...ฅนเปลี่ยนคน..


..เราไม่แข่งกับเขา.. เขาก็จะแข่งกับเรา ลำพังเราพยายามจะแข่งกับเขา.. เรายังสู้เขาไม่ได้ .. ถ้าตกลงใจว่าจะไม่แข่ง..เราจะเหลืออะไร?

คนเปลี่ยนคน

 

  • ปีที่ผ่านมา ผมถูกเชิญให้ไปบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวกับ การพัฒนศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร  บ่อยมากจนนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน และยังแตกประเด็นออกไปอีกมากมาย  เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันในองค์กร  
  • แต่สิ่งหนึ่งที่มักจะพบคือ  มีคำถามจากพนักงานระดับกลางลงไปถึงระดับล่างอยู่บ่อยๆว่า  "เราต้องพัฒนา เปลี่ยนแปลงกันขนาดนั้นเลยหรอครับ"  ผมไม่แปลกใจเลยที่เขาถามอย่างนั้น  และบอกได้เลยครับว่า ถ้ามีเขาอยู่ในองค์กรใดหรือ บริษัทไหน  แสดงว่าที่นั่นจะมีทรัพยากรที่มีคุณภาพในอนาคตครับ  เพราะถ้าเขากล้าถามอย่างนี้แสดงว่าเขามีความสนใจ   แม้เขาอาจไม่กระจ่างชัดนักว่า  ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันที่รออยู่ข้างหน้ามันน่ากลัวขนาดไหน  แต่เขาก็พร้อมและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
  • ในโลกแห่งการแข่งขันและเปลี่ยนแปลง  มนุษย์เราต้องปรับตัว เพื่อให้อยู่รอดและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน   อย่างที่เราเคยพูดกันว่า "แค่หยุด ก็เท่ากับถอยหลังแล้ว"  คำถามต่อมาคือ "แล้วทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลงด้วย"  เราอยู่ของเราเฉยๆไม่ได้หรือ?  เราไม่ไปแข่งขันกับเขาไมได้หรือ?   คำถามเหล่านี้มันอยู่ในสมองผู้คนจำนวนมาก แต่สิ่งที่จะตอบคำถามเหล่านี้มันอยู่ตรงที่ว่า  บางครั้งเราก็ไม่อยากจะแข่งขันกับใคร แต่สถานการณ์รอบตัวของเราของชาวโลก มันทำให้เราอยู่นิ่งไม่ได้

  • เราไม่แข่งกับเขา เขาก็จะแข่งกับเรา ลำพังเราพยายามจะแข่งกับเขา เรายังสู้เขาไม่ได้  ถ้าตกลงใจว่าจะไม่แข่ง..เราจะเหลืออะไร   จากอิทธิพลหลายๆด้านรอบตัวเราทำให้เราต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  • มาดูซิครับว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อ  การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรบุคคล  ขององค์กรเรา  

  • 1. อิทธิพลด้านพฤติกรรมศาสตร์   Hierarchy Of Needs ของ Maslow ทำให้เราได้คำตอบว่า คนไม่สามารถให้บริการแบบเดิมๆได้  ต้องรู้จักค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าและผู้ใช้บริการ ต้องมีวิธีการและกระบวนการที่เหนือชั้นกว่าในการจูงใจ  ต้องจัดให้มีความหลากหลายในการจัดทำ Activities  ด้านต่างๆ  เพราะลูกค้าในปัจจุบันมีความต้องการที่หลากหลาย ที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น   เพราะฉะนั้นการมีสินค้า  และบริการอย่างเดียว  ไม่เพียงพอเสียแล้ว ในโลกยุคปัจจุบัน การเรียนรู้ การศึกษา การเก็บข้อมูล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและรู้จักใช้ให้ถูกเวลา ถูกโอกาส และถูกคน จึงเป็นเรื่องที่คนในองค์กรต้องใส่ใจเพิ่มขึ้น
  • 2. อิทธิพลด้านอุตสาหกรรมบริการ   ซึ่งต้องเน้นไปที่   "คน"  องค์กรจึงต้องทำให้ " คน " มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อที่จะได้ "คน" ทำหน้าที่ที่ดี ผมย้ำเสมอๆในการบรรยายว่า "การบริการที่มีคุณภาพต้องใช้คนมีคุณภาพในการให้บริการ"   เราต้องหันกลับมาดู ชีวิต ความเป็นอยู่  สิ่งแวดล้อม ความรู้ความสามารถ วัฒนธรรมองค์กร  สังคมที่เราอยู่ในที่ทำงาน ฯลฯ   ผู้บริหารในองค์กรต้องใส่ใจใฝ่ดูในเรื่องราวเหล่านี้ของคนในองค์กรอย่างจริงจัง และรู้ให้ถ่องแท้ เพราะจะได้หาช่องทางส่งเสริมพัฒนาสนับสนุนให้เขาเป็นเพชรเม็ดงามขององค์กร

  • 3. อิทธิพลการแข่งขันระดับโลก   ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ ลูกค้ามีความต้องการด้านคุณภาพสูงสุด ทำให้เราต้องใช้ "คน" ที่มีคุณภาพ ในการสร้างสินค้าและบริการคุณภาพ ในระดับสากล บ้านเรามีแรงงานที่เป็นแรงงาน ซึ่งเกี่ยงงานและเลือกงานเป็นจำนวนมาก เราต้องพัฒนาแรงงานเหล่านี้ให้เป็นแรงงานคุณภาพที่มีฝีมือ อันหลากหลายและอยู่ในสภาพที่ทนสภาวะแรงเสียดทานด้านต่างๆ ได้ดีด้วย   เพราะฉะนั้นการจะสนองตอบกับความต้องการ  ด้านคุณภาพสูงสุดของลูกค้านั้น  คนในองค์กรเราต้องมีทั้งความรู้ ความคิดสร้างสรรค์, ทักษะ ฯลฯ ที่เพียงพอต่อการสร้างสินค้า   และบริการคุณภาพ

  • 4. อิทธิพลของสังคมแห่งการเรียนรู้   เราต้องยอมรับว่า ความรู้ เท่านั้นที่ทำให้คนยืนอยู่ได้ " คน "  จึงต้องศึกษาและแสวงหาความรู้อยู่สม่ำเสมอ  ตลอดเวลาและตลอดชีวิต  ซึ่งองค์กรเองก็ต้องมีกระบวนการในการแข่งขันที่จะแสวงหาคัดเลือก  และชักชวนให้คนที่มีความรู้ความสามารถดีๆ  เข้ามาอยู่ในองค์กรของเรา  และเมื่อได้มาแล้ว  สิ่งที่เราต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  ก็คือการส่งเสริมสนับสนุน   พัฒนาต่อยอดความรู้ความสามารถของเขาให้แข็งแกร่ง  สอดคล้องกับสถานการณ์แข่งขันในปัจจุบันและอนาคต   พร้อมๆไปกับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด  เพื่อจะได้รักษาคนมีความรู้เหล่านั้นเอาไว้ให้ได้มิให้ไหลไปอยู่ที่อื่น   โดยเฉพาะในองค์กรที่เป็นคู่แข่งกับองค์กรของเรา

  • 5.อิทธิพลของกฎหมายใหม่  อันมีผลต่อการจ้างงานและการบริหารจัดการคนในองค์กร อาทิ กฎหมายแรงงาน  กฎหมายลิขสิทธิ์  กฎหมายสิทธิมนุษยชน ฯลฯ   องค์กรจะต้องปรับตัวในการเรียนรูพัฒนา  ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายต่างๆ  ที่มีการพัฒนาตัวบทกฎหมายอยู่เสมอๆเช่นเดียวกัน   และแน่นอนองค์กรที่บริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ  คุณธรรม  การใช้ตัวบทกฎหมายในการเจรจา  ย่อมเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะหยิบยกมาใช้  ความเข้าอกเข้าใจอันดี  ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่างหาก  คือการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยการที่ต่างคนต่างโน้มตัวลงมาหากัน  ความเข้าใจอันดีบนความเท่าเทียมก็จะพึงเกิดขึ้น โดยไม่ต้องใช้กฎหมาย หรือขึ้นโรงขึ้นศาล

  • จากอิทธิพลด้านต่างๆนี้  มันทำให้เรายากที่จะยืนอยู่นิ่งๆ  มองการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของอารยประเทศรอบตัวเรา  โดยที่เราไม่ทำอะไรเลย      

  • ผู้บริหารระดับสูงต้องพัฒนาความรู้   เพื่อให้เข้าใจปัญหาทางเทคนิค  ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบจาก การแข่งขันของโลกสมัยใหม่

           

  •  แต่ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงพัฒนาโดยเข้าใจว่า   ส่วนที่ดีเรามีต้องรักษา ส่วนที่พัฒนาต้องสอดคล้องกับความเป็นเรา ให้เปลี่ยนแปลงพัฒนาไปพร้อมกับปัจจัยด้านต่างๆด้วย 

หมายเลขบันทึก: 159339เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2008 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์

จะขอแลกเปลี่ยน   คือ  นอกจากอิทธิพลจากภายนอกแล้ว  ตัวของมนุษย์และตัวเราเองจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมด้วย

  • สวัสดีครับคุณMSU-KM :panatung
  • ใช่ครับ คุณธรรม จริยธรรม เปรียบเหมือนพวงมาลัยรถยนต์ หรือหางเสือเรือ ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเดินไปเลยละครับ  เพราะบางคนไปถูกทิศ  แม่ถูกทางครับ
  • ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนเป็นการต่อยอดครับ
  • ขออภัยครับ ผมพิมพ์ตกหล่นไป
  • เพราะบางคนไปถูกทิศ  แต่ไม่ถูกทาง ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท