สหพันธ์สาธารณรัฐเยอร์มัน


ประเทศสหพันธรัฐเยอรมันมีสภาพสังคมที่เป็นรัฐสวัสดิการ รัฐจะให้การช่วยเหลือประชาชนของรัฐทุกคน ไม่ว่าประชาชนของรัฐจะทำงานหรือไม่ทำงาน รัฐจะต้องจ่ายเงินทดแทนเพื่อเป็นหลักประกันความอยู่รอดของพลเมืองในรัฐโดยเงินที่รัฐนำมาจ่ายเพื่อเป็นค่าสวัสดิการต่างๆนั้นมาจากภาษีที่หักมาจากเกือบจะครึ่งหนึ่งของเงินเดือนทั้งหมดของคนในวัยทำงาน จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนที่เป็นพลเมืองจะต้องให้ความสำคัญกับการเมือง

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอร์มัน

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่    :  357,000  ตารางกิโลเมตร (138,000  ตารางไมล์)
เมืองหลวง   :  เบอร์ลิน
ประชากร     :  82,424,609   ล้านคน (July 2004 est.)
ภาษา     :  เยอรมัน คนส่วนน้อยกลุ่มเล็กๆ พูดภาษาฟรีเซียน และซอร์บ
ศาสนา    : 45% โปรเตสแตนท์  37%  โรมันคอทอลิค
     และ  18% ไม่นับถือศาสนาและนับถือศาสนาอื่น
โซนเวลา   :  เซลทรัลยูโรเปี้ยน ไทม์ (MEZ) เวลาตามเวลาที่กรีนิช 1 ชั่วโมง
สกุลเงิน   :  EURO
น้ำหนักและมาตราวัด  : เมตริค
กระแสไฟ  :  220 โวลท์ ปลั๊กสองขา
รหัสโทรศัพท์นานาชาติ :  (49)
รัฐบาลและเศรษฐกิจ
 ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์คือประมุขแห่งรัฐและรัฐบาลที่ประกอบด้วยแชนสเล่อร์และรัฐมนตรีต่างๆ การออกกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของเดอะบุนเดสทาก (Bundestag –สภาผู้แทนฯ)  ที่ประกอบด้วยรัฐมนตรี  662  คน และมีการเลือกตั้งทุก ๆ  4  ปี กฎหมายระดับชาติใหม่ ๆ จะได้รับการรับรองจาก เดอะ บุนเดสราท (Bundesrag –วุฒิสภา) ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากสหพันธรัฐ  68  คน
 ประเทศเยอรมนีประกอบด้วย  16 สหพันธรัฐ : บาเด็น-วีร์ทเท่มแบร์ก, บาวาเรีย, เบอร์ลิน, บราเดนบวร์ก,  เบรเมน, ฮัมบวร์ก, เฮสเซ่อ, เมคเคลนบวร์ก-เวสเทิร์น, โพเมอราเนีย, แซกโซนี่ตอนล่าง, ซารร์ลานด์, แซกโซนี่, แซกโซนี่-อันฮาลท์, ชเลสวิก-โฮลสไตน์และธูรินเกีย
 ถึงแม้ว่าประเทศเยอรมนีจะเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำของโลกทางด้านอุตสาหกรรม แต่ก็ยังต้องต่อสู้กับปัญหาสำคัญๆ มากมาย ตั้งแต่มีการรวมประเทศ รวมถึงอัตราการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการบริการ ,อุตสาหกรรมการผลิต และที่เหลือในด้านการเกษตรกรรม และอุตสากหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในด้านการให้บริการ
ประชากร
 มากกว่า  90%  ของจำนวนประชากรเป็นชาวเยอรมันดั้งเดิม ที่เป็น “คนงานซึ่งเป็นผู้มาเยือน” จากตุรกี, อิตาลี, กรีซ, สเปน, โปรตุเกส และประเทศอื่น ๆ
 ภูมิศาสตร์
 ทางทิศเหนือเป็นพื้นที่ราบมีลักษณะเฉพาะเป็นเส้นทางทางน้ำและหนองบึงต่างๆ  ขณะที่ตอนใต้โอบล้อมด้วยส่วนที่เป็นภูเขา ภูเขาที่น่าประทับใจมากที่สุดก็คือ ฮาร์ซ, ทิวเขาวาริสเซียนแห่งชวาสวาลด์  (แบล็คฟอเรสต์),  ภูเขาเอลเบ้อซานด์สไตน์หรือ “สวิสเซอร์แลนด์น้อย”  และเทือกเขาบาวาเรียน  เอลป์ที่มียอดภูเขาสูงสุดคือ เดอะซุกสปิทเซ่อ ( 2,963 เมตร/9,721 ฟุต)

 (ในส่วนของการอภิปรายผลการศึกษาดูงานจะกระทำในส่วนของการรับฟังข้อมูลสรุปในประเด็นที่น่าสนใจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของประเทศเยอรมันจากการบรรยายโดยกลุ่มนักเรียนไทยในประเทศเยอรมัน)

ข้อสังเกต ความรู้ และความประทับใจที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน
 ในประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อการจัดระบบสวัสดิการสังคมนั้นประเทศสหพันธรัฐเยอรมันมีสภาพสังคมที่เป็นรัฐสวัสดิการ รัฐจะให้การช่วยเหลือประชาชนของรัฐทุกคน ไม่ว่าประชาชนของรัฐจะทำงานหรือไม่ทำงาน รัฐจะต้องจ่ายเงินทดแทนเพื่อเป็นหลักประกันความอยู่รอดของพลเมืองในรัฐโดยเงินที่รัฐนำมาจ่ายเพื่อเป็นค่าสวัสดิการต่างๆนั้นมาจากภาษีที่หักมาจากเกือบจะครึ่งหนึ่งของเงินเดือนทั้งหมดของคนในวัยทำงาน  จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนที่เป็นพลเมืองจะต้องให้ความสำคัญกับการเมือง ให้ความสำคัญต่อผู้ที่จะมาเป็นตัวแทนในการบริหารเงินของตนเองที่ค่อนข้างมากนี้อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปัจจุบันประเทศเยอรมันมีปัญหาเกี่ยวกับการที่มีปริมาณสัดส่วนของคนสูงอายุเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับวัยทำงานและวัยกำลังเติบโต ดังนั้นคนในวัยทำงานปัจจุบันจึงมองไปไกลว่า ถ้าตนเองยังต้องจ่ายเงินภาษีดูแลคนสูงอายุด้วยอัตราที่สูงอยู่เช่นทุกวันนี้ สักวันหนึ่งในอนาคตเมื่อกลุ่มของตนเองแก่ตัวลงนอกจากจะทำให้มีเงินเก็บน้อยลงอันเนื่องมาจากการเสียภาษีในอัตราที่สูงมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้วประกอบกับแนวโน้มของประชากรในวัยที่พร้อมจะเติบโตขึ้นมาเพื่อจ่ายภาษีเลี้ยงผู้สูงอายุในอนาคตก็จะมีจำนวนน้อยลง ดังนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ว่ารัฐจะไม่มีเงินมาให้การดูแลกลุ่มผู้สูงอายุอย่างเพียงพอในอนาคต ด้วยเหตุผลในลักษณะนี้จึงทำให้ประชากรวัยทำงานในปัจจุบันเกิดความรู้สึกไม่คุ้มเมื่อตนเองต้องจ่ายให้รัฐอย่างเต็มที่เมื่อเทียบกับอนาคตที่ตนเองอาจไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีเท่ากับคนสูงอายุในตอนนี้ สิ่งเหล่านี้จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การลดแรงจูงใจในการทำงานซึ่งทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย
 ในส่วนของสภาพเศรษฐกิจนั้นประเทศสหพันธรัฐเยอรมันมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 0.2 – 0.3 และกำลังกลายเป็นประเทศที่มีงบประมาณขาดดุลอย่างมาก อันเนื่องมาจากนโยบายรัฐสวัสดิการ รวมทั้งการที่รัฐบาลเยอรมันต้องให้การช่วยเหลือกับประเทศต่างๆมากมาย อาทิ ทางด้านการทหาร ทางด้านการรับนักเรียนจากประเทศต่างๆโดยไม่คิดค่าเล่าเรียน ซึ่งเมื่อนับจำนวนนักเรียนต่างชาติที่เข้ามาเรียนในสหพันธรัฐเยอรมันนีจะเห็นว่ามีมาก โดยที่รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐเยอรมันนีระบุไว้ว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในสหพันธรัฐเยอรมันนีไม่ว่าชนชาติใดก็ตามสามารถเรียกร้องสิทธิพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ซึ่งถือเป็นความคิดที่น่ายกย่องอย่างยิ่งแต่ก็ทำให้ระบบเศรษฐกิจเยอรมันเป็นระบบเศรษฐกิจที่ยุ่งยากมากที่สุดประเทศหนึ่ง เช่นเดียวกัน นอกจากนี้เยอรมันยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าแรงขั้นต่ำที่สูงมากทำให้นายทุนเริ่มที่ละทิ้งกิจการบางอย่างที่ต้องใช้แรงงานคนเป็นหลัก เพราะหากว่าบริษัทปลดพนักงานทิ้ง กฎหมายระบุว่าบริษัทต้องจ่ายเงินเลี้ยงดูพนักงานที่ถูกปลดออกไป ดังนั้นหนทางแก้ที่ดีที่สุดที่ไม่ต้องจ่ายเงินก็คือการยอมให้บริษัทล้มละลายนั่นเอง
 ในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น พลเมืองของประเทศสหพันธรัฐเยอรมันนีเป็นพลเมืองที่มีความรู้ในระบอบประชาธิปไตยอย่างดี อาจเป็นเพราะการศึกษาที่สูงของประชาชน ชาวเยอรมันให้ความสนใจกับการเมืองอย่างมากตั้งแต่การเมืองระดับรากฐานที่เลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่น จนถึงในระดับมหภาคหรือระดับประเทศ โดยน่าจะเป็นเพราะประชาชนชาวเยอรมันต้องเสียภาษีให้กับรัฐมาก จึงต้องติดตามเพื่อคอยดูไม่ให้เงินของประชาชนที่อยู่ในความดูแลของรัฐถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง และคอยติดตามดูว่าเงินเหล่านั้นมีทิศทางอย่างไร การนำเงินไปใช้มีประโยชน์มากน้อยอย่างไร ซึ่งผลงานที่ออกมาของรัฐบาลจะเป็นตัวตัดสินอย่างจริงจังว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรจะได้เป็นรัฐบาลชุดต่อไปหรือไม่  ทั้งนี้สื่อมวลชนในประเทศสหพันธรัฐเยอรมันนีมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการนำเสนอข่าว และกระทำได้โดยไม่มีการเซ็นเซอร์จากรัฐบาล
 ในส่วนของอาชีพทางเกษตรกรรมนั้น ช่วงที่สามารถเพาะปลูกได้ในเยอรมันคือ ช่วงหน้าร้อน คือช่วงเดือน มิถุนายน – สิงหาคม  เกษตรกรชาวเยอรมันถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้รับการให้ความสำคัญจากรัฐบาลสูงมาก โดยถึงแม้ว่าการผลิตสินค้าโดยเกษตรกรในประเทศจะไม่มีผลต่อค่า GDP มากมายนักแต่ก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดการนำเข้าสินค้าเกษตรซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นได้ไม่น้อย ข้อได้เปรียบที่สำคัญมากต่อเกษตรกรในเยอรมันคือ การสามารถกำหนดราคาสินค้าทางการเกษตรของตนเองได้  ดังนั้นทิศทางราคาพืชผลทางการเกษตรจึงขึ้นอยู่กับเกษตรกรเป็นหลัก เกษตรกรชาวเยอรมันจึงเป็นเกษตรกรที่มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างดี

ข้อเสนอแนะ
 ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องระบบสวัสดิการสังคมแบบเยอรมันว่าควรนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยหรือไม่ เนื่องจากระบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่น่าเรียนรู้เป็นอย่างมากสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่ทิศทางในการแข่งขันทางการเมืองนั้นกำลังมีการเน้นในจุดขายหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดรัฐสวัสดิการในด้านต่างๆ เป็นอย่างมาก 
 ควรมีการศึกษาวิจัยว่าทำอย่างไรประชาชนชาวไทยจึงจะให้ความสำคัญกับการเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
 ควรมีการทุ่มงบประมาณอย่างจริงจังในการพัฒนากิจการด้านเกษตรกรรม อันเป็นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่ใหญ่มากของประเทศไทย มาเป็นพลังขับดันหลักทางเศรษฐกิจและสังคมให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

คำสำคัญ (Tags): #เยอรมัน
หมายเลขบันทึก: 160018เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2008 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้เรื่อง การเมือง ของเยอร์มัน และ รายได้ค่าแรงงาน ของประชาชนในเยอร์มันคร่าว ๆ รวมถึงการถูกเก็บภาษี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท