ปาล์มน้ำมัน


พืชนำมันบนดิน ผลงานวิชการเป็นพืชที่ไม่เหมาะสมปลูกในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร

ปาล์มพืชน้ำมันบนดิน          ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่น่าสนใจมากชนิดหนึ่งเพราะปัจจุบันราคาน้ำมันสูงปาล์มสามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล ใช้กับเครื่องยนต์ทดแทนน้ำมันได้   ดิฉันไม่ได้มีความรู้ในเรื่องการปลูกปาล์มเพียงแต่ทราบว่า ปาล์มปลูกและให้ผลผลิตดีในภาคใต้

              ที่นำมาเขียนถึงเพราะมีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรนำปาล์มมาปลูกในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรจากภาคใต้ที่มาซื้อที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร  และขณะนี้มีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรได้ปรับเปลี่ยนตาม  ในขณะนี้ปาล์มในจังหวัดกำแพงเพชรมีพื้นที่ปลูกประมาณ  1,000 ไร่  ผลงานทางวิชาการจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเขตไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน

          

               คุณศักดิ์ชัย และคุณตฤณสร   สัมทับ อยู่บ้านเลขที่21  หมู่ที่ 12 บ้านดาดเจริญ ตำบลอ่างทอง  อ.เมือง  จ.กำแพงเพชร  จบปริญญาตรีและเคยทำงานบริษัทญี่ปุ่น บริษัทน้ำมัน  เป็นสื่อมวลชน  และเอ็นจีโอ  ได้ออกมาทำการเกษตรปลูกพืชหลากหลายชนิด ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่คุณศักดิ์ชัย และคุณตฤณสร ได้ให้ความสนใจปลูกในพื้นที่ 30 ไร่ ปัจจุบันปาล์มมีอายุ 1-3 ปี  ปาล์มที่มีอายุ 3 ปีให้ผลผลิตแล้ว  

        

         ในการปลูกปาล์ม คุณศักดิ์ชัย และคุณตฤณสรว่าการปลูกในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรต้องให้น้ำช่วย เพราะปาล์มเป็นพืชที่ต้องการปริมาณน้ำฝนมาก ความชื้นในอากาศสูง  และจังหวัดกำแพงเพชรมีอุณหภูมิสูงในฤดูร้อนและอากาศเย็นในฤดูหนาวเป็นสภาพที่อุณหภมิไม่ค่อยเหมาะสม   พันธุ์ปาล์มที่นำมาปลูกใช้เทเนอรา    การปลูกปาล์มในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรจึงเป็นการศึกษาหาความรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาอย่างน้อยอีก  5 ปีว่าผลผลิตทีได้จะคุ้มค่าหรือไม่  สำหรับการเจริญเติบโตทางต้นถือว่าต้นปาล์มเจริญเติบโตดีพอสมควร  

           

                                 

         ผลงานทางวิชาการกับทดลองทำจริงอาจจะได้คำตอบที่เหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้แต่มีการทดลองได้ปฏิบัติจริงจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดแต่การปลูกปาล์มครั้งนี้คงต้องอาศัยระยะเวลานานหลายปี    ขอเชิญทุกท่านแลกเปลี่ยนความรู้เละร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ

หมายเลขบันทึก: 156972เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2008 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

lสวัสดีครับ  น้องจันทร์ฉาย

  • ปาล์มน้ำมัน มีปัจจัยเกื้อหนุนหลายอย่าง
  • ที่สำคัญคือปริมาณน้ำฝน  อุณหภูมิ และพันธุ์
  • ถ้าต้องใช้น้ำช่วย ผมว่าจะไม่คุ้มทุนนะถ้าต้องใช้น้ำมัน

ขอบคุณมาก

สวัสดีค่ะ

            คุณเกษตรยะลา   ขอบคุณมากค่ะที่ร่วมแสดงความคิดเห็น   เท่าที่ทราบปาล์มที่ปลูกในภาคใต้ที่มีปริมาณน้า ฝนและอากาศเหมาะสม  บางสวนยังให้ผลผลิตไม่สมำเสมอบางปีก็ให้ผลดีบางปีก็ไม่คุ้มค่า แต่เกษตรกรเขาก็อยากทดลองทำให้รู้ด้วยตัวเขาเอง

เราก็คงได้แค่ให้คำแนะนำและชี้แนะเท่านั้นค่ะ

อยากทรายว่าในอำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่สามารถเพาะปลูกต้นปาล์มได้หรือไม่ ค่ะ

การให้ผลผลิตจะมีความแตกต่างจากภาคอื่นมากน้อยเพียงใด (ระยะเวลาที่ให้ผลผลิต)

พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงเป็นพันธุ์ใด

ผลผลิตเราสามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายที่ใดได้บ้างค่ะ ใช้พื้นที่ในการปลูกจำนวนกี่ไร่ถึงจะนำผลิตไปจำหน่ายได้

มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ .. แต่ต้นก็งามดีนะคะ

อย่างน้อยที่สุด เป็นการลองผิดลองถูกเพื่อเรียนรู้ค่ะ

เพราะจากที่สอบถามเกษตรกรหลายท่าน นะคะ

กว่าแต่ละท่านจะค้นพบพืชที่เหมาะสม ก็หลายอยู่ค่ะ

... ขอบคุณค่ะ

“ปาล์มน้ำมัน ไม่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ”

ข้อมูลที่สนับสนุนหัวข้อนี้ คือ ผลการทดลองนำปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ที่รัฐสนับสนุน และ ของเอกชน ที่ผลิตและจำหน่ายทั่วไปที่ออกมาภายหลัง พบว่า ไม่มีผลผลิตทลายปาล์ม ส่วนที่ออกผลบ้างก็มีขนาดผลเล็กและทลายมีขนาดเล็ก ไม่คุ้มค่าในการแปรรูปผลผลิตในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะอ้างอิงได้จากหลายแหล่ง แต่ที่ชัดเจนมากคือ กรณีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขอนแก่น ที่ยืนยันว่า ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ที่รัฐสนับสนุนในชื่อ พันธุ์สุราษฎร์ ไม่ออกผลในแปลงทดลองที่ทางมหาวิทยาลัยรับผิดชอบดูแลอยู่ และในส่วนของเอกชนรายหนึ่งที่ถูกซื้อสายพันธุ์ปาล์มโดยบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่คุมการเกษตรของประเทศ เมื่อทำการทดลองปลูกในพื้นที่จังหวัด นครพนม ในที่ดินของเอกชนอดีตสมาชิกสภาจังหวัดนครพนม พบว่า ไม่ให้ผลผลิต และสำหรับพันธุ์ที่ไม่ทราบที่มาที่เกาะกระแสโหมประชาสัมพันธ์โดยรัฐให้เกษตรหันมาปลูกปาล์ม โดยแลกเปลี่ยนกับเงินกู้จากธนาคารเพื่อนการเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การแนะนำสนับสนุนทางวิชาการจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเรื่องการควบคุมดูแลปาล์มน้ำมันของประเทศไทย เป็นช่องว่างให้เกิดการนำต้นกล้าปาล์มที่ไม่มีที่มาชัดเจน เข้าสู่ตลาดการจำหน่ายต้นกล้า และในส่วนเมล็ดก็อาศัยการแอบอ้างชื่อสายพันธุ์ต่างๆ

แต่ทั้งนี้เกษตรกรที่ไม่เคยได้รับองค์ความรู้ใดๆ เกินกว่าที่รัฐและเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตรบอกกล่าว ต้องถูกหลอกให้ซื้อต้นกล้าและลงทุนอย่างไร้ทิศทาง เสียเงิน เสียเวลา ปุ๋ย ยา การดูแลเอาใจใส่ ซึ่งรวมแล้วเป็นต้นทุนมหาศาล และผลตอบแทนคือ ปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ไม่ได้ผลผลิต มีแต่ต้นกับใบปาล์ม จนมีชื่อเรียกในหมู่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันผู้สูญเสียว่า “ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดูใบ” เพราะมีแต่ใบให้ดูไม่มีผลผลิตทลายปาล์ม

เมื่อพิจารณาว่า สาเหตุอะไรที่ทำให้ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลายเป็น ปาล์มน้ำมันพันธ์ดูใบ ก็พบว่า เหตุผลทางวิชาการมักจะกล่าวถึง ความต้องการพื้นฐานของต้นปาล์มน้ำมัน ซึ่งมักจะกล่าวว่า น้ำต้องดี ปุ๋ยต้องถึง ความร้อนความชื้นของอากาศ ต้องพอเหมาะ บ้างก็ว่าเพราะการดูแลเอาใจใส่ไม่เพียงพอ นี่คือเหตุผลทางวิชาการทั่วๆไป ที่พยายามให้ข้อมูลสรุปว่า พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีความเหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากน้ำไม่เพียงพอ อากาศร้อนจัด ความชื้นไม่เพียงพอ และสภาพดินไม่ดีพอ และเช่นเดียวกับภาคเหนือ แต่ด้วยเหตุผลเพิ่มเติมคือ อากาศหนาวเย็นเกินไป

แต่สำหรับนักวิชาการที่รู้จริงและมากประสบการณ์ จะตอบอีกอย่างว่า ต้นเหตุที่ทำให้ปลูกปาล์มน้ำมันไม่ได้ ปัจจัยแวดล้อมอย่าง ปริมาณน้ำ ความชื้น ความร้อน ความหนาวเย็น สภาพดิน ฯลฯ เป็นเรื่องรอง เพราะสิ่งสำคัญอันดับแรกสุด คือ “สายพันธุ์ปาล์ม”

http://cospat.com/colume_part1.html

ข้อคำแนะนำด้วยค่ะ.

- จะเช็คได้อย่างไร ว่าดินเหมาะสมกับการปลูกปาล์ม หรือต้องนำดินไปตรวจเช็คทีใหนค่ะ. - วิธีคัดเลือกสายพันธุ์เอาอะไรมาเป็นมาตรฐานในการเลือก - จะหาข้อมูลเรื่องปาล์มจากที่ใหนค่ะ. ขอบคุณมากค่ะ 

 

โรงหีบปาล์มดิบลงทุนเพียง 10,000 บาทสามารถเป็นเจ้าของตลอดชีวิตครับ 1 % กำลังผลิต 15,000 (ลงแบบจำกัดปริมาณ) ลองศึกษาดู สนใจติดต่อ คุณศุภกร เพียรผล เพื่อประชุม เบอร์โทร 0869666770 Mail:[email protected]

แผนธุรกิจ

โรงงานผลิตน้ำมัน ปาล์มดิบ

1. บทสรุป

น้ำมันปาล์ม Palm oil สกัดจากปาล์มน้ำมัน ได้ปริมาณน้ำมัน 0.6 - 0.8 ตัน/ไร่/ปี สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร และใช้เป็นน้ำมันพืชในการปรุงอาหารเนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูง ไม่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง น้ำมันปาล์มมีราคาต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ตลอดจนปาล์มน้ำมันปลอดจากสารตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) สามารถผลิตได้เองในประเทศภาคใต้ และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่สามจังหวัดชายแดนภาค ใต้ ปี 2547 - 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง และป่าพรุ โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่อง แจกสายพันธุ์ และปุ๋ย ให้ฟรี ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 10 ล้านไร่ ภายในปี 2572 ภายใต้วิสัยทัศน์ การเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มเคียงคู่ผู้นำในระดับโลก ที่สำคัญคือ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีพื้นที่ปลูกที่ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 37 ล้านไร่ มีส่วนแบ่งการตลาดน้ำมันร้อยละ 48 ของตลาดน้ำมันโลก (น้ำมันพืชและสัตว์)

2. ภาพรวม

บริษัท ครูด ปาล์ม ออยล์ จำกัด ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการหีบน้ำมันปาล์มดิบขนาดกำลังผลิตวันละไม่เกิน 15,000.00 ลิตร ใช้เงินทุนเริ่มต้นดำเนินงานเป็นจำนวนเงิน 5,000,000.00 บาท ด้วยการบูรณาการนวัตกรรม จากภาคีนักวิชาการ เจ้าของผลงาน การศึกษา งานวิจัย การพัฒนา ผู้ชำนาญการด้านพลังงาน, ปาล์มน้ำมัน, เครื่องจักร, การส่งเสริมการตลาด, และทรัพย์ยากรมนุษย์ เพื่อทำการหีบ น้ำมันปาล์มดิบ ด้วยเทคโนโลยีที่ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสียและสิ่งที่รบกวนสภาพแวดล้อม ส่งต่อให้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุโภค-บริโภค ต่อไป ทำให้ในพื้นที่ส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันมีโรงงานเสริมการผลิตจากโรงหีบน้ำมันปาล์มดิบขนาดใหญ่ ได้ทำการวิเคราะห์แหล่งปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดนราธิวาส อำเภอเจาะไอร้อง ตำบลปีเหล็ง ซึ่งพื้นที่ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราตามหลักวิชาการ กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร เพื่อพัฒนาปาล์มน้ำมันไทยให้ทันสมัยในระดับโลก ทั้งรูปแบบสินค้า เครื่องจักร อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ให้มีความแตกต่าง แปลกใหม่ทันสมัย เคียงคู่ไปกับผู้นำในระดับโลกโดยเฉพาะประเทศมาเลย์เซีย และอินโดนีเซีย ทั้งยังเป็นการขยายโอกาสให้กับเกษตรกรชาวสวนปาล์มได้อย่างดียิ่งขึ้นด้วย มีผู้ร่วมงานดังต่อไปนี้

1.คุณ................................................................

2. คุณ...............................................................

3. คุณ...............................................................

พันธกิจ (Mission) ครั้งสำคัญเคียงคู่ผู้นำ พลังงานใสสะอาด ปราศจากปัญหาโลกร้อน เพื่อประกอบธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มดิบร่วมกัน

3. การวิเคราะห์สถานการณ์

ในอดีตประเทศไทยมีปาล์มน้ำมันอยู่บางพื้นที่ ปัจจุบันทุกภาคส่วนส่งเสริมให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อแก้ปัญหาพลังงาน สินค้าอุปโภคเพื่อยกระดับสู่การเป็นผู้ผลิต และผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มเคียงคู่ผู้นำในระดับโลกที่สำคัญคือ มาเลย์เซีย และอินโดนีเซีย

3.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (Internal situation)

บริษัท ครูด ปาล์ม ออยล์ จำกัด เป็นแหล่งรวบรวมภาคีนักวิชาการ เจ้าของผลงานการศึกษา งานวิจัย งานพัฒนาความชำนาญทางด้านพลังงาน ปาล์มน้ำมัน เครื่องจักร ส่งเสริมการตลาด ทรัพย์ยากรมนุษย์ เพื่อสร้างความมั่นคงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนโดยทั่วไป

จุดแข็ง (Strengths)

1. ภาคีเป็นนักวิชาการ เจ้าของผลงานการศึกษา งานวิจัย พัฒนาชำนาญการ ทางด้านพลังงาน ปาล์มน้ำมัน เครื่องจักร ส่งเสริมการตลาด ทรัพย์ยากรมนุษย์โดยตรง

2. มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของงานแต่ละส่วน ได้อย่างชัดเจน

3. ภาคีเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาด้วยองค์ความรู้คุณูปการในประเทศ ไทย และต่างประเทศ

4. มีฐานลูกค้าด้านพลังงาน ซึ่งมีความต้องการอยู่เสมอ

5. ใช้ทุนดำเนินการเป็นของตนเองทั้งหมด

6. เป็นผู้ผลิตนวัตกรรมเทคโนโลยี

จุดอ่อน (Weaknesses)

1. ปาล์มน้ำมันในประเทศยังเป็นต้นแบบพืชเศรษฐกิจสำคัญในปัจจุบัน

2. ภาษาที่ใช้ในพื้นที่เป็นภาษา มลายู

3. วัตถุดิบในพื้น 3 จังหวัดชายแดนใต้มีเพียง 1 แสนไร่

4. การสั่งซื้อวัตถุดิบ ยังไม่ได้รับเครดิตจากผู้ขาย จะต้องจ่ายเงินสดทุกครั้ง ทำให้ขาดสภาพคล่องในเงินสดหมุนเวียน (Working capital)

3.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (External situation)

โอกาส (Opportunities)

1. เป็นบริษัทเอกชนกลุ่มแรกในจังหวัดนราธิวาส ที่ทำธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มดิบในพื้นที่ส่งเสริมให้มีการ ปลูกปาล์มในพื้นที่ป่าพรุ และนาร้าง จำนวน 1 แสนไร่

2. ใกล้ประเทศผู้นำด้านปาล์มน้ำมัน มาเลย์เซีย และเขตการค้าเสรี (AFTA)

3. คู่แข่งขันในธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มดิบยังมีไม่มาก ทำให้ยังมีส่วนแบ่งตลาดในการทำธุรกิจได้ไม่ยาก

4. ราคาผลผลิตในพื้นที่มีราคาถูก

5. ปัจจุบันรัฐบาล ให้การส่งเสริมในธุรกิจ SME’s เมื่อจะขยายกิจการสามารถขอการสนับสนุน จากสถาบันการเงินของรัฐได้ง่ายกว่าในอดีต

อุปสรรค (Threats)

1. มีคู่แข่งขันใหม่เพิ่มขึ้นตลอด เวลา

2. ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี มีผลกระทบต่อยอดขายกำไร

3. ส่วนใหญ่เกษตรกรปลูกปาล์ม เพราะต้องการที่ทำกินอย่างเดียวไม่เห็นความสำคัญของปาล์มที่ปลูกทำให้ขาดวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ

4. ในการขนส่งจะต้องจ้างบุคลากรภายนอกเป็นผู้ดำเนินการ

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายธุรกิจ

4.1 วัตถุประสงค์

1. เป็นโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มดิบขนาดย่อมพิเศษ Super Small and Medium Enterprises (SSME s’)

2. สร้างเครือข่ายในลักษณะถ่ายทอดความสำเร็จ

3. เป็นผู้นำในด้านการศึกษา งานวิจัย พัฒนาทางด้านพลังงาน ปาล์มน้ำมัน เครื่องจักร ส่งเสริมการตลาด และพัฒนาทรัพย์ยากรมนุษย์

4.2 เป้าหมาย

1. ยอดขายต่อปี 10,500,000.00 บาท และเพิ่มขึ้น 20 % ในปีต่อๆไป

2. ขยายตลาดช่องทางการจัดจำหน่าย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาให้บริการผ่านทาง Internet โดเมนแนม www.cpo.co.th ภายในระยะเวลา 2 ปี

3. ขยายกิจการไปในภาคใต้ตอนบน ภาคตะวันออก และภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีการส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมัน วัตถุประสงค์เพื่อเป็นซัพพลายเออร์ขนาดย่อมพิเศษ Super Small and Medium Enterprises ของโรงกลั่นน้ำมันดีเซลแบบครบวงจร และช่วยเหลือเกษตรกร ภายในระยะเวลา 3 ปี

4. สร้างเครือข่ายบริการทั่วประเทศ โดยการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันตามสายพันธ์ที่กรมส่งเสริมวิชาการ การเกษตร กระทรวงเกษตร กำหนด ให้สินเชื่อเกษตรกร การประกันราคาซื้อผลผลิต และโรงกลั่นน้ำมันปาล์มดิบแบบครบวงจร

5. แผนการตลาด

บริษัท ครูด ปาล์ม ออยล์ เลือกลูกค้าภายในประเทศไทยเป็นหลัก เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพระดับสูง มีสภาพคล่องทางการเงินสามารถให้ผลตอบแทนกับคู่ค้าในระยะ ยาว

5.1 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Customer Groups)

ในปัจจุบันกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นิยมลงทุนในหุ้นกู้ บุริมสิทธิ์ ระยะสั้น มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน กลุ่มอุตสาหกรรมโอลิโอเคมิคอล กลุ่มนักลงทุนชาวต่างชาติ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 บุคคลธรรมดา

1. กลุ่มบุคคลทั่วไป เช่น พ่อค้าคนกลาง ตัวแทนที่สั่งซื้อสินค้าตามใบสั่งซื้อ และปริมาณการสั่งซื้อจำกัด

2. กลุ่มภาคีหลักจากโรงงานผลิต หุ้นสามัญ หุ้นกู้บุริมสิทธิ์ ระยะสั้น 3 – 12 เดือนซึ่งถือหุ้นเพื่อเป็นผู้ขายวัตถุดิบหลัก

กลุ่มที่ 2 นิติบุคคล

1. โรงกลั่นน้ำมันไบโอดีเซลแบบครบวงจรมาตรฐานอเมริกา

2. อุตสาหกรรมโอลิโอเคมิคอล

5.2 สิ่งที่ลูกค้าต้องการ (Customer needs)

น้ำมันปาล์มที่ผลิตเป็นน้ำมันปาล์มดิบคุณภาพดี ทำให้ลูกค้าสามารถประหยัด เวลา และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบได้เป็นอย่างดี ส่งผลในด้านการสร้างความประทับใจต่อลูกค้าเป็นอย่างสูง ก่อให้เกิดการสื่อต่อไปยังลูกค้ากลุ่มอื่น เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด โดยใช้คุณภาพเป็นสื่อกลางซึ่งสร้างความเชื่อถือต่อลูกค้าได้เป็นอย่างดี

5.3 ประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ (Customer Benefits)

5.3.1. ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ

5.3.2. ความสะดวกสบายในการส่งสินค้า และบริการรวดเร็ว

5.3.3. ราคายุติธรรมเหมาะสมกับคุณภาพ และชนิดของสินค้าที่ได้จัดส่ง

5.4 ความสะดวกต่อลูกค้า (Customer convenience)

5.4.1. สามารถสั่งซื้อทางโทรศัพท์หรือทาง Internet

5.4.2. การชำระค่าสินค้าสามารถชำระได้โดยทาง Internet โดยผ่านธนาคารกสิกรไทยออนไลท์ K – Cyber Banking บันทึกหมายเลขบัตรเครดิตVisa และMaster card ของธนาคารต่าง ๆ

5.4.3.โอนผ่านทางธนาคารตามที่ระบุไว้ หรือชำระด้วยบัตรเครดิต Visa, Master card และ American Express ภายในร้านที่ให้บริการเคาท์เตอร์เซอร์วิส

5.5 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของลูกค้า (Customer communication)

1. หาข้อมูลได้จากทาง Internet ที่ http://www.cpo.co.th

2. จัดส่ง Hand bill ไปให้ลูกค้าประจำและกลุ่มลูกค้าใหม่ตามบัญชีรายชื่อ หรือสมุดรายนามผู้ประกอบการ

3. เข้าร่วมกิจกรรมที่ทางภาครัฐกำหนด

5.6 ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix)

5.6.1. ผลิตภัณฑ์ (Product) น้ำมันปาล์ม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. น้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil) สกัดได้จากเปลือกสดของผลปาล์มน้ำมัน เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมด้านอาหาร - น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม ประมาณ80% นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น น้ำมันทอด น้ำมันปรุงอาหาร มาการีน วานาสปาติ ไอศครีม ครีมเทียม นมเทียม เนยขาว เนยโกโก้ ขนมเค้ก ขนมปัง ฯลฯ รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เช่น วิตามินอี วิตามินเอ

2. น้ำมันเมล็ดในปาล์ม (Crude Palm Kernel Oil) สกัดได้จากเมล็ดในของผลปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมโอลิโอเคมิคอล - น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม ประมาณ 20% นำไปใช้ประโยชน์ในการผลิต สินค้าอุปโภค โดยผ่านกระบวนการทางเคมี ดังนี้

การผลิตกรดไขมันประเภท ต่างๆ ทั้งกรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัว เพื่อ นำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น

* กรดลอริก ใช้ทำเป็นเรซินในอุตสาหกรรมสี

* กรดปาล์มมิติก ใช้ในการเลี้ยงเชื้อราเพื่อสกัดเป็นยาปฏิชีวะนะ ผสมกับกรดสเตียติคเพื่อทำเทียนไข

* กรดโอเลอิก ใช้ในอุสาหกรรมสิ่งทอ

* กรดสเตียริก ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง สบู่เด็ก ผสมกับกรดปาล์มมิติกเพื่อทำเทียนไข

* กรดลิโนเลอิก ใช้เป็นยาฉีดสำหรับลดไขมันในเส้นเลือด

การผลิตเมทธิลเอสเทอร์ เป็นสารที่ได้จากการทำปฏิกิริยาเคมี ระหว่างน้ำมันปาล์ม และเมธิลอัลกอฮอล์ โดยใช้โซเดียม ไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟเป็นสารเร่งปฏิกิริยา และมีผลพลอยได้ที่สำคัญและมีมูลค่าสูงคือ กลีเซอรอล เมทธิลเอสเทอร์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งในด้านพลังงาน (ไบโอดีเซล) หรือใช้เป็นสารสำหรับผลิตอนุพันธ์ของกรดไขมันประเภทต่างๆ

* Fatty Alcohol ใช้ประโยชน์ในการผลิต Sodium Alkyl Sulphates และ Surfactant ที่ใช้ผลิตผงซักฟอก

* Fatty Acid Amides มีคุณสมบัติช่วยกันน้ำ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตกระดาษ ไม้อัด โลหะ ยางฯ

* Fatty Amines ที่มีความสำคัญนิยมใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตพลาสติก น้ำมันหล่อลื่น สารควบคุมเชื้อราและ แบคทีเรียฯ

2. ราคา (Price)

2.1 ปัจจัยในการตั้งราคา ยึดถือตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2.1.1 ต้นทุน ประกอบด้วย

- ต้นทุนคงที่

- ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย

- ราคาขายต่อหน่วย

ต้นทุนคงที่ประกอบด้วย

ที่ดินเปล่าเนื้อที่ 5 ไร่ 225,000. – คิด 5 ปี เฉลี่ยเดือนละ 3,750.-บาท

โรงเรือนขนาด 150 ตารางเมตร มูลค่า 225,000. - ค่าเสื่อม 5 ปี เฉลี่ยเดือนละ 3,750.-บาท

เครื่องจักร มูลค่า 2,400,000 บาท คิดค่าเสื่อม 5 ปี เฉลี่ยเดือนละ 40,000.-บาท

ครุภัณฑ์ 150,000. – เฉลี่ยค่าเสื่อมเดือนละ 2,500. - บาท

เงินเดือนผู้จัดการ เดือนละ 22,500.-บาท

เงินเดือนช่างทั่วไป 2 คนๆละ 10,000. – บาท

เงินเดือนคนงาน 2 คนๆละ 6,000. – บาท

ค่าโทรศัพท์ เฉลี่ยเดือนละ 800.-บาท

ค่าทำโบรชัวร์ จำนวน 10,000 บาท ตัดจ่ายภายใน 1 ปี เฉลี่ยเดือนละ 1,000. - บาท

รวมต้นทุนคงที่ต่อเดือน 3,750 + 3,750 + 40,000 + 2,500 + 22,500 + 20,000 + 12,000 + 800 + 834 = 106,134. - หากผลิตเดือนละไม่ต่ำกว่า 255,000 ลิตร ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยลิตรละ 0.42 บาท

ต้นทุนแปรผันประกอบด้วย

ผลิตน้ำมันปาล์มดิบวันละ 15,000 ลิตร

วัสดุ-อุปกรณ์การซ่อมบำรุง 4,500.-บาท (15,000 x 0.30 = 4,500. - บาท ต่อวัน)

ค่าผลปาล์มน้ำมันร่วง 45,000 กิโลกรัม 270,000.-บาท (45,000 x 6.00 = 270,000. - บาท ต่อวัน)

ค่าโสหุ้ยการผลิต (น้ำ ไฟฟ้า ฟื้น) 2,250.-บาท (15,000 x 0.15 = 2,250. - บาท ต่อวัน)

ค่าขนส่งวันละ 10,000. – บาท เฉลี่ย ลิตรละ 0.67 บาท

ค่าจัดส่งตัวอย่างน้ำมันปาล์มดิบแต่ ละครั้ง 450. - บาท

ต้นทุนแปลผันต่อลิตร [0.30 + (6.00x3) + 0.15 + 0.05 + 0.67 + .03] = 19.20

คำนวณต้นทุนการผลิตต่อลิตร 19.20 + 0.42 = 19.62 บาท

หักค่าวัตถุดิบ 19.62 – 18.00 = 1.62. – บาท

เฉลี่ยผลิต CPO ปีละ 3,000,000 ลิตร กำไรก่อนหักภาษี 3,000,000 x [23-19.62] = 10,140,000. – บาท

ก่อตั้งกิจการให้ได้ 10 แห่ง สร้างรายได้ปีละ 100 ล้าน

รับอาสาสมัคร กิจการละ 99 คน ลงทุนคนละ 50,000. – ผ่อนต้น + ดอกเบี้ย เดือนละ1,000.- บาท 60 งวด

หรือ ลงทุนคนละ 10,000 บาทเพื่อมีกิจการเพียง 1 กิจการและขอรับเงินปันผล100 % หรือ ขอรับปันผล 25%เพื่อรับเงินปันผลตามกิจการที่เพิ่มมากขึ้นสึ้นสุดที่ 10 กิจการในเดือนที่ 3-6 มีค่าเทียบเท่ากับ จ่าย 1,000 บาท 60 เดือน เช่นกันครับ

ทำพร้อมกัน 10 กิจการ ต้องการอาสาสมัคร 999 คน นำรายได้ 100 ล้านต่อเดือน ไปสร้างกิจการด้วยมูลค่าการลงทุน 3,000 ล้าน เพื่อสร้างผลกำไรเป้าหมายปีละ 33% หรือ 1,000 ล้าน

ความภูมิใจสูงสุดคือได้มีโอกาสช่วยให้คนจำนวนมหาศาลได้ยกฐานะและมีโอกาสสร้างแต่กรรมดี ได้ใช้ชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่ต้องกังวลใจ และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์สืบไป

2.1.2 สถานที่ที่ตั้ง ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส อ.เจาะไอร้อง ต.ปีเหล็ง บริเวณพื้นที่ส่งเสริมการปลูกปาล์มในโครงการปลูกปาล์มในพื้นที่ ป่าพรุ และนาร้าง จำนวน 1 แสนไร่

2.1.3 คู่แข่งขันในธุรกิจโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มดิบด้วยกัน ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอบาเจาะห่างจาก อ.เจาะไอร้องระยะทาง 50 กม. ซึ่งจะเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในการกำหนดราคา

2.2 โครงสร้างราคา

ยึดถือตามประกาศคณะกรรมการกลาง ว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

3. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)

ธุรกิจโรงหีบน้ำมันปาล์มดิบสามารถ แบ่งการจัดจำหน่ายได้เป็น 2 ช่องทางใหญ่ คือ

1. การจัดจำหน่ายในระบบตลาดธรรมชาติ ฐานข้อมูลเก่า โรงกลั่นน้ำมันไบโอดีเซล ครบวงจร ต่างประเทศ

2. การจัดจำหน่ายผ่านทาง Internet เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่ต้นทุนต่ำและสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ได้มากขึ้น ตามจำนวนผู้ใช้บริการทาง Internet

วิธีการชำระเงิน ลูกค้าสามารถเลือกชำระค่าสินค้าได้ 2 วิธี คือ

1. ชำระด้วยเงินสด โดยชำระเป็นเงินสดหรือการโอนผ่านธนาคารตามที่ได้ระบุไว้

2. ชำระผ่านบัตรเครดิต เช่น บัตรวีซ่า บัตรมาสเตอร์การ์ด และบัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรส ฯลฯ

4. การส่งเสริมการขาย (Promotion)

บริษัท ครูด ปาล์ม ออยล์ มีการส่งเสริมการตลาด ดังนี้

1. โฆษณาหน้าร้านผ่าน http://www.cpo.co.th

2. ป้ายโฆษณา ณ สำนักงานใหญ่

3. Hand bill หรือโบรชัวร์แผ่นพับและเอกสารอื่น ๆ แจก นิคมอุตสหกรรม ท่าเรือ

4. มอบสิทธิพิเศษ ให้กับลูกค้า ตามโควตาน้ำมันปาล์มดิบ ของบริษัท ครูด ปาล์ม ออยล์ จำกัด

5. ขายหุ้นกู้ระยะสั้น บุริมสิทธ์ 3 – 12 เดือนอัตราดอกเบี้ย 20 %

6. ออกร้านแสดงผลงาน ตามแผนงานหน่วยงานรายปีของภาคราชการ

แผนการบริหารบุคลากรและการจัดองค์การ

6.1 โครงสร้างขององค์กร

6.2 โครงสร้างผู้ถือหุ้น

ในการดำเนินงานตามแผนธุรกิจ บริษัท ครูด ปาล์ม ออยล์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 5,000,000 บาท แยกเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้

ลำดับรายการงบประมาณ%จำนวนเงิน

1ค่าเครื่องจักร เครื่องมือ48%2,400,000.00

2ค่าซื้อที่ดิน-อาคารโรงงาน ค่าพัฒนาพื้นที่9%450,000.00

3ค่าครุภัณฑ์ 3%150,000.00

4เงินทุนหมุนเวียนจัดซื้อผลปาล์ม30%1,500,000.00

5สำรองค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน10%500,000.00

แผนด้านบุคลากรที่สนใจจองที่นั้งเพื่อประชุมทางอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน จำนวน 1 หมื่นบาทต่อ 1 ทุน

1นายกิติอำไพเตชะวณิชย์>25 ปีผู้ร่วมก่อตั้ง บริหาร/งานอำนวยการ 1 ทุน 1 หมื่นบาท

2นายศุภกร เพียรผล <ผู้ร่วมก่อตั้ง บริหาร/งานบริการ 1 ทุน 1 หมื่นบาท

3.นายแพทย์สารี อดุลตระกูล 1 ทุน 1 หมื่นบาท

4.อาจารย์มะนอ 1 ทุน 1 หมื่นบาท

5.อบต.แม 1 ทุน 1 หมื่นบาท

6.บังมิ 1 ทุน 1 หมื่นบาท

7.นายนฤศร ยูรประดับ 1 ทุน 1 หมื่นบาท

8.คุณทอง 1 ทุน 1 หมื่นบาท

9.คุณคณาพจน์ ภู่คำ 1 ทุน 1 หมื่นบาท

10.คุณวรชัย ศรีถาวร 1 ทุน 1 หมื่นบาท

11.

12.

13.รันรายชื่อจองที่นั่งส่งเมล์กลับมาให้ [email protected] ได้เลยครับ

14.

15.

16.

17.

18.

19.

20.

เอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จนะคะ ^^

อยากทราบว่าตอนนี้ผลผลิตเป็นอย่างไรคับ แล้วเอาไปขายที่ใหนครับ

อยากทราบจิงๆ เพราะจะปลูกเหมือนกันครับ

ผมน้องหนุ่มครับ พอดีผมมีที่อยู่ที่กำแพงเพชร อ.พรานกระต่าย อยู่ประมาณ 40 ไร่ ซึ่งตอนนี้ ได้ให้เขาเช่าปลูกมันอยู๋ครับ แต่ในเดือนมีนาคม นี้จะหมดสัญญาเช่า ผมอยากจะลองปลูกปาล์มดู แต่ยังขาดประสบการณ์และข้อมูล ซึ่งผมอยากทราบว่า ณศักดิ์ชัย และคุณตฤณสร   สัมทับ ที่ปลูกปาล์มอยู่ ณ ตอนนี้ ได้เก็บผลผลิตหรือยัง เพื่อเป็นการตัดสินใจ ในการจะลงทุนของผมในอนาคต ครับ ผมอยากได้คำแนะนำจริงๆนะครับ  เบอร์โทรศัพย์ของผม 087 663 167 9 ขอบคุณล่วงหน้านะครับ ถ้าปลูกได้ผลผลิตในระดับดี ผมจะทำดูครับ

คุณน้องหนุ่ม ครับ เป็นอย่างไรบ้างครับได้ข้อมูลบ้างหรือเปล่า ที่จ.อุทัย เค้าปลูกกันสำเร็จแล้วครับ ตอนนี้พันธุ์ที่เพื่อนผมกำลังจะปลูกที่อุทัย คือ compac ต้นละ 230 บาทต้องไปรับที่ จ. นครศรีเอง แต่ที่จังหวัดกำแพงเพชรเรา ยังไม่เห็นว่าใครปลูกแล้วสำเร็จเป็นผลจริงๆ ผมเองก็กำลังหาข้อมูล อยากจะปลูกอยู่ แต่ก็กลัวมากครับ เคยโทรไปคุยกับเกษตรจังหวัดกำแพง เค้าบอกว่าไม่น่าลงทุนเลย เค้าแนะนำให้ปลูกยางมากกว่า ครับ คุณตฤณสร และคุญศักดิชัย ก็เงียบเลยไม่ update ผลว่าเป็นอย่างไรบ้าง

นพดล

081-9986383

ปลูกปาล์มแถวกำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย จะเอาไปขายที่ไหนครับอยากรู้ตลาดรับซื้อครับ ช่วยกรุณาโทรบอกด้วยครับอยากปลูกแต่กลัวเรื่องตลาดมากกว่า

0873243594

ที่บ้านของ ผม นำปาล์มน้ำมัน มาปลูกเป็น เจ้าแรกของจังหวัดกำแพงเพชร ตอนนี้ปาล์ม อายุ 8-9ปีก็มีบ้างแล้วครับ ทะลายใหญ่สุดที่เคยชั่ง ประมาน 35 ก.ก.แล้วครับ เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนที่สนจัยจะปลูกด้วยนะครับ ที่อยู่ 37 ม.10 ต.วังทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โทร 088-5454330 สนจัย แลกเปลี่ยน ความรู้ความคิดเห็นใหม่ๆ ในเรื่องปาล์มน้ำมันได้ตลอดเวลาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท