ไม่สนใจว่าทำไมศาสนาจึงเสื่อม?..มาทำทานกันดีกว่า


ให้เราอยู่กับปัจจุบันขณะ ถ้าเรากังวลกับอดีต ถ้าเรากังวลกับอนาคต

เพราะว่าผลของการทำทานตามหลักพุทธศาสนามีว่า

ให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉานได้ผล ๑๐๐ เท่า

ให้ทานแก่ปุถุชนผู้ทุศีลได้ผล ๑๐๐๐๐ เท่า

ให้ทานแก่ผู้มีศีลได้ผล แสนเท่า

ให้ทานแก่บุคคลภายนอกผูปราศจากความกำหนัดในกามได้ผลแสนโกฏิเท่า

ให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติผลให้แจ้ง ได้ผลนับประมาณไม่ได้

ให้ทานในพระโสดาบัน พระสกาทามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลยิ่งไม่อาจนับประมาณได้เลย

ผลจากการทำทานมีมากมาย เลือกเอา ว่าท่านจเลือกให้ทานแบบไหน

ธรรมะเหมือนรถ ต้องมีเบรค มีคนขับ  มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป มีลาภ เสื่อมลาภ

เหมือนควายเดินคันนา ควายเดินบนคันนาได้ คนก็เดินได้ แต่..ต่างกันที่ปัญญา

คนรับรู้ว่า ผิด ชั่ว ไม่ดี ก็ต้องเลี่ยง ลด ละ เลิก ด้วยปัญญา

ให้เราอยู่กับปัจจุบันขณะ ถ้าเรากังวลกับอดีต ถ้าเรากังวลกับอนาคต

มันจะทำให้เราเป็นทุกข์ในปัจจุบัน

การเข้าถึงธรรม เป็นการฝืนตัวเอง ฝืนกิเลส เมื่อเราฝืนได้เราจะมีความพอใจ มีธรรมะมากขึ้นเรื่อยๆ

ศาสนาอยู่ในตัวเรา ถ้าเราอยู่ในศีล ในธรรม ศาสนาก็ไม่เสื่อม

หมายเลขบันทึก: 159006เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2008 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีครับคุณหมอ สุรพล ปานพาน
  • ขอบคุณครับสำหรับข้อคิดดีๆ ที่นำมาฝาก

 

ทำไมศาสนาจึงเสื่อม <<<ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ธรรม  ๕  ประการนี้     ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม  ธรรม ๕ ประการ คือ 

1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ

2. ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ

3. ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ

4. ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ 

5. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ

(เมื่อผู้สืบทอดไม่ตั้งใจศึกษาปฏิบัติจะรู้จริงได้อย่างไร  จะเอาอะไรมาสั่งสอน สิ่งที่สั่งสอนชาวบ้านคิดเองบ้างเดาบ้างจำผิดจำเพี้ยนบ้าง เมื่อไม่รู้จริงก็ไม่ตั้งใจสอนเพราะรู้ว่าตัวเองก็ไม่รู้ เมื่อไม่ตั้งใจสอนแล้วใครจะตั้งใจเรียน....ฯลฯ)

ขอบคุณครับสำหรับข้อคิดเห็นทั้งคุณติ๊กและคุณเอกชน
ศาสนานั้นมีอยู่ในตัวของทุกคน ถ้าหากเรารู้จักปฎิติธรรมรักษาศีลอยู่เสมอ ไม่ต้องมาวิตกว่าศาสนาจะเสื่อม คนนั่นแหละเสื่อม เหมือนข้าวเปลือกกว่าจะกลายเป็นข้าวสุกก็ต้องผ่านขบวนการ สี ขัด นึ่งหุงต้ม จึ่งมาเป็นข้าวสุกได้ เราก็ต้องศึกษาทุกข์ว่ามาจากไหน ? จากรูป (กาย)และจิต(นาม) พิจารณากันให้มากๆ

สวัสดีครับ คุณ supolpp

"..ไม่ต้องมาวิตกว่าศาสนาจะเสื่อม คนนั่นแหละเสื่อม.." <<< ไม่ต้องเล่นคำหรอกครับ

ศาสนากว่าจะเกิดและอยู่มาถึงทุกวันไม่ใช่ง่ายๆ จะให้มาคิดใหม่ทำใหม่ คิดเองทำเอง มันไม่ง่ายขนาดนั้น? 

ตัวอย่างไม่มี? คำแนะนำสั่งสอนไม่มี? อะไรๆก็ยากขึ้นมาครับ?

ศาสนาเป็นของส่วนรวม คุณเป็นอหันต์อยู่คนเดียวคนอื่นๆ ไม่รู้อะไร ไม่สนใจอะไร? ชาวบ้านเขาก็ว่าศาสนาเสื่อมแล้ว

ได้รับคำแนะนำให้ไปอ่านธรรมะจากหนังสือธรรมออนไลน์ ด้วยว่าตัวเองมีเหตุปัจจัยทำให้หลงตัวเอง พออ่านและพอใจที่แก้ความไม่เข้าใจบางส่วนได้ก็นำมาแลกเปลี่ยนบ้าง ท่านผู้รู้สอนผมว่า

"เรื่องจิตใต้สำนึก พระพุทธเจ้าเคยแจกแจงเรื่องจิตไว้ละเอียดละออ
บางที ท่านอาจจะเป็นศาสดาองค์เดียว ที่มีความรู้แจ้งในเรื่องจิต มากกว่าใคร

ท่านบอกไว้ตั้งแต่สองพันกว่าปีก่อนว่า.. จิตมันไม่ใช่ตัวเรา
มันทำงานของมันเอง มันไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยตามเหตุปัจจัย
และที่สำคัญคือ.. มันบังคับไม่ได้

น่าเสียดายที่นักปฏิบัติในศาสนาพุทธเอง จำนวนมาก
พยายามทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับหลักการนี้

พระพุทธเจ้าบอกว่า จิตบังคับไม่ได้ ก็ไปพยายามฝึกสมถะเพื่อบังคับจิต

ท่านสอนว่า จิตมีธรรมชาติปรุงแต่ง ก็ไปพยายามฝึกให้จิต ไม่ปรุงแต่ง

บางคนฝึกจนเก่ง บังคับจิตได้ แต่ก็โดยอาศัยพลังของสมาธิ
พระท่านเคยเปรียบว่า เหมือนเราเอามือไปปิดปากเครื่องฉายหนัง
ภาพบนจอก็ดับไป แต่ถามว่าเครื่องฉายหนังหยุดไหม ไม่นะ

จิตก็ยังปรุงแต่ง ยังทำงาน แต่มันแค่ถูกกัก ถูกกด ถูกข่มไว้
รอเวลาให้เครื่องกัก เครื่องกั้น มันหมดกำลังเท่านั้นเอง

งั้นถามว่า แล้วจะเอาชนะมันยังไง
ก็ตอบว่า ต้องฝึกรู้สึกตัวบ่อยๆ ให้สติมันเจริญขึ้น

สติในขั้นแรก มันยังเป็นสติตัวปลอม
เป็นความรู้สึกตัว ที่เราต้องอาศัยการจงใจ เข้าไปรู้

แต่ก็ต้องฝึกอย่างนั้น เหมือนฝึกให้เด็กเรียนภาษา
ช่วงแรกๆ ก็ท่องเอา อาศัยการฝึกฝน จงใจ

แต่พอเรียนไป ใช้บ่อยๆ จนคล่อง
อีกหน่อยมันคิดเป็นภาษานั้นได้โดยอัตโนมัติ
ไม่ต้องมานั่งสะกด ทีละตัว

หรืออย่างเราหัดขับรถ ช่วงแรกๆ ใครยังจำได้บ้าง
ว่ามันขลุกขลัก เกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติอย่างไร

ช่วงเริ่มต้นหัดรู้สึกตัว ก็เป็นเหมือนกันครับ

แต่พอฝึกบ่อยๆ ขับบ่อยๆ จนคล่อง จนชิน
มันหลับตาขับยังได้เลย ว่าเกียร์อยู่ไหน เบรกอยู่ไหน คันเร่งอยู่ไหน

สติที่เจริญแล้ว ก็คล้ายกัน
ถึงจุดที่มันสุกงอม เขาจะทำงานของเขาเองโดยอัตโนมัติ

ที่ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่าจิต "ตื่น" แล้ว เป็นอย่างนั้นเอง
มันจะว่องไว คล่องแคล่ว เบา สบาย ร่าเริง

ถึงเวลานั้น จิตใต้สำนึก จะทำงานอย่างไร
ก็จะมีสติเป็นตัวช่วย เป็นตัวคุมหางเสือ ไม่ให้มันหลงทาง

ถ้าไปถึงจุดนั้น กระบวนการสะสมปัญญา ระดับสู้กิเลสได้จริง จะเริ่มต้นขึ้นครับ

มันจะเห็นการเกิดดับของจิต และอารมณ์ต่างๆ สืบเนื่องกันบ่อยๆ
จิตจะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลาง
เริ่มให้ค่ากับสุข กับทุกข์น้อยลง

บางคนถามว่า.. แล้วยังจะมีสุข มีทุกข์ไหม
มีสิครับ มีอีกเยอะเลย มีเหมือนคนปกตินั่นแหละ

แล้วจิตมันก็จะหยิบมันมาถือเหมือนเดิม
เพียงแต่จากเดิมที่เคยถือสุขไว้นานๆ กอดมัน จูบมัน
ก็จะเห็นว่า มันไม่ใช่ของดี ของวิเศษมากมายเท่าเดิม

จากที่เคยหยิบทุกข์มาแบก แล้วเอาแต่เกลียดมัน เบื่อมัน แต่ก็ยังแบก
ก็จะเห็นว่า มันไม่ใช่เรื่องต้องแบก ต้องบ่น
เพราะมันมา แล้วเดี๋ยวมันก็ไป

ที่เราทุกข์มากๆเวลามีทุกข์ มักจะเป็นเพราะทุกข์แล้วดิ้น
อยากหนีทุกข์ อยากกำจัด อยากบังคับใจ ไม่ให้ทุกข์

ยิ่งทุกข์ ก็ยิ่งดิ้น ยิ่งดิ้น ก็ยิ่งทุกข์
ทุกข์ที่เคยมีขนาดเท่าเมล็ดถั่ว ก็กลายเป็นภูกระดึงขึ้นมาซะงั้น

ไม่รู้จะตอบคำถามคุณส้มโอชัดเจนไหม
แต่อยากให้ลองทำดู

แล้วจะเข้าใจว่า.. คนที่ไม่ค่อยศรัทธาอะไรง่ายๆอย่างผม
ทำไมถึงยอมกราบพระพุทธเจ้าหมดหัวใจ"

ผมเหมือนได้ของดี สุดสุด เช้านี้สดใส สบายใจมากครับคงต่อเนื่องได้อีกนาน ด้วย ขอบคุณเจ้าของบทความมาก

เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

สุขกับโศกเปลี่ยนแปรผัน

ธรรมหลักประกัน

หากยึดมั่นต้องหมั่นเพียร

เพียรพิจพินิจตรอง

ตัวเราต้องหมั่นเล่าเรียน

ปัญญาคือบังเหียน

สติเพี้ยนเพราะหลงทาง

มองตนก่อนคนอื่น

รู้ตัวตื่นอย่าเหินห่าง

จิตธรรมไม่อำพราง

จะเป็นกลางว่างและเบา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท