สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา 16 มค 51


สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลาจัดงานประชุมสามัญประจำปี 2550 พร้อมกับการประชุมประจำเดือนมกราคม 2551   

ช่วงเช้า  การประชุมสามัญประจำปี 2550 ของสมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา               

ผู้เข้าร่วมประชุม               

ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา(ดร.สนธิ เตชะนันท์)               

ที่ปรึกษาสมาคมฯ(ดร.ครูชบ ยอดแก้ว  นายเคล้า  อาจารย์สุภาคย์  ดร.สุกัญญา)               

 คณะกรรมการสมาคมฯและตัวแทนสมาชิกกลุ่มสัจจะฯทุกกลุ่ม               

 ม.วลัยลักษณ์(รัชนี สุขศรีวรรณ แทนอาจารย์ภีม ภคเมธาวี)                               

ประธาน(ผู้ว่าราชการจังหวัด) มาถึงที่ประชุม               

ประธานมูลนิธิฯ(ดร.ครูชบ ยอดแก้ว) กล่าวรายงานผลการดำเนินงานของสมาคมฯประจำปี 2550   

             จากการดำเนินงานกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาทเริ่มทดลองที่กลุ่มวัดน้ำขาว อ.จะนะ ทดลอง 1 ปี  ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  จึงนำแนวคิดปรึกษาผู้ว่าฯสงขลา เห็นด้วยกับแนวคิดและส่งเสริมจนได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิด้วยทุนส่วนตัว 2 แสนบาท  ต่อมาจดทะเบียนเป็นสมาคมฯ เมื่อวันที่ 5 กค. 2549  ณ ปัจจุบัน มีสมาชิกกลุ่มสัจจะฯ จาก 84 ตำบล 22 เทศบาล จำนวนสมาชิกประมาณ 1 แสนคน  มีเงินกองทุนที่เหลือจากการจ่ายสวัสดิการแก่สมาชิกจำนวน  35,175,940 บาท               

พิธีมอบโล่  เงินรางวัลและประกาศนียบัตร               

โล่ ออกให้โดย สนช.  สำหรับเงินรางวัล  ปีนี้เป็นปีแรกที่สมาคมฯจัดสรรให้ จำนวน 10,000 บาท/กลุ่ม  โดยไม่กำหนดการใช้นำไปใช้ประโยชน์ของกลุ่ม  

โล่และเงินรางวัล มอบให้แก่กลุ่ม 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 กลุ่มที่มีสมาชิกมากที่สุด  จำนวน 1 กลุ่ม( ต.ทุ่งหวัง)     

 ประเภทที่ 2 กลุ่มที่มีสมาชิกเกิน 50% ของประชากรในตำบล จำนวน 3 กลุ่ม (ต.น้ำขาว  ต.นาหมอศรี  ต.คลองเปียะ)

ประกาศนียบัตร มอบให้แก่ครู 2 ประเภท คุณสมบัติและผู้ได้รับมอบประกาศนียบัตร ดังนี้

ครู ข       หลักเกณฑ์ที่ 1      สมาชิกมากที่สุด     หลักเกณฑ์ที่ 2      ขยายฐานสมาชิกให้ได้ 50% ของประชากรในตำบล/เทศบาล   มีผู้ได้รับประกาศนียบัตรครู ข จำนวน 3 คนคือ นายอุดม แก้วประดิษฐ์(นายกสมาคมฯ) ต.ทุ่งหวัง   นางอำไพ อินทร์ขาว ต.นาหมอศรี   นายเอกพล แก้วมณีโชติ ต.คลองเปียะ

ครู ก       หลักเกณฑ์ที่ 1    ให้ความรู้และร่วมกับภาคประชาชนตั้งกลุ่มได้เกิน 20 กลุ่ม     หลักเกณฑ์ที่ 2      สามารถขยายฐานสมาชิกในพื้นที่ของตนเองได้ 80% ของประชากรในตำบล/เทศบาล

มีผู้ได้รับประกาศนียบัตรครู ก จำนวน 2 คนคือ นางสาวอภิญญา ยอดแก้ว  นายโมกขศักดิ์ ยอดแก้ว 

พิธีไหว้ครู ถวายสัตย์ปฏิญาณ และรดน้ำขอพร                อาจารย์สุภาคย์ นำกล่าวคำไหว้ครู  ทุกคนพนมมือและกล่าวคำไหว้ครู จนจบ  นายกสมาคมฯ กล่าวนำและสมาชิกทุกคนกล่าวตาม โดยทุกคนยกมือขวาตั้งฉากกับลำตัวและชูนิ้วชี้ เพื่อแสดงสัญลักษณ์จากนั้นบนเวทีเป็นพิธีรดน้ำขอพรจากครูจำนวน 4 ท่านคือ ผู้ว่าฯ  ดร.ครูชบ  ลุงเคล้า  อาจารย์สุภาคย์  สมาชิกเข้าแถวทยอยเข้าไปรดน้ำขอพรจากครูทั้ง 4 ท่าน

ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาท สวัสดีครูทั้งหลาย สมาชิกทุกคน ท่านมีชัย ฤชุพันธุ์ มอบหมายให้มาแทนและท่านฝากนำความปรารถนาดีมาสู่ทุกท่าน  สัจจะวันละบาทเป็นเรื่องสำคัญ  ครูชบและคณะผู้ร่วมการได้นำ 2 สิ่งสำคัญมารวมกันคือ เงินและสัจจะ เป็นกุศโลบายที่ประเสริฐ  สัจจะ มีลักษณะคล้ายกับ เครดิต  แต่สัจจะเป็นคำที่ลึกซึ้งกว่าเครดิตมาก  คำว่า เครดิต เกี่ยวข้องกับเงินเพียงอย่างเดียว  ครูชบมีความเป็นครูที่ดี  มีทั้งความรู้ เรื่องการทำกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายฯ  ความเมตตา ที่อยากนำความรู้ช่วยเหลือผู้อื่น  ความมานะอดทน  ด้วยการทดลองทำกลุ่มสัจจะฯ  ซึ่งกลุ่มสัจจะในระดับตำบล และจังหวัดนี้จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่เรื่องอื่นในที่สุด หากคนมีสัจจะจริง ๆ เช่นเกี่ยวโยงไปถึงสัจจะการเมือง  จะทำให้ประเทศเป็นประเทศประชาธิปไตยในที่สุด

ประธานมูลนิธิฯกล่าวขอบคุณ  ในนามมูลนิธิ  สมาคม และสมาชิกกลุ่มสัจจะฯ ขอขอบคุณท่านประธานซึ่งเป็นเสมือนเป็นครูใหญ่ของจังหวัด จะขอนำสิ่งที่ท่านกล่าวไปบอกต่อแก่สมาชิกเพื่อให้ได้ตระหนักถึงเรื่องสัจจะ 

ช่วงบ่าย   การประชุมกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท ครั้งที่ 1/2551

ผู้เข้าร่วมประชุม               

 ที่ปรึกษาสมาคมฯ(ดร.ครูชบ ยอดแก้ว  นายเคล้า  อาจารย์สุภาคย์  ดร.สุกัญญา)               

คณะกรรมการสมาคมฯและตัวแทนสมาชิกกลุ่มสัจจะฯทุกกลุ่ม               

ม.วลัยลักษณ์(รัชนี สุขศรีวรรณ แทนอาจารย์ภีม ภคเมธาวี)               

วาระที่ 1 ประธานสมาคมกล่าวเปิดการประชุม               

 วาระที่ 2 รับรองการประชุมครั้งที่ 11/2550               

วาระที่ 3  เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

1.       ค่าใช้จ่ายสมาคมฯ ประจำเดือนธันวาคม 2550 มีค่าใช้จ่ายดังนี้            ค่าเดินทาง 32,900 บาท ค่าที่ปรึกษา 1,500 บาท ค่าอาหาร 11,550 บาท  ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ 7,500 บาท ค่าใช้จ่ายสำนักงาน 6,761 บาท  รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 213,464 บาท  เงินคงเหลือ 213,464 บาท  ดอกเบี้ยธนาคาร 575 บาท  รวมเงินคงเหลือ 214,039 บาท

2.       ประกาศชื่อและแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับโล่ รางวัลและประกาศนียบัตรในงานประชุมสามัญประจำปี 2550

3.     เรื่องโครงการเสนอขอเงินสนับสนุนต่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  ทางกรมฯ แจ้งให้สมาคมเขียนงบประมาณของสมาคมฯเสนอต่อกรมฯในปีงบประมาณ 2551 สมาคมฯจึงเสนองบประมาณโดยคิดจากฐานสมาชิกปัจจุบัน 101 กลุ่ม  จำนวนสมาชิก 98,210 คน (98,210*365) เป็นเงิน 35,846,650 บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมฯ

4.     การประชุมทุกวันที่ 16 กำหนดให้ช่วงเช้าเป็นการประชุมปกติ  ส่วนช่วงบ่ายเป็นการพบปะระหว่างที่ปรึกษากับสมาชิก เป็นเวทีการถ่ายทอดความรู้จากที่ปรึกษาสู่สมาชิก 

วาระที่ 4  เรื่องเพื่อพิจารณา               

 การตั้งงบประมาณสมาคมฯประจำปี 2551 จำนวน 6 เดือน(1 มกราคม 30 มิถุนายน 2551)  คิดจากกลุ่มที่มีความพร้อมและเป็นสมาชิกสมาคมฯปัจจุบัน 101 กลุ่ม จาก 80 ตำบล 21 เทศบาล    

รายรับ  จากค่าบำรุงยกมา ธค. 50 จำนวน 213,464 บาท    ดอกเบี้ยรับ       จำนวน 575 บาท        ค่าสมัครสมาชิกใหม่ 15,009 คน      จำนวน 15,009 บาท        ค่าบำรุงสมาชิกทั้งหมด 98,210 คน  จำนวน 589,260 บาท     รวมรายรับทั้งหมด      จำนวน   818,308 บาท    

รายจ่าย   ค่าเดินทางการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน จำนวน 6 เดือน  คณะกรรมการ 17 ท่าน ที่ปรึกษา 12 ท่าน  เจ้าหน้าที่ 2 ท่าน รวมค่าใช้จ่าย 76,800 บาท    

ประชุมกลุ่มสัจจะฯทุกวันที่ 16 จำนวน 6 ครั้ง  ประกอบด้วยค่าเดินทาง  ค่าจ้างที่ปรึกษา  เจ้าหน้าที่ 2 ท่าน  นักการ 1 ท่าน   เบี้ยเลี้ยง  ค่าวิทยากร  ค่าอาหาร               

ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่  6 เดือน  จำนวน 46,800 บาท                       

 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน  จำนวน 49,000 บาท                                 

ค่าจัดงานประจำปี 16 มค. 51  จำนวน 60,000 บาท                               

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด         จำนวน 624,400 บาท                เงินคงเหลือ         จำนวน 193,908 บาท 

ครูชบพบปะสมาชิก                มีความชื่นชมผลการดำเนินงานของสมาคมฯที่สามารถขยายกลุ่มได้ แต่ประชาชนยังไม่มีการเรียนรู้มากพอ  แต่ค่อย ๆ ปรับปรุงกันไป  ตนเองมีความภูมิใจเมื่อได้เข้าเป็นสมาชิก สนช. ได้มีโอกาสพูดแทนประชาชน  มีส่วนผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายจำนวน 4 ฉบับ คือ พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่  พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม    พรบ.สภาองค์กรชุมชน  กฎหมายพัฒนาการเมือง

คำถามจากสมาชิก                อยากให้สมาคมฯพิมพ์ข้อความในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนของอปท.  และกฎหมายอื่น ๆ ที่ประชาชนควรรู้ให้สมาชิกทุกคน  เพื่อเพิ่มน้ำหนักในการขอสนับสนุนจาก อปท.

ครูชบ รับปาก ขณะนี้กำลังจัดพิมพ์ เนื่องจากในวาระการประชุมกำหนดให้เลิกประชุมเวลา 15.00 น. จึงจำเป็นต้องรักษาสัจจะ ต้องจบการประชุมตามเวลา หากใครมีคำถามอื่น ๆ สามารถถามได้หลังจบการประชุม

หมายเลขบันทึก: 159738เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2008 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

สวัสดีค่ะน้องรัช

  • อ่านด้วยความสนใจในแนวคิดและวิธีดำเนินงานของครูชบค่ะ
  • ได้มีโอกาสคุยกับอาจารย์สุภาคย์และ ดร.สุกัญญาไหมคะ 
  • ถ้าครูชบเป็น "ที่ปรึกษา" สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา แล้วใครเป็น "ประธาน" สมาคมฯคะ  (ถามประสาคนอยากรู้ ขออภัยค่ะ)
  • วันที่ 25 มค.จะไปเจอกันที่ลำสินธุ์ไหมคะ  การประชุมคงเป็นช่วงบ่ายค่ะ
  • วิ่งไปวิ่งมา  รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบคุณอาจารย์ปัทคะ สำหรับคำถามที่เป็นประโยชน์

  • นายกสมาคม เป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารสมาคม ซึ่งคัดเลือกมาจากตัวแทนของแต่ละกลุ่ม ขณะนี้มีคณะกรรมการบริหารจำนวน 17 คน ซึ่งจะหมดวาระในปีหน้า และนายกสมาคมตอนนี้คือคุณอุดม แก้วประเสริฐ  ตัวแทนจากกลุ่มสัจจะฯต.ทุ่งหวัง คะ

 

  • คาดหวังว่าวันที่ 25 มค.จะมีโอกาสไปที่ลำสินธุ์คะ  หากไม่มีงานสำคัญอื่น

รักษาสุขภาพด้วยเช่นกันนะคะ

รัช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท