โอกาส (อีกครั้ง) ในการเป็น ม.ในกำกับ


                ผมได้ทิ้งคำถามไว้ในบล็อกก่อนว่า  ร่าง พ.ร.บ. ที่อยู่ในขั้นตอนต่างๆ อีก 13 แห่ง  เข้าข่ายมาตรา 153  วรรคสอง  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550  หรือไม่ ?               
              
ทำไมจึงเป็นคำถามครับ ?  เพราะหากเข้าข่ายของกฎหมาย  มหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการอีก 13 แห่ง  จะมีโอกาสเป็น ม.ในกำกับอีกครั้ง  ดังนี้ครับ
               
            
มาตรา 153  วรรคสอง
                               
                          
ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง  หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร  ภายหลังการเลือกตั้ง  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป  รัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร  หรือวุฒิสภา  แล้วแต่กรณี  จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  หรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้  ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอภายในหกสิบวัน  นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป  และรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วย  แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีมิได้ร้องขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป

                สรุปว่า  ถ้าเข้าข่ายของกฎหมายคือ  เป็นร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ
              
1.  คณะรัฐมนตรี  ต้องร้องขอภายในหกสิบวัน  นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก
              
2.  รัฐสภามีมติเห็นชอบ
              
3.  ถ้าคณะรัฐมนตรีมิได้ร้องขอ (ภายในหกสิบวัน) ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
               ข้อกำหนดข้างต้นมีเงื่อนไขของกฎหมายและเงื่อนเวลาอย่างไรบ้าง ?
              
1.   การเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก
                    
มาตรา 127  ภายในสามสิบวัน  นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภา  เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
                    
มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  วันที่ 23 ธันวาคม 2550  ภายใน 30 วัน  คือ  ไม่เกินวันที่ 22 มกราคม 2551
                   
มีประเด็นปัญหาว่าการประชุมรัฐสภา  จะต้องมี 2 สภา  ขณะนี้ยังไม่มีวุฒิสภาจะทำอย่างไร ?  กรณีนี้รัฐธรรมนูญมาตรา 293  วรรคสาม  กำหนดว่า
                   
ในวาระเริ่มแรก  หากปรากฏว่าเมื่อต้องมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา 127 แล้ว  แต่ยังไม่มีวุฒิสภา  ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่วุฒิสภาต่อไป

               2.   มีคณะรัฐมนตรีเมื่อใด ?

                     มาตรา 172  ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล  ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี  ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน  นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก  ตามมาตรา 127
                   
ในทางปฏิบัติ  พรรคที่เป็นแกนนำรัฐบาล  คงจะมีการกำหนดตัวบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี  และคณะรัฐมนตรีอีกสามสิบห้าคน  ก่อนการประชุมรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว  ดังนั้นน่าจะมีคณะรัฐมนตรีได้ไม่เกินวันที่ 22 มกราคม 2551               
              
3.  คณะรัฐมนตรีต้องร้องขอภายในหกสิบวัน  นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก  ดังนั้นคณะรัฐมนตรีน่าจะร้องขอได้ภายในวันที่ 22 มีนาคม 2551
               
              
4.  หากคณะรัฐมนตรีไม่ร้องขอ  ร่างพระราชบัญญัติเป็นอันตกไป (หากจะมีการเสนอร่างใหม่ต้องเริ่มต้นใหม่  เหมือนร่าง พ.ร.บ. ม.ในกำกับทุกฉบับที่เริ่มต้นเมื่อประมาณช่วงปี พ.ศ. 2542)
               
              
หมายเหตุ  หากคณะรัฐมนตรี  เห็นสมควรให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติ ม.ในกำกับต่อ  จะสอบถามความเห็นไปยังมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องทุกแห่ง  เพื่อให้ยืนยันร่างกฎหมาย
               
             
ดังนั้น  มหาวิทยาลัยทั้ง 13 แห่ง  จะมีโอกาสตัดสินใจว่าจะออกเป็น ม.ในกำกับ  หรือไม่ ? (อีกครั้ง) ในระยะเวลาที่สั้นมาก  คือ  ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม 2551  หากตกขบวนนี้  มหาวิทยาลัยที่เหลือจะเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  ร่วมกับ  มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง  มหาวิทยาลัยราชมงคล 9 แห่ง  และวิทยาลัยชุมชน 19 แห่ง
               
              
และยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ?  จะมีโอกาสอีก
               
              
กรณี  มหาวิทยาลัยนเรศวร  อธิการบดีได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า
ในช่วงที่ผมเป็นอธิการบดี  ซึ่งมีระยะเวลาอีกหนึ่งปีเศษ  ผมจะไม่ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับเรื่องพระราชบัญญัติฉบับนี้อีกต่อไป               
              
คำถามคือ  ประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวร  ต้องการให้ดำเนินการ ร่าง พ.ร.บ. ม.ในกำกับต่อ
  หรือไม่ ?               
              
หากต้องการ  ใครจะเป็นคนยืนยัน

หมายเลขบันทึก: 156030เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2007 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 09:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

          เหมือนสวรรค์ทรงโปรด  ดิฉันอยากได้โอกาสครั้งสุดท้ายนี้เหลือเกิน

          ท่านคณบดีคะ ไม่ว่าท่านอธิการจะเดินหน้าต่อ  หรือหยุดทุกสิ่ง ก็ไม่สำคัญเท่าประชาคมในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะเดินหน้าต่อหรือจะหยุดอยู่กับที่

          ถึงเวลาแล้วที่ประชาคม มน. ทุกคนจะต้องยืนยันชะตาขององค์กรในอนาคต โดยคำนึงถึงอนาคตของคนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้ง  มิใช่ห่วงใยเพียงอนาคตส่วนตน เพราะอนาคตส่วนตน ทุกคนเลือกได้อยู่แล้ว

          และถ้าสภาอาจารย์ และสภาข้าราชการและลูกจ้าง ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาคมทั้งหมดในมหาวิทยาลัย  มีความเป็นกลางจริง  ก็ควรจะรับเป็นตัวตั้งตัวตีในการดำเนินการในเรื่องนี้

          แต่ดิฉันต้องการความเป็นกลางที่แท้จริง ไม่มีการปลุกปั่นมวลชน ไม่มีอคติ ไม่สร้างความแตกแยก ให้อิสระทางความคิด และให้ข้อมูลที่เป็นจริง

          ถ้าเป็นไปได้ ดิฉันขอให้สภาอาจารย์ และสภาข้าราชการฯ จัดสัมมนา KM เรื่อง "สัมมาทิฐิ ของการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย"   อาจารย์ว่าจะดีไหมคะ? มาตั้งวงคุยกันแบบสุนทรียสนทนา และตั้งใจฟังซึ่งกันและกัน  ไม่ตัดสิน ถูก - ผิด คุยกันเยอะๆ  ฟังกันมากๆ  แล้วเราทุกคน จะคิดได้เอง ไม่ต้องให้ใครคิดแทน

          สภาอาจารย์+สภาข้าราชการ ไม่มีสิทธิ์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่จะบอกว่า  มหาวิทยาลัยไม่ประชาสัมพันธ์  ไม่ให้ข้อมูลเรื่องการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยนเรศวร  เพราะสภาฯทั้งสอง มีหน้าที่ต้องติดตามตรวจสอบ พิทักษ์สิทธิประโยชน์ ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลแก่ประชาคมอย่างต่อเนื่องดุจเดียวกัน

          ประชาคม ค่ะ ประชาคม เป็นผู้ที่ต้องยืนยันเรื่องนี้   

เห็นด้วย ออกนอกระบบก็ดี น่าจะมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นกับชีวิต

อยากให้พี่น้องพนักงานทุกท่านออกมาช่วยกันดูแลสิทธิของเรากันเองบ้างจะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อนดี

เรียน อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน และประชมคม ชาว มน.

ผมว่าการทำความเข้าใจ (ที่ถูกต้อง) กับประชาคม มน. เป็นสิ่งที่สำคัญ ทำอย่างไรข้อมูลข่าวสารจะเผยแพร่ไปได้อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมว่าประชาคม มน. ต้องการหรือไม่ต้องการ การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ฉะนั้น การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ

ผมเสนอความเห็นวิธีการดำเนินการอย่างนี้ครับ

1. ตั้งคณะกรรมการประสานงานขึ้นมา (อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้) โดยเชิญตัวแทนจากทุกภาคส่วนมาเพื่อหาปรึกษาหารือและดำเนินการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ทั่วถึงทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

2. หาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ความเข้าใจของประชาคมว่าทุกภาคส่วนที่คณะกรรมการประสานงานลงไปเผยแพร่มีความเข้าใจหรือความเห็นเป็นอย่างไร วิธีการเก็บก้มีหลายวิธีครับ เช่น vdo ,sound recorder,Blog, ฯลฯ

3.  หาวิธีการสรูปข้อมูลดังกล่าวที่เป็นรูปธรรม แล้วเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวกลับไปที่ประชาคมเพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

4. หาวิธีวัดว่าประชาคมส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

อย่างไรก็ตามกระบวนการทั้งหมดต้องทำอยู่บนความเป็นกลางอย่างแท้จริงโดยมีใจบริสูทธิ์ครับ ?

ผมขอนำพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา" ก็ยังใช้กับกรณี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐได้ครับ ถ้า....คิด.....?

 

อยากมีสวัสดิการที่ดีครับ

สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบค่ะ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เป็นอย่างยิ่ง เพื่อความมั่นคงและอนาคตอันสดใสของเรา

อยากให้มีการออกนอกระบบของ มน. ค่ะ เพื่อความมั่นคงในชีวิตการทำงาน  และการมีสวัสดิการของพนักงาน  แต่คิดว่าครั้งที่ผ่านมานั้นการประชาคมของ มน. ใช้เวลาสั้นเกินไป และมีลักษณะเร่งรีบไปหน่อย ค่ะ ทำให้ข้าราชการมีความรู้สึกตกใจ คิดไปต่าง ๆ นานา

หากต้องการที่สนับสนุนการออกนอกระบบมีช่องทางหรือวิธีการอย่างไรบ้างค่ะ

อยากเรียนว่า สิ่งที่ คณบดีทั้งสองทำอยู่ก็เป็นการประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ครับ  เป็นสิงที่ดีมากๆ ครับ คุยกันทำความเข้าใจกันมากๆ เปิดเวทีเสวนา หาข้อดี จุดเด่น แต่ผมว่าต้องชวนกันคุยทั้งคนที่เห็นด้วย และคนคัดค้าน ชี้ให้เห็นจุดดีจุดเสียครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท