เรียนรู้...ฝึกฝนการเป็น FA


สวัสดีครับ

ใส่หมวกใบนี้มาก็หลายปีแล้ว  แต่ก็ยังไม่ค่อเข้าใจ  และคิดว่าทำหน้าที่ตรงนี้ยังไม่ได้เต็มที่นัก

  เพราะว่าความรู้  ทักษะ ประสบการณ์การทำงานของเราอาจจะยังไม่ดีพอ  อาจจะยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะ  ก็เจ้าการเป็นผู้ประสานงานคุณภาพนั้น 

            ผมดูๆแล้วมันต้องมีคุณสมบัติที่ต้องเป็น  ต้องทำให้ได้มากมาย  รวมทั้งความรู้ด้วยครับ  และไม่ใช่เพียงความรู้เรื่องคุณภาพอย่างเดียว  แต่เป็รรู้จักตัวเอง  และรู้จักผู้อื่นดีด้วยครับ....

 

    ช่วงหลังจากที่ท่านอาจารย์เข้ามาเยี่ยม  ก็รู้และเข้าใจทันทีเลยว่า  เราจะต้องทำอะไรบ้าง  ตั้งแต่ระดับโรงพยาบาล  ทีมคร่อมสายงาน  หน่วยงาน และบุคคล....

   เมื่อวิเคราะห์ด้วยตัวเราเองแล้วนั้นก็พบว่า  การพัฒนาที่ผ่านมาไม่ค่อยคืบหน้า  มันมีหลายปัจจัย

   - เกิดจากเราเองที่ไม่ได้เป็น FA ที่เก่งหรือสุดยอด...กำลังเรียนรู้และก้าวเดิน  จริงทำให้องค์กรก็ค่อยๆก้าวไปพร้อมกับเราด้วย..

   - เกิดจากผู้คน  ยังไม่เข้าใจ  ไม่ชัดเจน  ไม่รู้จะทำอะไร ประเด็นไหน  แต่เมื่อมองลึกๆผู้รับผิดชอบคือเราเองนั่นละ  อาจจะพ่วงผู้บริหาด้วยเล็กน้อยครับ

 

   หลังการเข้าเยี่ยมของอาจารย์ จึงได้สรุปงานและสิ่งที่เราเองรับผิดชอบคือ

      - PCT รายโรค  ARV  TB  จิตเวช  , และอาจจะต้องช่วยเหลือ PCT OPD...ด้วยบางครั้ง

      -งาน RM ที่ต้องทำอะไรอีกหลายอย่างให้ได้ตามมาตรฐาน

     - และงาน ศูนย์คุณภาพ  ที่ต้องมองภาพรวมทั้งหมด

 

งานแรกที่ทำคือ

...การเรียนรู้แบ่งปันกับผู้ปฏิบัติงานจิตเวชและงานผู้ติดเชื้อ

       - สรุปกระบวนการหลักงานทั้งสอง  ร่วมกันเขียนและทำความเข้าใจกันและกัน

       - ทำความเข้าใจเรื่องงานเอกสาร  งานรายงานที่ทำอยู่

      - อธิบายเรื่องของ เจตจำนงของงาน  ความสำคัญการมีแผน

     - อธิบายถึงการวัดผลงาน  การสร้างตัวชี้วัดเพื่อบอกความก้าวหน้า

     - อธิบายถึงคำว่าคุณภาพของงานที่เราทำ   เนื้องานสัก2-3 เรื่องที่ต้องแสดงให้เห็นว่างานเราดี มีคุณภาพ

      - ชี้ความสำคัญของการเก็บเอกสารคุณภาพที่สำคัญบางอย่าง  เช่น การเก็บตัวชี้วัด  บันทึกการประชุม แนวทางการปฏิบัติงาน และความภาคภูมิใจในงานของเรา

      หลังพูดคุยก็ได้ชี้ประเด็นที่ชัดขึ้น  ทุกคนก็รู้สึกเข้าใจ  แต่จะทำหรือไม่ก็แล้วแต่อีกครั้ง  เพราะว่ากระบวนการแนะนำเบื้องต้นเกิดขึ้นแล้ว..

 

  งานที่สอง

            วันนี้เยี่ยมท่านประธาน PCT IPD ,

    จากการติดตามและสังเกตุการทำงานก็พอเข้าใจ  ว่าอุปสรรคน่าจะอยู่ที่ความรุ้ความเข้าใจ  ส่วนความตั้งใจ มุ่งมั่นนนั้นเชื่อมันในตัวทีมากอยู่แล้ว

        เริ่มที่การสอบถามถึงงาน  แผนงาน  เนื้องานที่จะทำในปีนี้  ก็พบว่ายังมีสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมและแบ่งปันหลายอย่าง  เบื้องต้นที่สรุปดังนี้

         - การประเมินตนเองของทีม PCT IPD  จะช่วยชี้นำทิศทางการทำงาน  และบอกโอกาสการพัฒนา....

        - พูดถึงการทบทวนทางคลินิกกิจกรรมหลักๆที่สำคัญ  ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  และนำผลนั้นมาพัฒนาต่อไป

        - สื่อสารเรื่อง 5 อันดับโรคแรกที่ทีมต้องเข้าไปดูแล พัฒนา เช่นการมี clinical tracer

        - แบ่งปันเรื่องบันทึกการประชุม  การสร้างแนวทางปฏิบัติงานร่วมกันต่างๆ

 

          เป็นการทำงานเบื้องต้น  ที่รู้สึกได้ว่า  ได้ทำหน้าที่ของพี่เลี้ยงบ้างแล้วครับ....

 

 

หมายเลขบันทึก: 156408เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2007 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะท่าน kmsabai

-เวทีนี้ต้องมีพี่เลี้ยงเสียแล้ว

หลัก คือ เรื่อง KAP

หากขาด K ก็ไม่มีความรู้ หรือรู้ไม่ลึก

หากขาด A หากรู้มากแต่ทัศนคติไม่ดีต่อการทำงาน ก็ไม่เกิดผลอันใด ดีไม่ดีองค์กรเสียหาย เหมือน"มือไม่พาย แต่เอาเท้าลาน้ำ"

หากขาด P การปฏิบัติ การฝึกฝน ก็ไม่เกิดความชำนาญ

FA ต้องกระทำทั้งสามอย่างพร้อม ๆ กัน พร้อมมองแบบ bird eyes view คือ มองมุมกว้าง (แบบนก บินขึ้นไปสูง ๆ แล้วมาด้านล่าง อย่างนั้น)

ตอนนี้ที่ท่าคันโท กำลังทำทั้งสามอย่าง คือสอนให้เข้าใจ ฝึกฝนความชำนาญของ FA และผู้จัดการศูนย์คนใหม่ รวมทั้ง จนท.อีกรอบ เพื่อต่อยอด ปรับเปลี่ยนทัศนคติ เรื่อง การทำงานคุณภาพ ดูวุ่นวาย เตรียมทำแบบประเมินตนเอง เพื่อวางเป้าหมาย ให้ถึงปลายทาง

-เป็นกำลังใจค่ะ คงได้แลกเปลี่ยนอีกทีค่ะ

 

พี่เลี้ยงดีนี่เอง ท่านสุพัฒน์ถึงแตกไอเดียได้เรื่อย ๆ

พอสว. 3-4 ม.ค. 51 บ้านน้ำปลามุง&บ้านในของ

ออกเดินทาง 09.00 น.ตรง

ดิ่งไปน้ำปลามุง บริการเสร็จกลัมาแจกของและนอนที่ในของ

ทีมเรา 16 คน ตชด.6 คน ของ อ.เอก 3 คน

พร้อม ลุย !! อย่าลืมเต๊นท์-ถุงนอน

อุณหภูมิ  6 องศา ??? หนาวแน่   งึก งึก งึก ....

แวะเข้ามาเยี่ยมครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ

ประชุมวาระคุณภาพ ครั้งต่อไป เป็นเรื่อง ของ

1. การตามงานจากทีมนำ คงเป็นเรื่องของแผน ก่อน

2. เปิดโอกาสให้ซักถามพูดคุยบทบาทของตนเอง

 3. การประกาศเข็มมุ่งของร.พ. ถ่ายทอดสู่หน่วยงาน

3.1 การตอบสนองต่อลูกค้าภายใน

3.2 การลดขั้นตอนหรือลดระยะเวลา

3.3 การประกันคุณภาพ

3.4 ห้าส.

3.5 ความปลอดภัยของผู้ป่วย (มีอยู่ 9 ข้อ )แต่อาจจะเพิ่มข้อ 10 ลงไปอีก คือ อื่นๆที่หน่วยงานเองคิดว่าเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ป่วย

ผมจะพยายามร่างเอกสารไว้ก่อนเพื่อจะเอาไปแลกเปลี่ยนร่วมกับทีมFaครับ

4. วาระแห่งตัวชี้วัด วัดอย่างไรให้มีความสุข

ตัวชี้วัดของหน่วยงาน,ทีมนำ,เข็มมุ่ง,ยุทธศาสตร์,ระดับร.พ.(เป้าหมาย)

ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ว่าจะขอทีมแผนงานช่วยตาม เรื่องของเป้าหมายระดับร.พ.เป็นหน้าที่ของศูนย์ข้อมูล ที่เหลือท่าจะเป็นของFAครับ แลกเปลี่ยนด้วยนะก่อนจะประกาศกันในวันที่ 8/1/2551 การรปะชุมครั้งที2 ส่วนเรื่องอื่นๆก็เป็นของทางทีม Fa

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท