือเปล่าหนอ?) จริงๆ เลย พี่หม่วย สู้ สู้ ค่ะ ...
  • ขอฟังตอนต่อไปนะคะ ... อยากรู้ว่า ทำไมถึงไปได้สวย ...
  • ฝากหมอนนท์ช่วยเป็น FAผ่าน blog ด้วยคะ กบจะได้ฝึกการเป็น FA ไปในตัว เผื่อสกัดไม่ตรงประเด็นผู้อ่านน่ะคะ
  • กำลังฝึกทักษะอยู่คะ
  • ทักษะ FA ในสไตล์ของตัวเองนะคะ ไม่ยากหรอกค่ะ
  • ก็ถามสิ่งที่อยากรู้ ให้เขาได้เล่า และเล่าต่อไปเรื่อยๆ (ในสิ่งที่ภูมิใจ / สำเร็จ ละค่ะ เพราะนั่นคือ การทำให้ผู้เล่า อยากเล่า อยากทำต่อ อาจปิ๊งแว่บ จากเรื่องที่เล่า และเกิดอารมณ์ทำต่อไป)
  • สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด คือ เราได้รู้ และเขาปิ๊งแว่บ ภูมิใจละค่ะ
  • ทำให้เป็นธรรมชาติ ไม่ serious ก็จะสนุกค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท