ศ. ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (5)
วารสารวงการครู ฉบับเดือนมกราคม 2549 นำเรื่องนี้มาลงเป็นเรื่องเด่นของฉบับ คือเรื่องจากปก สคส. จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อเป็นตอน ๆ ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 2
"จุดเริ่มต้นของความรู้
คือการยอมรับว่าเราไม่รู้"
อมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธาน สมศ.
ภาพลักษณ์ของ สมศ.
ในอนาคตจะเป็นอย่างไร
ในวาระของผม คิดว่า เราซ้อมมา 4 ปีแล้ว ในการเตรียมการ และ 4
ปีนี้ก็คือการประเมินจริง สิ่งที่เราต้องการก็คือ
การประเมิน
และเราก็รู้อยู่แล้วว่า ผลการประเมินรอบแรกถ้ามาประเมินจริงตอนนี้เลย
มันก็จะมีปัญหาตรงที่ว่า โรงเรียน หรือมหาวิทยาเองก็ดี สมศ. คงไม่รับรองผล จำนวนพอสมควร
ซึ่งเราคิดว่ามันไม่มีประโยชน์ที่เราจะทำเช่นนั้น
ทำให้เราได้มีความคิดในเรื่องของการพัฒนา ที่เราจะต้องคุยกับทาง สกอ.
ในเรื่องวิทยาลัยชุมชน 17 แห่ง ที่เพิ่งตั้งมาไม่กี่ปีนั้น
ถ้าเราจะประเมินตอนนี้ คงจะลำบากในการที่จะได้มาตรฐาน
เพราะมีความไม่พร้อมหลายอย่างในการจัดตั้ง ประเด็นคือ
เราจะต้องคุยกับทาง สกอ. เรื่องของการพัฒนามหาวิทยาลัยชุมชนให้ดีขึ้น
หรือราชภัฏบางแห่ง อย่างน้อยอีก 2-3 ปี แล้วค่อยมีการประเมินภายนอก
แต่จริง ๆ ตามกฎหมาย เราสามารถที่จะประเมินได้เลย
แต่ไม่มีประโยชน์ นี่คือ ความคิดที่เรามองว่า เรื่องกัลยาณมิตร
เรื่องการประเมิน เรื่องการพัฒนา เราคิดว่า การประเมินและการพัฒนาเป็นฝาแฝดกัน
เราเองอยากที่จะให้เขาประสบความสำเร็จ
และอยากจะประเมินโดยให้กำลังใจเขาด้วย
แต่การที่จะให้กำลังใจโดยที่ไม่ได้มาตรฐาน เราให้ไม่ได้ มันผิดจรรยาบรรณ
ฉะนั้น เราเลยต้องหาวิธี เราเลยต้องไปคุยกับรัฐมนตรี คุยกับทาง สกอ.
มาร่วมกันพัฒนาเรื่องนั้น เรื่องนี้ดีไหม
แล้วก็ชูให้เขาเห็นว่า
เราควรจะทำในเรื่องของการประกันภายในให้เข้มแข็งขึ้น อะไรต่าง ๆ นานา
ผมก็อยู่ทุกแท่งอยู่แล้ว
ผมเองก็ทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน ประสานความคิดต่าง ๆ พวกนี้
และผมคิดว่าในช่วง 4 ปีหลังจากนี้
จะทำให้เรื่องของการประเมินเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาก
ในแง่ของการประเมินว่า จะได้มาตรฐาน หรือไม่ได้มาตรฐาน
แล้วในช่วงปีที่ 10
หรือ 15 ของ สมศ. เข้าใจว่า เรื่องของการประเมิน
ภาพของการที่ข้างในเข้มแข็ง เราอาจจะใช้เวลาเพียง 15 ปี
แทนที่จะเป็น 30 ปี
เราก็อาจจะลดและเน้นในเรื่องของการประเมิน
เพื่อที่จะยืนยันผลประเมินของเขา
เราไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลใหม่ ตรงนี้อาจจะลดในเรื่องของเวลา
ในเรื่องค่าใช้จ่าย งบประมาณต่าง ๆ ไปได้ และก็เอาความคิดของการพัฒนาเข้ามาคู่กันในแง่การประเมิน
คือ เป็นการพัฒนาก่อนแล้วค่อยมีการประเมิน
เอาพัฒนาเข้ามาอยู่ในกระบวนการประเมิน แทนที่จะบอกว่า
เรื่องการพัฒนาเป็นเรื่องต้นสังกัด
ปกติถ้าดีอยู่แล้วในระดับพอใช้ขึ้นไป
เราอาจจะมองการพัฒนาเป็นเรื่องของต้นสังกัดก็ได้
แต่ถ้าต่ำกว่าตรงนี้ ก็น่าจะรวมให้กับ สมศ. ทำรวมไปกับการพัฒนาเลย
ซึ่งเราเองก็มีผู้ประเมินที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้อยู่มาก เขาจะรู้ว่า
จุดอ่อนมันเป็นอย่างไร เขาจะเป็นคนแนะนำ ไปให้คำปรึกษา
ลงไปทำงานร่วมกับทางโรงเรียน
ทีนี้เราก็ได้คุยกับทางสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณก็สนใจ
ก็อาจจะให้เริ่มในปี 2550
อาจจะให้เริ่มมีการพัฒนาแบบนี้ขึ้น ลองทำนำร่องแบบนี้ดู
แต่ตอนนี้เรานำร่องโดยการให้กระทรวงต้นสังกัดเป็นคนนำร่อง
หรือเราอาจจะเป็นคนนำ ถ้าหากว่า โรงเรียนเกิดการซีเรียสในเรื่องคุณภาพ
โดยใช้ภาคเอกชนมาช่วยในแง่ของสถานประกอบการ
ภาพลักษณ์ของกระทรวงศึกษาธิการ กับ
สมศ.
กับท่านรัฐมนตรี
เราเสนออะไรไป ท่านก็พิจารณาอย่างดี และก็นำไปใช้ประโยชน์มากมาย
เรียกว่า ใน 11 ข้อที่ผมเสนอพื้นฐานไป
ท่านนำไปใช้ทุกข้อเลย ซึ่งสิ่งนี้ ท่านรัฐมนตรี
และต่อด้วยท่านเลขาธิการแต่ละแท่ง สนในเรื่องพวกนี้มาก
แล้วก็ดำเนินการต่อจากท่านรัฐมนตรี
งานไปได้เร็วมาก ซึ่งตรงนี้ ถ้าทางกระทรวงและฝ่ายต่าง ๆ
ของกระทรวงรับลูกต่อกันไปเรื่อย ๆ ไปจนถึงปีที่ 15 ของ สมศ. โดยที่ไม่ค้านกับ สมศ. เอง
ผมว่า วงการศึกษาไทยคงสวยงามทีเดียวครับ
ศ. ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (1)
ศ. ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (2)
ศ. ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (3)
ศ. ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (4)