ประเทศออสเตรีย


ไทยกับออสเตรียสามารถเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน” (Strategic Partnership) ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่าง ๆ ในเชิงสร้างสรรค์ทุกมิติได้เป็นอย่างดี สนับสนุนบทบาทและภารกิจของแต่ละประเทศในเวทีความร่วมมือในภูมิภาคผ่านสหภาพยุโรป ASEM และในเวทีระหว่างประเทศ สถานเอกอัคราชทูตจึงมีบทบาทในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับออสเตรียอย่างบูรณาการในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ และการพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผลประโยชน์ของไทย และให้ความสำคัญต่อการทำงานเป็นทีมของทุกหน่วยงาน ภายใต้ระบบบูรณาการ

ประเทศออสเตรีย

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อประเทศทางการ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria)

ภูมิศาสตร์  

พื้นที่  83,858 ตารางกิโลเมตร (32,368 ตารางไมล์)
เมืองที่สำคัญ กรุงเวียนนา (เมืองหลวง)
เมืองอื่นๆ  กราซ  ลินซ์  ซาลซ์บูร์ก  อินส์บรุก  คลาเกนเฟิร์ต
สภาพภูมิประเทศ อัลไพน์ (ร้อยละ 64)
ที่ราบสูงทางเหนือซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงโบฮีเมีย (ร้อยละ 10)
ที่ราบต่ำทางตะวันออก (ร้อยละ 26)

ภูมิอากาศ  อุณหภูมิภาคพื้นยุโรป ( Continental temperate)

ประชากร
 สัญชาติ  ชาวออสเตรียน (Austrian)
 จำนวน  8,032,926 (ณ ปี 2001)
ศาสนา
 โรมันคาธอลิก ร้อยละ 73.6
 นิกายลูเธอรัน ร้อยละ 4.7
 อิสลาม  ร้อยละ 4.2
 อื่นๆ  ร้อยละ 5.5
 ไม่ระบุ  ร้อยละ 12.0
การศึกษา
 การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี
 อัตราการเข้าเรียน  ร้อยละ 99
 อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 98
ระบอบการปกครอง
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภารัฐธรรมนูญประกาศใช้เมื่อปี 1920 (แก้ไขเมื่อปี 1929) และได้รับการรับรองอีกครั้งเมื่อ 1 พ.ค. 1945

อำนาจฝ่ายต่างๆ
ประมุข (Head of State) ประธานาธิบดี
ฝ่ายบริหาร (Executive) นายกรัฐมนตรี (Chancellor: Head of Government)
ฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative) รัฐสภา (Cabinet)
ฝ่ายตุลาการ (Judicial) ศาลรัฐธรรมนูญ (Bicameral Federal Assembly หรือ Parliament)
   ศาลปกครอง (Administrative Court)
   ศาลฎีกา (Supreme Court)
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  อายุ 19 ปีขึ้นไป
การแบ่งเขตการปกครอง แบ่งเป็น 9 จังหวัด
(Lander หรือ Federal Provinces)
เศรษฐกิจ
 (ปี 2003: ตัวเลขคาดการณ์)
 GDP    254,725 ล้านเหรียญสหรัฐ
 GDP growth rate real term  ร้อยละ 0.7
 GDP Per capita income  31,220  ล้านเหรียญสหรัฐ
ทรัพยากรธรรมชาติ
ได้แก่ แร่เหล็ก  น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ 
แร่ทังสะเตน  แมกนีไซด์  ลิกไนต์ ซีเมนต์
เกษตรกรรม
 ปี 2001 มีประมาณร้อยละ 2 ของ GDP ผลิตผลที่สำคัญ ได้แก่
 -  ปศุสัตว์ (livestock)
 -  ผลิตภัณฑ์จากป่า (forest products)
 -  ข้าว (grains)
 -  ต้นบีต (sugarbeets) ใช้ทำน้ำตาล
 -  มันฝรั่ง (potatoes)
อุตสาหกรรม
ปี 2001 มีประมาณร้อยละ 29 ของ GDP ประเภทอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่
 -  เหล็กและเหล็กกล้า (iron and steel)
 -  เคมีภัณฑ์ (chemicals)
 -  เครื่องจักรอุปกรณ์ (capital equipment)
 -  สินค้าอุปโภค-บริโภค (consumer goods)
บริการ
 ปี 2001 มีประมาณร้อยละ 69 ของ GDP
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
 คู่ค้าส่งออก (2002)
  Germany   31.5 %
  Italy   9.3 %
  Switzerland  5.4 %
  US   4.9 %
  UK   4.9 %
  France   4.7 %
  Hungary   4.3 %

 คู่ค้านำเข้า (2002)
  Germany   42.6 %
  Italy   6.6 %
  Hungary   5.1 %
  Switzerland  4.8 %
  Netherlands  4.4 %

บุคคลสำคัญบางตำแหน่งของออสเตรียในปัจจุบัน
 ประธานาธิบดี (Federal President) นาย Thomas Klestil
หมดวาระ 8 กรกฎาคม 2547 และ Dr. Heinz Fischer ได้รับเลือกตั้ง (เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2547) ให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่แทน
 นายกรัฐมนตรี (Federal Chancellor) นาย Wolfgang Schussel
 รองนายกรัฐมนตรี (Vice Chancellor) นาย  Hubert GORBACH
 รัฐมนตรีต่างประเทศ (Foreign Minister)  นาง Benita Ferrero-Waldne
 เอกอัครราชฑูตประจำประเทศไทย  Dr. Herbert Traxl

เศรษฐกิจของออสเตรีย
ออสเตรียเป็นประเทศที่ใช้ระบบการตลาดแบบผสมผสาน (Social market economy) ที่พัฒนาแล้วประเทศหนึ่ง ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพสูงและรัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้แล้วออสเตรียยังถือได้ว่าเป็นประเทศที่พัฒนาทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การธนาคาร การคมนาคมขนส่ง การบริการ และการอำนวยประโยชน์ด้านการค้า ในขณะที่ออสเตรียมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บางประเภท อาทิ อุตสาหกรรมถลุงเหล็กและเหล็กกล้า โรงงานเคมีภัณฑ์ ซึ่งมีการจ้างคนงานหลายพันคน แต่อีกด้านหนึ่งบริษัทส่วนใหญ่ของออสเตรียเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
ออสเตรียถือว่าเป็นประเทศที่มั่งคั่งประเทศหนึ่งในยุโรป โดยมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยทางสังคม โดยเอื้อประโยชน์แก่ผู้ด้อยโอกาส และเน้นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Partnership) ออสเตรียถือว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสูง และมีความก้าวหน้าทางด้านการบริการเป็นอย่างมาก

ออสเตรียมีจุดแข็งคือ การเมืองที่มีเสถียรภาพ เศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว และเป็นจุดยุทธศาสตร์และเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในยุโรปกลาง ที่เชื่อมโยงกับยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก มีความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรม มีมรดกทางโบราณคดีและวัฒนธรรมของโลก สังคมมีความสงบสุข มีระบบการศึกษาที่ดี ประชากรมีการศึกษาสูง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

นอกจากนี้แล้ว การเข้าเป็นสมาชิกของ EU เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 1995 ยังนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความท้าทาย และนำเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ออสเตรียสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศไปได้ด้วยดี

ความสัมพันธ์ ไทย-ออสเตรีย
ไทยกับออสเตรียมีความสัมพันธ์ต่อกันมานาน ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2496 ไทยกับออสเตรียถือว่าเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน ต่างเป็นมิตรประเทศที่ส่งเสริมบทบาทซึ่งกันและกันมาโดยตลอด มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำในระดับประมุข และระดับรัฐบาลต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด
ไทยกับออสเตรียสามารถเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน” (Strategic Partnership) ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่าง ๆ ในเชิงสร้างสรรค์ทุกมิติได้เป็นอย่างดี สนับสนุนบทบาทและภารกิจของแต่ละประเทศในเวทีความร่วมมือในภูมิภาคผ่านสหภาพยุโรป ASEM และในเวทีระหว่างประเทศ สถานเอกอัคราชทูตจึงมีบทบาทในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับออสเตรียอย่างบูรณาการในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ และการพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผลประโยชน์ของไทย และให้ความสำคัญต่อการทำงานเป็นทีมของทุกหน่วยงาน ภายใต้ระบบบูรณาการ
 
ข้อสังเกต ความรู้ และความประทับใจที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน
 คณะดูงานได้เรียนรู้ถึงบทบาทของสถานเอกอัครราชทูตไทย ซึ่งทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนในการติดต่อระหว่างหน่วยงานทั้งทางภาครัฐและเอกชนในระดับระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังต้องมีบทบาทด้านการเชื่อมสัมพันธไมตรีเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรียอีกด้วย
 คณะดูงานได้เรียนรู้ถึงแนวคิดของท่านเอกอัครราชทูตสมเกียรติ อริยปรัชญาเกี่ยวกับความรักชาติ จากคำกล่าวในลักษณะที่ว่าท่านหวังให้นักเรียนนักศึกษาที่มีโอกาสเดินทางมาศึกษาต่อยังต่างประเทศหรือแม้กระทั่งผู้ที่เดินทางมาศึกษาดูงานโดยได้รับทุนจากรัฐบาลได้เข้าใจถึงบทบาทของความเป็น “ตัวแทน” ที่ควรจะตั้งใจนำความรู้หรือบทเรียนกลับไปทำงานเพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
 คณะดูงานได้เกิดความตระหนักในความแตกต่างของแนวทางการพัฒนาประเทศระหว่างประเทศออสเตรียและประเทศไทย โดยบางระบบที่นักศึกษาไทยที่มีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศได้พบเห็นและมีความเห็นว่าเป็นระบบที่ดีนั้น หากนำกลับมาใช้ในประเทศไทย โดยที่ไม่ได้ศึกษาดูอย่างละเอียดว่าระบบดังกล่าวมีความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยหรือไม่ ก็อาจทำให้เกิดความล้มเหลวในการพัฒนาประเทศได้
 คณะดูงานได้เรียนรู้ถึงแนวคิดทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งได้รับการใช้เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศออสเตรียรวมทั้งกลุ่มประเทศชั้นนำอื่นๆ ของโลก
 คณะดูงานได้ทราบถึงลู่ทางในการทำธุรกิจอาหารไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศออสเตรียซึ่งยังมีโอกาสมากสำหรับธุรกิจประเภทนี้
 คณะดูงานมีความประทับใจในการต้อนรับของท่านเอกอัครราชทูตซึ่งเปิดโอกาสให้ซักถามข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นกันเอง และมีการจัดอาหารว่างไว้รับรองคณะศึกษาดูงานอีกด้วย
 ท่านเอกอัครราชทูตนั้นมีพื้นฐานความรู้มาทางด้านเศรษฐศาสตร์ซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญแขนงหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์และกำหนดนโยบาย ท่านจึงมักจะมองประเด็นและอธิบายปัญหาต่างๆ อย่างเชื่อมโยงในเชิงนโยบายได้เป็นอย่างดี

ปัญหา/ อุปสรรค
 การเดินทางไปยังสถานทูตเป็นไปอย่างค่อนข้างลำบาก เนื่องจากยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางมีขนาดใหญ่แต่เส้นทางในการเดินทางค่อนข้างแคบ คนขับรถไม่คุ้นเคยกับเส้นทางจึงทำให้การเดินทางล่าช้า

ข้อเสนอแนะ
 หากมีข้อมูลสรุปเกี่ยวกับประเทศออสเตรีย และสรุปสถานการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจในประเทศออสเตรียประกอบในการเข้าศึกษาดูงานจะช่วยให้ได้รับความกระจ่างและความรู้ในการศึกษามากขึ้น
 อยากให้มีการจัดการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยให้กับประชาชนใน           ออสเตรียในโอกาสต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานเทศกาลต่าง หรือ  งานนิทรรศการต่างๆ เป็นต้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย
 ทางรัฐบาลไทยควรที่จะทำวิจัยเพื่อการประเมินผล ระบบการบริหารงานแบบทูต CEO อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังเป็นนโยบายที่ค่อนข้างใหม่และอาจยังมีจุดที่ยังสามารถพัฒนาได้อีก

คำสำคัญ (Tags): #ออสเตรีย
หมายเลขบันทึก: 160017เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2008 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท