การตรวจสอบกิจกรรมเกี่ยวกับปลา


การตรวจสอบกิจกรรมเกี่ยวกับปลา
การตรวจสอบกิจกรรมเกี่ยวกับปลา
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ CITES
(ที่มา:ชวลิต วิทยานนท์ และคณะ สถาบันพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและกองอนุรักษ์ทรัพยากรประมง กรมประมง)

 

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2535 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2535 เป็นต้นมา โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 15 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535 และได้ยกเลิกกฎหมายฉบับเดิม จำนวน 2 ฉบับ คือ
          1) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503
          2) ประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515 เหตุผลที่ใช้ในการประกาศใช้พระราช   บัญญัติฉบับนี้คือเนื่องจากกฎหมายฉบับเดิมได้บังคับใช้มาเป็นเวลานานแล้ว มาตรการต่างๆตามกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถทำให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับจำเป็นจะต้องเร่งรัดการขยายพันธุ์สัตว์ป่าและให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าควบคู่กันไป และเนื่องจากปัจจุบันได้มีความตกลงระหว่างประเทศในการที่จะร่วมมือกันเพื่อสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศจึงได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
     พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้การคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งหมายรวมทั้งสัตว์น้ำด้วยโดยกรมประมงจะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลในส่วนที่เป็นสัตว์น้ำ ซึ่งอธิบดีกรมประมงมีอำนาจในการอนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่กฎหมายควบคุม รวมทั้งออกระเบียบกรมประมงตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำสำหรับข้าราชการกรมประมงในตำแหน่งต่างๆ เช่น อธิบดี รองอธิบดี ผู้อำนวยการ กอง/สถาบัน/ศูนย์ เจ้าหน้าที่บริหารงานประมง นักวิชาการประมง เจ้าพนักงานประมง เจ้าหน้าที่ประมง หรือข้าราชการกองอนุรักษ์ทรัพยากรประมงในตำแหน่งนายท้ายเรือ นายช่างกลเรือ ช่างกลเรือ พนักงานสื่อสาร เจ้าหน้าที่สื่อสาร เจ้าหน้าที่ธุรการ เป็นต้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการตรวจสอบ ตรวจค้น จับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายดังกล่าวได้

 

สัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครอง
มีจำนวน 6 ประเภท ดังนี้
     1. สัตว์ป่าสงวน หมายความว่า สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมี
จำนวน 15 ชนิด และตามที่จะกำหนดเพิ่มเติมโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
     2. สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายความว่า สัตว์ป่าตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่า
ครอง ปัจจุบัน มีประมาณ 476 รายการ
     3. สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หมายถึง สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ปัจจุบันมี 29 ชนิด
     4. สัตว์ป่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าที่อยู่ในบัญชีของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES)) และเป็นชนิดพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศโดยได้ประกาศบัญชีสัตว์ป่าที่อยู่ในประเทศไทยเพิ่มเติมอีกประมาณ 42 รายการ
     5. สัตว์ป่าที่อยู่ในบัญชีไซเตส (CITES) อนุสัญญาไซเตส เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในโลกให้คงอยู่คู่โลกมนุษย์ตลอดไป โดยประเทศไทยได้เป็นสมาชิกร่วมลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ.2518 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2526
     อนุสัญญาไซเตสได้สร้างเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกทั่วโลกซึ่งปัจจุบันมีประเทศภาคี จำนวน 151 ประเทศ (ถึงเดือนพฤษภาคม 2543) ในการควบคุมการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศภายใต้เงื่อนไขที่ประเทศสมาชิกกำหนดขึ้น โดยแบ่งความเข้มงวดในการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศออกเป็น 3 ระดับ ตามหลักการดังนี้
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I) เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัย หรือเพาะพันธุ์ ซึ่งก็ต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้ง จะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นๆ ในธรรมชาติ
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 3 (Appendix III) เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแล้วขอความร่วมมือประเทศภาคี สมาชิกให้ช่วยดูแลการนำเข้า คือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด
     ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ต้องแสดงใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit) ใบอนุญาตส่งออก (Export Permit) หรือใบอนุญาตนำผ่าน (Transit Permit) ให้เจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสอบทุกครั้ง
"อนุสัญญาไซเตสไม่ได้มีผลควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ใดๆ ที่เป็นของท้องถิ่น"
     6. สัตว์ป่าอื่นๆ เป็นสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ตามข้อ 1-5 โดยกฎหมายดังกล่าวให้การคุ้มครองไว้ เช่น ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่า ในพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือชนิดที่ระบุไว้ในแต่ละพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นต้น

ชนิดปลาที่เป็นสัตว์ป่าซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย มี 4 ประเภทดังนี้
    
1. ปลาที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง มี 4 ชนิด ดังนี้
          1) ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
          2) ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
          3) ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
          4) ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
     2. ปลาที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ มี 2 ชนิด ดังนี้
          1) ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
          2) ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
    
3. ปลาที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดมี 13 ชนิด ดังนี้
          1) ปลาสเตอร์เจียนจมูกสั้น (Acipenser brevirostrum)
          2) ปลาสเตอร์เจียนแอตแลนติค (Acipenser oxythynchus)
          3) ปลาสเตอร์เจียน (Acipenser sturio)
          4) ปลาตะเพียนติดหินน้ำจืด (Chasmistes cujus)
          5) ปลาปอดออสเตรเลีย (ปลาโบราณ) (Neoceratodus forsteri)
          6) ปลาซีลาแคนท์ (ปลาโบราณ) (Latimeria chalumnae)
          7) ปลาตะเพียนตาบอดอาฟริกา (caecobabus geertsi)
          8) ปลายี่สก (Probabus jullieni)
          9) ปลาช่อนยักษ์, ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas)
          10) ปลาตะพัด, ปลาอโรวานา (Scleropages formosus)
          11) ปลาจวดแมคโดนัล (Cynoscion macdonaldi)
          12) ปลาฉลามปากเป็ด (Polyodon spathula)
          13) ปลาบึก (Pangasianodon gigas)
     4. ปลาที่อยู่ในบัญชีอนุสัญญา CITES
       ก. ปลาที่อยู่ในบัญชี 1 มีจำนวน 8 ชนิด
          1) ปลาสเตอร์เจียนจมูกสั้น (Acipenser brevirostrum)
          2) ปลาสเตอร์เจียน (Acipenser sturio)
          3) ปลาตะเพียนติดหินน้ำจืด (Chasmistes cujus)
          4) ปลาซีลาแคนท์ (ปลาโบราณ) (Latimeria chalumnae)
          5) ปลายี่สก (Probabus jullieni)
          6) ปลาตะพัด, ปลาอโรวานา (Scleropages formosus)
          7) ปลาจวดแมคโดนัล (Cynoscion macdonald)
          8) ปลาบึก (Pangasianodon gigas)
      ข. ปลาที่อยู่ในบัญชี 2 มีจำนวน 6 รายการ
          1) ปลาสเตอร์เจียนแอตแลนติค (Acipenser oxythynchus)
          2) ปลาปอดออสเตรเลีย (ปลาโบราณ) (Neoceratodus forsteri)
          3) ปลาช่อนยักษ์, ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas)
          4) ปลาตะเพียนตาบอดอาฟริกา (Caecobabus geertsi)
          5) ปลาฉลามปากเป็ด (Polyodon spathula)
          6) ปลาสเตอร์เจียนในอันดับ ACIPENSERIFORMES
หมายเหตุ ปลาที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดเป็นชนิดเดียวกับปลาที่อยู่ในบัญชีอนุสัญญา CITES

กิจกรรมที่กฎหมายควบคุม มีจำนวน 7 ประเภท ดังนี้
     1. การล่า
     2. การเพาะพันธุ์
     3. การครอบครอง
     4. การค้า
     5. การนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน
     6. การเคลื่อนย้าย
     7. สวนสัตว์สาธารณะ

แนวทางการตรวจสอบกิจกรรมที่กฎหมายควบคุม
     1. การตรวจสอบการล่า
     2. การตรวจสอบสถานที่เพาะพันธุ์
     3. การตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครอง
     4. การตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
     5. การตรวจสอบการค้า
     6. การตรวจสอบการนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน
     7. การตรวจสอบสวนสัตว์สาธารณะ

การตรวจสอบการล่า
     "ล่า"
หมายความว่า เก็บ ตัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของ และอยู่เป็นอิสระ และหมายความรวมถึงการไล่ การต้อน การเรียก หรือการล่อ เพื่อการกระทำดังกล่าวด้วย
ชนิดปลาที่ห้ามล่า
     1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
     2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
     3. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
     4. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
ข้อยกเว้น
     1. การกระทำของทางราชการเพื่อวิจัยทางวิชาการ การคุ้มครอง การเพาะพันธุ์ หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะ โดยต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงก่อน
     2. ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์หรือผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ ที่ให้ทางราชการกระทำการล่า เพื่อกิจการเพาะพันธุ์ หรือกิจการสวนสัตว์สาธารณะของตนและได้รับรับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงก่อนเช่นกัน
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
     มาตรา 7, มาตรา 16, มาตรา 26, มาตรา 47, และมาตรา 57

 

การตรวจสอบสถานที่เพาะพันธุ์
     "เพาะพันธุ์" หมายความว่า ขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่นำมาเลี้ยงไว้โดยวิธีผสมพันธุ์สัตว์ป่าและหมายความรวมถึงขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยวิธีผสมเทียม หรือการย้ายฝากตัวอ่อนด้วย
ชนิดปลาที่ห้ามเพาะพันธุ์
     1. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
     2. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
ชนิดปลาที่เพาะพันธุ์ได้
     1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
     2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
เอกสารที่ตรวจสอบ
     ใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า (สป.9)

 

เงื่อนไข
          1) ต้องดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาตามโครงการเพาะพันธุ์ที่ยื่นไว้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
          2) ต้องมีนักวิชาการด้านสัตว์น้ำ ควบคุมและดูแลรักษาปลา
          3) ดูแลปลาให้อยู่ในสภาพอันสมควรและปลอดภัย และเหมาะสมกับสถานที่
          4) จัดสถานที่ที่ใช้เลี้ยงดูปลาให้เหมาะสม มิให้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ แก่บุคคลที่อยู่ใกล้เคียง
          5) ต้องจัดทำบัญชีแสดงชนิดและจำพวกปลาที่มีอยู่ไว้ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ เพื่อให้พนักงานเจ้า  หน้าที่ตรวจสอบได้ และต้องยื่นบัญชีประจำปีให้ยื่นปีละสองครั้ง โดยยื่นในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม ของแต่ละปี
          6) กรณีผู้รับใบอนุญาตจะเพาะพันธุ์ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ เพิ่มเติมในระหว่างที่ดำเนินกิจการ ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งข้อมูลและจัดทำบัญชีของปลาดังกล่าว ก่อนที่จะดำเนินการเพาะพันธุ์
          7) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต รวมทั้ง ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ที่รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
          8) ต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
ข้อยกเว้น
     1. ผู้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ไม้ต้องแจ้งการครอบครองปลาที่มีไว้เพื่อการเพาะพันธุ์หรือปลาที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
     2. ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ สามารถเพาะพันธุ์ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองได้ทุกชนิด แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมงให้เพาะพันธุ์ปลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์แก่กิจการสวนสัตว์สาธารณะของตน
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
     มาตรา 18, มาตรา 19, มาตรา 26, มาตรา 47, และมาตรา 48

 

การตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครอง
ชนิดปลาที่ห้ามครอบครอง
     1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
     2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
     3. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis)
     4. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
ผู้มีสิทธิครอบครอง
     1. ผู้ครอบครองอยู่ก่อนที่วันที่ 9 มกราคม 2538 และมาแจ้งการครอบครองต่อกรมประมง ใน
ระหว่างวันที่16 มกราคม ถึงวันที่ 15 เมษายน 2538 ให้ตรวจสอบเอกสาร ดังนี้
          1) กรณีเป็นสัตว์น้ำมีชีวิต - ใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว (สป.2)
          2) กรณีเป็นสัตว์น้ำไม่มีชีวิต - ใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง (สป.3)
     2. ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า (สป.9) ดูการตรวจสอบสถานที่เพาะพันธุ์
     3. ผู้รับใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.15) ดูการตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
     4. ผู้รับใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.11) ดูการตรวจสอบการค้า
     5. ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ (สป.21) ดูการตรวจสอบสวนสัตว์สาธารณะ
     6. หน่วยราชการที่ทำการศึกษาและวิจัยทางวิชาการการคุ้มครองสัตว์ป่า หรือการเพาะพันธุ์
โดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง
เงื่อนไข
     1. ผู้รับใบอนุญาต สป.2 ต้องเลี้ยงดูปลาดังกล่าวไว้ในครอบครอง ในสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตและดูแลด้วยความเอาใจใส่ในสภาพอันสมควรและปลอดภัยตามชนิดของปลานั้น
     2. ผู้รับใบอนุญาต สป.3 ต้องเก็บรักษาซากของปลานั้นไว้ในสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบ รับรอง
กรณีผู้รับใบอนุญาต สป.2 หรือ สป.3 มีความจำเป็นต้องนำปลาหรือซากของปลาไปเก็บไว้
สถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต หรือใบรับรอง ต้องยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสถานที่เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงดำเนินการย้ายได้
     3. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนปลาแตกต่างไปจากจำนวนที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือใบรับรอง ผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 60 วัน
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
     มาตรา 19, มาตรา 26 และมาตรา 47

 

การตรวจสอบการครอบครองสัตว์น้ำคุ้มครองที่ได้มาจากเพาะพันธุ์
ชนิดปลาที่ครอบครองได้
     1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus) ที่ได้มาจากเพาะพันธุ์ของฟาร์มที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
     2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis) ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ของฟาร์มที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
เอกสารที่ตรวจสอบ
ใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.15)
เงื่อนไข
     1. ใบอนุญาตมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาตต้องดูแลปลาให้อยู่ในสภาพอันสมควรและ ปลอดภัย และเหมาะสมกับสถานที่
     2. ต้องจัดสถานที่ที่ใช้เลี้ยงปลาให้เหมาะสม มิให้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ แก่บุคคลที่อยู่ใกล้เคียง
     3. ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต รวมทั้งต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ที่รับอนุญาตให้ครอบครอง
     4. ต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
     5. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนปลาหรือซากปลาดังกล่าวไปจากจำนวนที่ได้รับอนุญาต ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
     มาตรา 19, และมาตรา 49

 

การตรวจสอบการค้า
     "ค้า" หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และหมายความรวมถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อขายด้วย
ชนิดปลาที่ห้ามค้า
     1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวานา (Scleropages formosus)
     2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis)
     3. ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว (Oreglanis siamensis)
     4. ปลาหมูอารีย์ (Botia sidthimunkii)
ชนิดปลา ซากของปลา หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากปลาดังกล่าวที่ค้าได้
     1. ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus) ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ของฟาร์มที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
     2. ปลาเสือตอ ปลาเสือหรือปลาลาด (Datnioides microlepis) ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ของฟาร์มที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์
เอกสารที่ตรวจสอบ
          1) ใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.11)
          2) บัญชีรับและจำหน่ายสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดตามแบบที่อธิบดีกรมประมงกำหนด โดยเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่รับหรือจำหน่ายสัตว์ป่า ซากหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
เงื่อนไข
          1) ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
          2) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต รวมทั้งต้องแสดงใบอนุญาตในที่เปิดเผย ณ สถานที่ที่รับอนุญาตให้ครอบครอง
          3) ต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
          4) ผู้รับอนุญาตต้องทำบัญชีรับและจำหน่ายสัตว์ป่าดังกล่าวโดยมีรายละเอียดตามแบบที่อธิบดีกรมประมง
          5) กำหนด โดยเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ใช้ดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่รับหรือจำหน่ายสัตว์ป่า ซากหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
          6) หากนำสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่เพื่อการค้าต้องได้รับใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า (สป.13) โดยมีอายุไม่เกิน 5 วันนับแต่วันออกใบอนุญาต
ข้อยกเว้น
ผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องขออนุญาตครอบครองปลาที่ได้รับอนุญาตให้ค้า
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 20, และมาตรา 47

 

มาตรการตรวจสอบการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน
     "นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
     "ส่งออก" หมายความว่า นำหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
     "นำผ่าน" หมายความว่า นำหรือส่งผ่านราชอาณาจักร
     พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ควบคุมการนำเข้าส่งออกหรือนำผ่านสัตว์ป่าจำพวกปลาและซากของปลาดังกล่าว จำนวน 4 ประเภท ดังนี้
          1) ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวน 4 ชนิด
          2) ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ จำนวน 2 ชนิด
          3) ปลาที่เป็นสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด จำนวน 13 ชนิด
          4) ปลาที่เป็นสัตว์ป่าในบัญชีของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ จำนวน 14 รายการ
(ดูชนิดปลาที่เป็นสัตว์ป่าซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย)
     โดยแบ่งการตรวจสอบการนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน ชนิดปลาออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
    
1. การตรวจสอบปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เอกสารที่ตรวจสอบ
          การนำผ่าน - ใบอนุญาตนำผ่าน (สป.6)
          การนำเข้าหรือส่งออก - ไม่สามารถกระทำได้
- ยกเว้น ดำเนินการโดยทางราชการซึ่งได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมง
    2. การตรวจสอบปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
        เอกสารที่ตรวจสอบ
           การนำผ่าน - ไม่ต้องขออนุญาต
           การนำเข้าหรือส่งออก - ใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออก (สป.5)
    
3. การตรวจสอบปลาที่เป็นสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณประกาศกำหนดและปลาที่เป็นสัตว์ป่าตามบัญชีของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์
        เอกสารที่ตรวจสอบ
          การนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน - ใบอนุญาตให้นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน (สป.5)
เงื่อนไข
          1) ผู้รับใบอนุญาต ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์ป่า
          2) ผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านตามที่ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จสิ้นภายในระยะเวลากำหนดไว้ในใบอนุญาต
          3) กรณีที่สัตว์ป่าที่นำเข้ามามีจำนวนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นเป็นกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ
          4) ใบอนุญาต 1 ฉบับ ใช้ขนส่งได้เพียงเที่ยวเดียว
          5) การขนส่งปลามีชีวิต จะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังมิให้เกิดอันตรายหรือเกิดการบาดเจ็บหรือเป็นการทารุณ
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
     มาตรา 23, มาตรา 24, มาตรา 26, มาตรา 28, มาตรา 47, มาตรา 48 และมาตรา 52

 

การตรวจสอบสวนสัตว์สาธารณะ
     "สวนสัตว์สาธารณะ"
หมายความว่า สถานที่ หรือบริเวณซึ่งรวบรวมสัตว์ป่าไว้ เพื่อประโยชน์แก่การพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา การค้นคว้า หรือวิจัยของประชาชนและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ป่า
ชนิดปลาที่ควบคุม
     ปลาที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวน 4 ชนิด รวมทั้งปลาชนิดอื่นด้วย
เอกสารที่ตรวจสอบ
     ใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ (สป.21)
เงื่อนไข
          1) ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ผู้มีอำนาจลงนามในใบอนุญาต การต่ออายุอาจจะแสดงไว้ในรายการท้ายใบอนุญาตหรือจะออกใบอนุญาตตามแบบเดิมให้ใหม่ก็ได้
          2) ต้องมีนักวิชาการด้านสัตว์น้ำ ประจำสวนสัตว์สาธารณะ
          3) จำนวนและขนาดของปลาต้องมีความเหมาะสมและสัมพันธ์กับขนาดของบ่อตู้ หรือสิ่งอื่นที่เป็นที่อยู่
          4) จัดสภาพสถานที่อยู่ของปลาให้มีความเหมาะสมและดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปกติได้โดยปกติสุขตามชนิดของปลานั้น
          5) ในกรณีที่มีการจัดให้มีการแสดงของปลา ต้องไม่เป็นการทรมานหรืออาจเป็นอันตรายต่อปลา
          6) จัดให้มีระบบป้องกันมลพิษตามมาตรฐานของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
          7) จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับประชาชนที่เข้าชมและที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงสวนสัตว์สาธารณะ
          8) ต้องยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่ระบุในใบอนุญาต โดยต้องอำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพะอาทิตย์ตก
          9) สวนสัตว์สาธารณะต้องมีสถานที่และบริเวณที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
          10) ต้องแสดงใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ
          11) ต้องจัดทำเครื่
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15736เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท