บันทึกชุมชนตลาดใต้


วันที่ 15  กุมภาพันธ์ 2549  เมื่อเวลา 20.00 น.  ผมได้มีโอกาสเข้านั่งร่วมวงกับกลุ่มองค์กรชุมชนตลาดใต้ เทศบาลตำบลปริก เขานั่งหารือกันเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าประชุม โครงการปริกเมืองน่าอยู่   ที่เทศบาลตำบลปริก จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2549  เพื่อเป็นการติดตามการดำเนินงานขององค์กรชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลปริก ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการปฏิบัติการชุมชนเมืองน่าอยู่   

         แม้จะมีคนมานั่งคุยกันเพียง 7 คน บวกกับ น้องตู้ นักพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลปริก และผม ผู้ร่วมสังเกตการณ์ ก็เป็น 9 คน ซึ่งได้เห็นความตั้งใจของคนในชุมชนที่จะพยายามขับเคลื่อนกิจกรรม  โดยเฉพาะ โครงการธนาคารขยะ  ที่เป็นโครงการเพิ่งเริ่มดำเนินการมาได้เพียงไม่กี่เดือน  ในคืนนี้ ผมได้รับฟังเขาคุยกันหลาย ๆ ขั้นตอนของการปรับปรุงโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขั้นตอนการดำเนินงาน ทำให้ผมนึกถึงการทำงานที่เป็นรูปลักษณ์แห่งนวัตกรรมทางสังคม ขึ้นมาทันที  อย่างแรกที่เป็นเหตุผลรองรับคำว่า  โครงการธนาคารขยะ ของชุมชนตลาดใต้ เป็นนวัตกรรมทางสังคม นั้น เป็นเพราะสิ่งที่ผมได้จากการฟังเขาคุยกันถึงการดำเนินการที่ให้เด็กนักเรียน และชาวบ้านในละแวกนี้ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยแสดงบทบาทที่แตกต่างกันออกไป เช่น เป็นคนคัดเลือกขยะ  แยกประเภทขยะ  ชั่งนำหนัก จัดเก็บเพื่อรอส่งไปยังแหล่งจำหน่าย  มีการวางระบบบัญชีแบบธนาคาร แทนที่จะเป็นเงินแต่กลับเป็นจำนวนขยะ  ซึ่งผมขอเรียกว่าเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ก็แล้วกัน  เพราะส่วนใหญ่เป็น ขวดพลาสติก  กระดาษ  ฯ  ลงในสมุดบัญชีของธนาคาร และสมุดคู่ฝากของผู้เป็นสมาชิก  อย่างน้อยประการแรกนี้ก็จะเห็นการผนึกและผสานกำลังคน หรือเป็นการบูรณาการทรัพยากรบุคคล    

          แล้วทำให้ผมมองเห็นภาพต่อไปของการทำงานเชิงบูรณาการขึ้นมาอีกเป็นเรื่องที่สอง คือ การบูรณาการเชิงองค์กรหรือภาคี ที่เขาพยายามเชื่อมโยงจากชุมชนสู่โรงเรียน และชุมชนสู่ชุมชนด้วยกัน  เพราะนอกจากชุมชนจะดำเนินการกันเองแล้วยังให้เด็กนักเรียนจากโรงเรียนบ้านปริก  และตัวแทนหรือสมาชิกจากชุมชนอื่น ๆ เช่นชุมชนปริกใต้ เข้ามาร่วมในการเป็นสมาชิก ร่วมคัดแยกประเภทเศษวัสดุเหลือใช้ ร่วมมาฝากเศษวัสดุเหลือใช้ที่ธนาคารขยะของชุมชนตลาดใต้ เสมือนหนึ่งเป็นทัพหน้า  โดย มีโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่  มีเทศบาลตำบลปริก   เป็นองค์กรหนุนเสริมอยู่ด้านหลัง หรือทัพหลัง ที่จะช่วยกันดึง ดันและยัน 

           ประการที่สาม เป็นการทำงานแบบบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระที่เชื่อมต่อไปสู่ระดับนโยบายของท้องถิ่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนของเทศบาลตำบลปริก  ที่มุ่งเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน และประชาชนในการจัดารสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ อาจจะมีจุดเริ่มต้นที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกชุมชน แต่ในท้ายที่สุดจะเกิดการต่อยอดเชื่อมโยงกันได้โดยไม่ยากเลย เช่น ชุมชนสวนหม่อมกำลังเคลื่อนเรื่องการกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้โดยทำน้ำหมักชีวภาพ และทำปุ๋ยหมัก เป็นการนำเศษวัสดุหรือขยะประเภทย่อยสลายได้ ส่วนที่เหลือซึ่งเป็น กระดาษ ขวด พลาสติก ฯ ชุมชนก็สามารถนำปฝากไว้กับธนาคารขยะ เหล่านี้ เป็นต้น 

           

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15641เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • มาทักทาย
  • ดีใจที่ได้อ่าน
  • เขียนมาอีกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท