Education Reform Recommentation


ความคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา

วันนี้ผมเพิ่งหายจากอาการป่วย ช่วงเช้าเลยนั่งฟังข่าวเกี่ยวกับ"มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ" ก็เลยลองเปิดเว็บเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ดูโดยใช้ Google ลองค้นหาดู ไปพบบทความหนึ่งของ ศ.นพ.วิจารณ์ ซึ่งอาจารย์ได้ไปเสวนา ณ ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ท่านใดสนใจลองอ่านบทความนี้ดูครับ คลิกที่นี่ครับ 

อ่านไปเรื่อย ๆ แล้วโดนใจผมมากเลยครับ ผมมองเห็นถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าว ผมมีคุณแม่และคุณอาเป็น "ครู" สอนในระดับทั้งประถมและมัธยม ถ้าเป็นยุคใหม่ก็จะบอกว่าเป็นการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ผมก็ได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องดังกล่าวกับท่าน ท่านก็บอกทุกวันนี้ครู(บางคน) ก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการทำผลงานและ/หรือการขอวิทยฐานะ โดยทำให้เวลาที่จะเอาใจใส่ดูแลลูกศิษย์ลดลง เพราะต้องเตรียมเอกสาร/ผมงานต่าง ๆ ตามระเบียบเพื่อให้การขอตำแหน่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ผมมองว่าที่กระทรวงศึกษาฯ เคยมีนโยบายให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Child Lerning Center) เป็นนโยบายที่ดีครับ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ก็มีที่ไม่เข้าใจกับปรัชญาของนโยบายดังกล่าวก็ได้ครับ อาผมเล่าให้ฟังว่าครูบางคนปฏิบัติตามนโยบายจริง ๆ ครับคือให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจริง ๆ คือให้โจทย์ไป แล้วให้นักเรียนไปค้นคว้าแล้วนำมาส่ง ซึ่งอันที่จริงแล้วผมว่าไม่ควรจะเป็นเช่นนั้นครับ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด คือ "ครูจะต้องสอนหรือแนะนำเด็กให้มีความรู้ในระดับหนึ่งก่อน เพื่อให้เด็กมีความรู้พื้นฐานที่จะไปศึกษาค้นคว้า คิด ด้วยตนเองได้ แล้วครูมีหน้าที่เข้าไปแนะนำเมื่อเด็กเกิดปัญหาหรือข้อสงสัยหลังจากการที่เด็กได้ไปเรียนรู้หรือศึกษาหรือคิดด้วยตนเองแล้ว"

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการแปลงจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งถ้าผู้ที่ให้นโยบายไม่ทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติให้เข้าใจตรงกันแล้ว เมื่อนำไปปฏิบัติก็อาจจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนโยบายก็เป็นได้

ฉะนั้นถ้าเรามองภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพี้นฐานมาจนถึงการปฏิรูประบบอุดมศึกษาแล้ว มันก็มีความสอดคล้องและส่งผลกระทบซึ่งกันและกันอยู่ไม่น้อย

มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่รัฐหรือผู้บริหารระดับสูงจะต้องทำความเข้าใจกับประชาคมทุกภาคส่วนตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของชาติ ทั้งระยะสั้น และ ระยะยาว, นโยบายของรัฐ, กฏหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง, กระบวนการหรือแนวทางการปรับเปลี่ยนหรือกระบวนการสร้างความเชื่อมั่น (Trusts and Confident)

ผมมองว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ มหาวิทยาลัยจะต้อง "ร่าง กฏระเบียบในทุก ๆ ด้านขึ้นมารองรับเพื่อให้ประชาคมเห็นภาพรวมทั้งระบบว่ามหาวิทยาลัยจะไปในทิศทางใด" เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง การตลาด(ที่เป็นข้อเท็จจริง) เป็นช่องทางที่สำคัญกับการทำความเข้าใจกับประชาคมในทุกภาคส่วนได้ดีที่สุด....

Thongchaik

 

คำสำคัญ (Tags): #autonomous university#education reform
หมายเลขบันทึก: 155379เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2007 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท