การประชุมเกษตรนักปฏิบัติ ๓


         เย็นวันนี้อาหารอร่อยถูกปาและถูกใจมากๆ คือ น้ำปลาหวาน+ สะเดา รสเด็ดจริง
ทีแรกไม่ได้วางโปรแกรมไว้ตายตัวว่าจะคุยกันต่อเรื่องอะไร แต่พี่ทรงพลและคุณธเนศคุยกันไว้ว่า สบายๆ ไม่ซีเรียสอะไรและแล้วความสบายๆ นี่แหละทำให้เราได้” อะไร” มาในช่วงค่ำนี้เอง
          บรรยากาศการคุยลื่นไหลไปเรื่อยๆ จากการสรุปภาพงานที่จะเคลื่อนต่อไปของพี่ทรงพล
คำถามที่ย้อนกลับไปถามคนในวงคือ “คิดว่าทำแล้วจะได้ประโยชน์อะไรกับตัวเอง”
พี่ทรงพลอธิบายให้ฟังภายหลังว่า การย้ำให้เขาเห็นถึงประโยชน์ของตัวเอง นำไปสู่ความตระหนักในการทำเพราะจากกระแสช่วงบ่ายที่หลายคนบอกว่า”ภาระงานมาก” แต่โครงการนี้ไม่ใช่การเปิดโครงการใหม่ ทำอย่างไรถึงจะทำให้เขาเกิดความ”ตระหนัก” ให้ได้ว่า โครงการนี้เป็นสิ่งที่อยู่ในงานของเขา ถ้าช่วยกันจับและหยิบออกมาจะเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ได้
                             .....ทันใดนั้นเอง...
สาวท่านหนึ่งก็เอ่ยออกมาว่า “งานแบบนี้เราก็ทำอยู่แล้ว ไม่มีอะไรใหม่ (วิทยาลัยฯ ของเธอ) เป็นตัวอย่างของการเป็นศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการรายใหม่ ได้รับงบประมาณจากกรม ล้านกว่าบาท”
มุขนี้ทำให้วงเกิดอาการ”อึ้งกิมกี่” เพราะ คุณธเนศ คาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่าทำงานกับราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับครู ต้องเจอประโยคลักษณะนี้ แต่ธเนศก็ต้องควบคุมตัวเองไม่ให้โต้กลับไปว่า"โครงการ" มีความต่างกันแน่ๆ หลายคนมองหน้ากัน แล้วความเงียบก็เข้ามาครอบคลุมบรรยากาศ ไปต่อไม่ถูกประมาณนั้น แต่...พระเอกก็ขี่ม้าขาวมา คือ พี่ทรงพลคลี่คลายบรรยากาศโดยพยายามซักลงถึงรายละเอียดของสิ่งที่เธอคนนั้นทำ แต่ก็ไม่ได้ข้อมูลอะไรมากนัก
ฉันได้ข้อมูลของเธอคนนั้นว่าเธอเป็นระดับหัวหน้างาน จบปริญญาโท และได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารได้ไปอบรม KM มาหลายครั้ง “ความมั่น” จึงมีมาก โครงการที่เธอบอกว่าได้รับเงินนั้นก็เป็นงบประมาณด้านสิ่งก่อสร้าง ไม่มีการพัฒนา"คน" ไม่ได้พูดถึงการพัฒนาความคิด
       ซึ่งพวกเรา AAR กันหลังเวทีคืนนั้น เพราะคุณธเนศติดใจประโยคนี้มาก และบอกว่าถ้าเป็นตัวเองเมื่อก่อนก็จะสวนกลับและเวทีก็จะลุกเป็นไฟ น้องอาร์ทบอกว่าพี่ทรงพล”เก๋าเกมส์” มากเพราะการสวนกลับนิ่มนวล และคนฟังไม่รู้สึกเลยว่าสิ่งที่เขาพูดออกมานั้นเปรียบเหมือนสภาพน้ำล้นแก้ว
ความต่างของการทำงานตามโครงการของราชการ กับ การทำงานอิสระ นั้น ถ้าคนที่อยู่ในระบบแบบไม่เคยสัมผัสกับระบบอิสระจะไม่รู้เลยว่า”งานราชการนั้น” ไม่มีชีวิต ต้องมีคนสั่งการ และโยงใยอยู่เบื้องหลัง   “คนทำ” ซึ่งเป็น”คุณกิจ” ไม่ได้รับการยกระดับความคิดขึ้นมาเพื่อมองเห็นสิ่งที่ตัวเองทำเลยว่า ” นี่คือความรู้” และถ้าทำไปตามสั่ง ทำให้เสร็จ ก็ยิ่งจะไม่ได้เรียนรู้ไปใหญ่ เลย
         ปัญหาหลักปัญหาใหญ่ของ”คนไทย” (ทีแรกฉันจะใช้คำว่าระบบราชการ แต่เมื่อได้ทำเวทีกับเด็กๆ ฉันเลยต้องเปลี่ยนเป็น”คนไทย” เพราะคนส่วนใหญ่ของสังคมเป็นแบบนี้ ในบ้านใครใหญ่และมีอำนาจก็จะฟังคนนั้น แต่ไม่มีการรับฟังคนที่อ่อนกว่า สังคมอำนาจ เป็นรากฐานของสังคมไทย  “การจัดการความรู้” ในรูปแบบที่จะสามารถสร้างพลังขับเคลื่อนได้ จึงต้องอาศัยความอดทนมากพอสมควร
     และข้อสรุปหนึ่งที่ต้องเร่งรีบให้เกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ในสังคมนี้คือ”การฟังอย่างลึกซึ้ง” นั่นเอง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15639เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 00:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท