newwave1
หลักสูตร การพัฒนาผู้นำ คลื่นลูกใหม่ ของกรมส่งเสริมการเกษตร

ประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรก ปี 51 ของเกษตรยะลา


ส่งเสริมการเกษตรทำแล้ว (ใคร) ได้อะไร

               16 มกราคม 2551 วันประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกในปี 2551 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา เป็นโอกาสอันดีที่ รองอธิบดี ท่านอภิชัย จึงประภา ได้มาเป็นประธานเปิดการประชุม และให้แนวทางในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พอจะมาเล่าให้อ่านกันดังนี้ 


                กรมส่งเสริมจะปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตร (ซึ่งหลายคนอาจรู้แล้ว แต่ตัวผู้เขียนเพิ่งรู้) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ให้สำนักงานเกษตรอำเภอได้เป็นหน่วยงานที่สำคัญในระดับพื้นที่และพร้อมที่จะทำงาน (2) ด้วยเหตุ การกระจายอำนาจการบริหารราชการและงบประมาณ ลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเรื่อย จึงต้องสร้างความชัดเจนในการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ในการทำงานกับ อปท. (3) และด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เจ้าหน้าที่ต้องทำงานโดยยึดข้อมูล และทำงานเป็นทีม โดยการระดมสมองของทีมอำเภอ เพื่อหาปัญหา ความต้องการ ศักยภาพ ของพื้นที่มาประกอบการคิดว่า ควรทำอะไร?  ที่ไหน?  เท่าไหร่?  เพื่อใคร?  เพื่ออะไร? 
                เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีหน้าที่ พัฒนาอาชีพเกษตรกรให้ดีขึ้น รายได้มากขึ้น กิจการเจริญขึ้น และแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร

สิ่งที่ต้องรู้ในพื้นที่ของตัวเอง พืชก.       ปลูกที่ไหน 
                                                                   ปลูกเท่าไหร่   
                                                                 ปลูกในพื้นที่เราแตกต่างจากพื้นที่อื่นอย่างไร
                                               ปัญหา    ปัญหาคืออะไร
                                                             ส่งผลกระทบกับใคร
                                                             พื้นที่เท่าไหร่
                                                             ควรจะทำอย่างไร
                                               คิด         จะพัฒนาอาชีพการเกษตรอย่างไร
                                                             จะทำที่ไหน
                                                             จะทำกับใคร
                                                             จะทำเพื่ออะไร 

การทำงานในพื้นที่ให้ใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นกลไกและตัวเชื่อมในการทำงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การเป็นอยู่ในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะในครอบครัว หรือในที่ทำงานต้องปรับตัว เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ทันข้อมูลข่าวสาร การปฏิเสธเทคโนโลยี ปฏิเสธคอมพิวเตอร์ คิดว่าเป็นของเด็กๆไว้พิมพ์หนังสือ ก็เหมือนกับการเดินถอยหลัง

เราจะเป็นอยู่อย่างไร เรียนรู้เพิ่มเติมจากเอกสารสิ่งพิมพ์ การอบรม การพูดคุย จากอินเตอร์เน็ต จากเกษตรกร จากภูมิปัญญา ฯลฯ จะเก็บความรู้ไว้อย่างไร ให้มีการสืบสานและนำไปใช้ 

จะทำงานอย่างไรให้เกิดผลอย่างกว้างขวางเสียที ยังเป็นคำถามที่รอเพื่อนๆ ผู้สนใจเข้ามาหาความสำราญ


             "เมื่อเป็นแก้วที่มีน้ำไม่เต็ม ก็สามารถเติมน้ำลงไปได้อีก แต่หากวันใดที่คิดว่าตัวเองเป็นแก้วที่มีน้ำเต็ม ก็...จบ"   จาก จินตนาภร

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 159801เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2008 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เมื่อก่อน เราพยายามใช้ศูนย์บริการฯ เป็นกลไก

ต่อมาพยายามจะใช้อาสาสมัครเกษตร มาแข่งกับ อสม. ยิ่งพูดยิ่งถูก อสม.ทิ้งห่างไปเรื่อยๆ

ในขณะที่การใช้กลไกของศูนย์บริการ เริ่มยาก และมีปัญหาขึ้นทุกที

  1. ศูนย์ เป็นของ อบต. เขาก็ต้องการใช้สิทธิในทุกๆ ด้าน
  2. ศูนย์ ไม่มีงบประมาณให้ดำเนินงาน

คิดดีคิดได้ทุกคน  สั่งได้ก็ต้องทำได้  แต่ไม่มีเงิน เวรกรรมประเทศไทย   ดีมากน้องเขียว

  • สวัสดีครับคลื่นลูกใหม่
  • ขอบคุณมากครับที่นำแนวคิดดีๆ มาฝาก
  •  "น้ำต้องไม่เต็มแก้ว"
  • เห็นด้วยมากเลยครับ
ปี 2552  ต้องเสนอโครงการผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด   หากศุนย์บริการฯเกษตรประจำตำบลยังขาด(ทุกอย่างแม้กระทั้งที่ทำการ) ข้อมูลสำคัญคงเหลืองานพัฒนาการเกษตรอยู่ไม่กี่ตำบล  รีบๆหน่อยน่ะไม่มีข้อมูล  ไม่มีแผน  ไม่มีงานน่ะ
กรรณิการ์ (คนมีคลื่น)

การวิเคราะห์หาศักยภาพของพื้นที่  เพื่อทราบปัญหา หาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นทำกันมาตั้งแต่เข้ามาบรรจุรับราชการในกรมส่งเสริมการเกษตร(คปพ. แม้แต่ทุกวันทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล 3 ปี (2551-2553)จนจะปรับแผนพัฒนา 3 ปี 2552-2554 อยู่แล้ว  แต่ถ้าไม่มีงบประมาณหรือขาด M -money  หรือมีในสภาวจำกัดก็ได้ทำได้เท่ากับศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่คนหนึ่งจะทำได้  ศูนย์บริการฯแต่ก่อนเป็นเครื่องมือ 100% ให้กระทรวง-กรม แต่ทุกวัน 50%กับ อปท.  โดยอปท เป็นเจ้าภาพด้านงบประมาณ  เราร่วมปฏิบัติงานเป็นผู้ให้คำแนะนำให้คำปรึกษาด้านวิชาการ  จะบริการให้กับเกษตรกรได้ ???????  บทบาทหน้าที่ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่ทำอยู่ทุกวันนี้มันใช่หรือเปล่า ทำทุกเรื่องที่ชาวบ้านเขาทำ  แต่เอามาชี้วัดว่าเป็นผลงานตัวเองไม่ได้ซักเรื่อง

ทำพันธกิจของกรม จังหวัด อำเภอ จนท.แต่ละตำแหน่งให้ชัดเจนพร้อมทำตัวชี้วัดความสำเร็จของตำแหน่งก่อน

คำถามก็คือ.
เราวิเคราะห์หรือยังว่าคนของเราด้วยสมรรถนะด้านใด ?
เราวิเคราะห์หรือยังว่าคนของเราหมดไฟหรือยัง ถ้าหมด จะจุดอย่างไร ให้ไฟติด

บางทีเราไม่รู้ว่าคนของเราทำงานหนักขนาดไหนในพื้นที่ เพราะหลายหน่วยงานที่เข้ามาใช้งานคนของเรา และในขณะเดียวกันงานของตัวเองก็แค่ทำโครงการให้เสร็จ และเอาเงินเป็นตัวตั้ง ไม่มีเงินก็ไม่ทำ

เราคิดกันหรือไม่ว่า "งานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรทำได้โดยไม่ต้องใช้เงินโครงการเป็นหลัก" 

เพราะคิดว่าโครงการที่ใช้เงินเป็นหลักมันเหมือนเป็นโครงการที่เร่งรัดอยากให้เกิดโดยเร็ว (เหมือนปฏิวัติ)  แต่ถ้าเราส่งเสริมการเกษตรแบบ ซึมลึก  คือชักจูงใจให้เห็นว่าดีอย่างไร เสียอย่างไร เกษตรกรก็จะลงทุนทำเอง ไม่ต้องจ้างเกษตรกรให้ทำ (คิดก้าวร้าวไปหรือเปล่า)

                       ที่อุดรธานี มี DW  ระหว่าง 10- 18 ม.ค 51มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้มาก แต่เกษตรน้อยก็ยังมองว่า คนของเรามีสมรรถนะที่สูงมากๆ อยู่นาน รู้จักคน รู้จักพื้นที่ มีบารมีและความอาวุโสพอสมควร   และที่สุดท้าย และท้ายสุดก็คือ มองทะลุทุกอย่างในพื้นที่ แต่มีอย่างเดียวที่ไม่สามารถมองเห็นคือ ตัวเอง บางส่วนนะครับ ที่นี่(อุดรธานี) ไม่ใช่หมดไฟ อาจจะเป็นน้ำที่เต็มแก้วแต่........มีไฟ  "งานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรทำได้โดยไม่ต้องใช้เงินโครงการเป็นหลัก"  เกษตรน้อยเห็นด้วย แต่ไม่ทั้งหมด ที่นี่(ประเทศไทย) ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินและต้องมาจากความต้องการ ความจำเป็นที่เกิดจากชุมชน อย่างแท้จริง และที่สำคัญที่สุด คน ของเรา มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวเองและ ให้ความสำคัญกับแนวความคิดของผู้อื่น ไม่ใช่ใครพูดอะไร รู้ทันหมด ความล้มเหลวในอดีตเห็นหมด ควรจะหยุดแล้วฟังบ้าง ใคร(หน่วยงานอื่น)ทำอะไร ก็ควรจะฟัง หัดยอมรับ ถ้าเกี่ยวข้องกับเกษตรกรก็ฝากเรื่องนี้หน่อยน่ะ แจมด้วยน่ะ เกษตรน้อยเคยทดลองทำ    ปีที่แล้ว ๔ ตำบลได้ผลเป็นที่น่าพอใจครับ ไม่ซีเรียสครับ มีแต่ WIN WIN WIN ทุกคน Happy  ครับ

เกษตรน้อย

อุดรธานี

ขอบคุณไปยังพี่เกษตรน้อย
คนของเรามีสมรรถนะที่สูงมากๆ อยู่นาน รู้จักคน รู้จักพื้นที่ มีบารมีและความอาวุโสพอสมควร    ..... ใช่จริงๆ น้องๆอย่างเราต้องอาศัยบารมีพี่ๆ ในการทำงานในพื้นที่

ดีใจที่พี่มาแจม ว่าแต่ ที่เคยทดลองทำเอามาเล่ามั่งนะ อยากอ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท