หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุงใหม่ (2)


มีเรื่องราวที่ต้องคิด ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนจะปรับปรุงหลักสูตร

ปีนี้การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานคงได้เดินหน้าเต็มสูบ ในฐานะที่มีส่วนที่ต้องมาเกี่ยวข้องในการดำเนินการ มีความคิดเห็นบางประการที่คิดว่า อาจจะต้องถอยหลังกลับไปมอง แบบ "ถ้าไม่รู้จักย่อเข่า จะกระโดดให้สูงให้อย่างไร" ดังนี้

  • หน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาของเรา แบ่งแท่งแบ่งตอนจนไม่เห็นความเป็นทั้งหมด(Wholeness) จึงเป็นว่าฝ่ายที่ทำเอกสารหลักสูตรก็ทำไป ฝ่ายทำตำราก็ทำไป ฝ่ายผลิตสื่อก็ทำไป ฝ่ายอบรมครูก็ทำไป จนเราอาจลืมไปว่า ปลายทางสุดท้ายก็ครูหนึ่งคนกับเด็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ถ้าไปมีคนเข้าไปช่วยครูบูรณาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน การใช้หลักสูตรมันก็เห็นผลได้ยาก ต้องมีคนเข้ามาทำงานตรงนี้ให้มากขึ้น
  • คนที่ทำงานด้านการศึกษาต้องนึกภาพของชั้นเรียนออก การทำงานจึงไม่อยู่เพียงแต่ด้าน top down แต่ต้อง bottom up ข้อมูลมาจากชั้นเรียนด้วย ดังนั้นเป็นไปได้ไหมว่าคนทำงานทางการศึกษา ต้องได้มีโอกาสไปนั่งดูชั้นเรียน ได้สัมผัสบรรยากาศของโรงเรียนเป็นระยะ หรือถ้าเติบโตมาจากการเริ่มเป็นครูมาก่อนแบบในบางประเทศก็จะยิ่งดีมาก
  • ส่วนที่จะขยับหลักสูตรได้ดีอีกระดับหนึ่งคือ การให้ความสำคัญกับแบบเรียนมากขึ้น ถ้ามีการออกแบบกระบวนการเพื่อให้นักเรียนได้มโทศน์สำคัญของสาระการเรียนรู้เป็นอย่างดีแล้ว แบบเรียนอย่างนี้ก็จะช่วยครูในแง่ของการใช้หลักสูตรได้มากขึ้น ในญี่ปุ่นมีอาจารย์มหาวิทยาลัยอุทิศตัวเพื่อไปอยู่กับโรงเรียน สร้างแบบเรียนลักษณะที่มาจากข้อมูลในชั้นเรียน และอาจารย์แบบนี้เขาได้รับการยกย่องเป็นถึงศาสตราจารย์ทีเดียว ไม่รู้ว่าสำหรับเมืองไทยจะเป็นความฝันไหม
  • ความรู้เรื่อง "หลักสูตร" เห็นทีต้องกลับมาทบทวนกันก่อนที่จะก้าวต่อ ถ้ามองหลักสูตรเพียงแค่เป็นตัวเอกสาร หรือเป็นองค์ประกอบในหลักสูตร อันนี้อยู่ในขั้นอันตราย สถานบันอุดมศึกษาต่าง ๆ น่ามาช่วยกันทำความรู้ด้านหลักสูตรให้เข้มแข็งขึ้นกว่านี้จะดีไหม  

การศึกษาชั้นเรียน เป็นวิธีการที่ช่วยให้บรรดานักวิชาการได้เข้าใจสภาพของชั้นเรียน และการจัดการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้แต่ฝ่ายสามารถทำงานบนพื้นฐานข้อมูลความเป็นจริงได้

การศึกษาชั้นเรียน เป็นการทำงานเล็ก ๆ แต่เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ เขามีสำนวนว่า มดสามารถกินช้างได้ (An ant can eat elephant)

หมายเลขบันทึก: 156998เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2008 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท