ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนแห่งใหม่ของอำเภอท่าฉาง


ใส่ลูกมะดันลงไปด้วย เพื่อลดรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ของดอกดาหลา และจะมีรสเปรี้ยวนิดๆ

ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าฉางทุกท่านให้ข้าพเจ้าเขียนบันทึกเก็บไว้เป็นความรู้อีกครั้งหนึ่ง  สืบเนื่องจากการติดตามนิเทศงานของคณะติดตามนิเทศจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งมีหัวหน้าสมเดช  มณีวัต เป็นหัวหน้าทีม มีคุณระนอง  เหมทานนท์  เป็นเลขา และมีทีมงานอีก  2  ท่านที่ติดตามคือคุณใจทิพย์  ด่านปรีชานนท์  และคุณโชคชัย  บุญยัง ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีตัวแทนจากฝ่ายบริหารอีก 1 ท่าน แต่วันนี้ไม่เห็น การติดตามครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งติดตามเมื่อวันที่  9  มกราคม  2551 แบ่งเป็น 2 ภาค คือภาคเช้าจะติดตาม ณ สำนักงานเกษตรอำเภอท่าฉาง แนะนำด้านเอกสาร การปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด ด้านเกษตรอำเภอท่าฉาง คุณพัชรินทร์  รักษาพราหมณ์ ได้นำเสนอผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ ในรอบปีงบประมาณ 2551 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ถึงกระทั่งถึงปัจจุบันให้คณะติดตามนิเทศฯทราบ ภาคบ่ายได้นำคณะติดตามนิเทศฯ เข้าพื้นที่ติดตามในเรื่องศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน เริ่มต้นภาคบ่ายได้เข้าติดตามที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเสวียด ตอนนี้องค์การบริหารส่วนตำบลเสวียดกำลังปรับปรุงสถานที่จึงเห็นแต่เอกสาร ส่วนด้านห้องทำงานของเลขานั้นท่านนายกท่านบอกว่าจะกั้นห้องให้ 1 ห้อง หลังจากนั้นก็เดินทางไปเยี่ยมศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปากฉลุย งานนี้ไม่พลาดอีกแล้ว ตามคำบอกท่านนายกที่เคยรับปากเอาไว้ว่าจะให้ 1 ห้อง ถึงแม้เป็นห้องเล็กๆ แต่มีแอร์ ข้อมูลพร้อม โต๊ะทำงานของเลขาศูนย์ชัดเจน ห้องจะตั้งอยู่ด้านหลังของ อบต. คณะติดตามนิเทศของจังหวัดพอใจค่ะ งานนี้! หลังจากนั้นก็เดินทางไปดูศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ซึ่งในปี 2551 ทางอำเภอท่าฉางได้ขอเปลี่ยนแปลงดังนี้ <ul style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt"> ศูนย์หลัก จากเดิม เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง สมุนไพร ต.ปากฉลุย  มาเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง ไร่นาสวนผสม ต.ท่าเคย (อันนี้ปี 2550 เป็นศูนย์เครือข่าย ได้ยกฐานะตัวเอง) </li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 36.0pt"> ศูนย์เครือข่าย จากเดิมเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง ไร่นาสวนผสม ต.ท่าเคย  มาเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง เกษตรผสมผสาน ต.เขาถ่าน </li> </ul>ลืมไปเลย เมื่อเข้ามาดูศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน (ศูนย์เครือข่าย) เรื่อง เกษตรผสมผสาน ต.เขาถ่าน สมแล้วที่เรียกว่าเกษตรผสมผสาน เพราะเจ้าของแปลง คุณอุษา ดีฮกเคี่ยม มีทุกอย่างในแปลง จะไม่ให้ครบได้อย่างไรในเมื่อกิจกรรมทางการเกษตรมีถึง 30 กว่าชนิดกิจกรรม มีพื้นที่ที่เข้าร่วมกิจกรรมรวม 65 ไร่ คุณอุษาได้นำของว่างและเครื่องดื่มมาเลี้ยงคณะมีทั้งกล้วยน้ำว้า มะกอกน้ำแช่อิ่ม น้ำดอกดาหลา สละ ทุกอย่างเป็นผลผลิตจากสวนทั้งหมด คณะติดตามฯ ได้แนะนำการจัดการแปลง การเตรียมเอกสาร การทำบันทึก สอบถามในเรื่องต่างๆ ทุกด้าน และทุกท่านก็มาติดใจน้ำแดงที่นำมาเลี้ยง ก็คือน้ำดอกดาหลา ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ผู้ชายจะไม่ทราบว่าดอกดาหลานำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ส่วนผสมของข้าวยำปักษ์ใต้ เหนาะกับขนมจีน น้ำดอกดาหลา แต่จะมีกลิ่นในตัวหากใครไม่ชอบก็จะทานไม่ลง คุณอุษาเล่าให้ฟังว่าที่ทำน้ำดอกดาหลาเพราะเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมของเรานี้แหล่ะเข้าไปแนะนำให้ทำ วิธีทำน้ำดอกดาหลา <ul style="margin-top: 0cm"></ul><ol style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt"> เด็ดดอกดาหลาทั้งกลีบลงต้มกับน้ำ </li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt"> ใส่ลูกมะดันลงไปด้วย เพื่อลดรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ของดอกดาหลา และจะมีรสเปรี้ยวนิดๆ </li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt"> เติมน้ำตาลตามชอบ </li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt"> ต้มให้เดือด สีของดอกดาหลาจะออกเอง เป็นสีแดง หรือชมพู แล้วแต่สีของดอก </li> <li class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt">ยกลงให้เย็น เวลาดื่มให้ใส่น้ำแข็ง จะไม่มีกลิ่นของดอกดาหลา รสชาติจะออกเปรี้ยวนิดๆ ไม่หวานแหลม</li> </ol><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p>หลังจากนั้นคุณอุษาก็นำคณะลงพื้นที่ไปดูการผสมเกสรของสละ ภายในบริเวณสวนร่มรื่นมาก ต้นไม้ทั้งใหญ่น้อยเต็มไปหมด ดูได้ตลอดเวลา ไม่ร้อน ผู้เขียนมาติดใจที่คุณอุษา สอนเทคนิควิธีแกะสละให้ทาน เพราะตัวเองก็ไม่คิดว่าแคแกะสละจะมีวิธีอะไรมากมาย แต่พอเห็น พอคิดแล้ว ดีค่ะ คุณอุษาได้แนะนำเทคนิคการแกะสละดังนี้1.      ให้แกะจากหัวของเมล็ด อย่าให้ขาด 2.      หมุนสละตามเปลือก อย่าหมุนทวนเปลือก เพราะเปลือกจะมีหนามเล็กๆ หากพลาดไปจะถูกแทงได้อาจจะเป็นความรู้ที่มีคนทราบ และบางคนก็ยังไม่ทราบ จึงขอเก็บบันทึกเอาไว้เป็นความรู้ อีก 1 เรื่องค่ะ อันนี้แถมเพราะผู้เขียนเพิ่งทราบค่ะส่วนภาพบรรยากาศต่างๆ สามารถชมได้เพิ่มเติมที่ http://suratthani.doae.go.th/thachang ค่ะ</p><p></p><p>หลังจากนั้นได้เดินทางต่อไปที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าฉาง ไม่ได้เข้าไปดูเนื่องจากใช้ศาลาหมู่บ้านเป็นที่ตั้งศูนย์ฯ และในขณะนั้นทางหมู่บ้านกำลังประชุมประจำเดือนกันอยู่เลยไม่ได้ดู และเดินทางต่อไปที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลคลองไทร สถานที่ตั้งศูนย์ฯ ในวันที่  20  มีนาคม 2551 จะใช้เป็นสถานที่จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในระดับจังหวัด (ตามแผนจังหวัด ไตรมาส 2) ที่ทำงานของเลขาศูนย์ฯ จะอยู่ชั้นสองของตัวอาคาร มีที่ทำงาน แต่ด้านเอกสาร ทาง อบต. ขออย่าติดกับผนังให้วางหรือติดเป็นที่ขาตั้งได้ ไว้ในชั้นได้ ก็ไม่ผิดหวังเช่นกัน เนื่องจากเลขาศูนย์ฯ เพิ่งย้ายมาช่วยราชการไม่ถึงเดือน ก็ OK ตกลงรอบนี้ไปได้สวย </p>

คำสำคัญ (Tags): #น้ำดอกดาหลา#สละ
หมายเลขบันทึก: 158625เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 04:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

* สวัสดีปีใหม่นะน้อง

* ท่าฉางเยี่ยมอยู่แล้ว อย่าลืมพาเจ้าตัวเล็กที่ยววันเด็กด้วยนะครับ

  • ลองทำน้ำดาหลา มาฝากพี่ๆที่จังหวัด บ้างก็ได้นะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท