จากเสรีนิยมใหม่ถึงสวัสดิการชุมชน


ในขณะที่เสรีนิยมใหม่ให้ความสำคัญกับ “การมีเสรีภาพของปัจเจกตามศักยภาพ” อมาตยา เซน กลับให้ความสำคัญกับ “การสร้างศักยภาพเพื่อให้ปัจเจกมีเสรีภาพ

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคเสรีนิยมใหม่ที่ก่อตัวตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา 

  

เสรีนิยมดั้งเดิมยุคคลาสสิก  ให้ความสำคัญกับเสรีภาพบนพื้นฐานของ คุณธรรม    มือที่มองไม่เห็นของอดัม สมิธ  จึงมีแนวคิดเชิงคุณธรรมอยู่ด้วย     อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม มีนัยไปสู่การเกลี่ยทรัพยากรและสินค้าไปให้แก่คนที่ไม่มีหรือมีน้อย   เพื่อให้อรรถประโยชน์รวมของสังคมสูงขึ้น   ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พื้นฐานยังถือหลัก ไม่ก่อผลกระทบภายนอก อยู่

  

เสรีนิยมใหม่ละเลยเรื่องคุณธรรมและความเท่าเทียม...

  เสรีนิยมใหม่ให้ความสำคัญกับ เสรีภาพของปัจเจกตามศักยภาพ ...  ด้วยเหตุนี้  เสรีนิยมใหม่จึงไม่ปฏิเสธระบบ  มือใครยาวสาวได้สาวเอา  

(นึกถึงสิ่งที่อาจารย์อคิน รพีพัฒน์ เคยพูดไว้ว่า   ระบบอุปถัมภ์ แบบดั้งเดิมในสังคมไทยนั้น ก็มี คุณธรรม แต่ระบบอุปถัมภ์ในปัจจุบัน  ไม่มีคำว่าคุณธรรม ...ดูเหมือนศัพท์คำว่า คุณธรรม หายไปจากโลกแล้ว)  

 

ในงานสัมมนาที่คณะเศรษฐศาสตร์  มธ.  อาจารย์เกษม จากคณะสังคมวิทยาบอกว่า...

  

ภายใต้ระบบเสรีนิยมใหม่   เกิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่ไหลข้ามชาติ   ระบบการผลิตถูกเหนี่ยวนำด้วยแรงขับด้านอุปทาน   ผลิตมากได้ต้นทุนถูก  ราคาถูก ผู้บริโภคอยากซื้อมาก  เกิดเป็นระบบบริโภคนิยม  เกิดร้านสรรพสินค้าอย่างวอลมาร์ท เทสโก้ ... การผลิตมาก ต้องการแรงงานมาก  แรงงานพึ่งตนเองถูกดึงเข้าสู่ระบบการผลิตแบบตลาด  เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ  เป็นปัญหาด้านสัญชาติ  พลเมืองชั้นสองชั้นสาม และปัญหาเรื่องสิทธิ

  

บทบาทของรัฐถูกทำให้เล็กลง และถูกแทนที่โดยระบบตลาด  จึงเกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  การศึกษาออกนอกระบบ  ระบบกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา   ระบบสุขภาพถูกนำเข้าไปสู่ระบบประกัน   เงินบำนาญถูกนำไปลงทุนในตลาดการเงินให้ได้ดอกผลก่อน  สวัสดิการและชีวิตคนจึงเข้าไปพัวพันกับระบบตลาดอย่างใกล้ชิด     

  

ประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจเกิดขึ้นพร้อมๆกับความเสี่ยงและความไม่มั่นคงในชีวิต (จากเดิมที่รัฐเข้ามาช่วยดูแล) ....  อาจารย์เกษมวิเคราะห์จากบริบทในต่างประเทศ

  

ถ้ามองกลับมาที่ประเทศไทย

  

อาจารย์สมศักดิ์ ตั้งประเด็นว่า   ประชานิยมเป็นการแทรกแซงของรัฐ ซึ่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิงจากเสรีนิยมใหม่ 

    

เราแย้งว่า    รัฐไทยเป็นส่วนหนึ่งของระบบตลาดมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว (เช่น ทุนนิยมภาคราชการตั้งแต่สมัยจอมพล ป.)  รัฐไทยไม่เคยมีบทบาทในการลดความเสี่ยงและการสร้างความมั่นคงในชีวิต (แต่อาจกลับทำตรงข้าม)

  

นโยบายเช่น กองทุนหมู่บ้าน  ทำให้ชาวบ้านมีเงินซึ่งถึงที่สุดก็ถูกใช้ไปในระบบตลาด   หรือโอทอป...จากท้องถิ่นสู่สากล..ก็เพื่อการขายเข้าสู่ระบบตลาด  ประชานิยมจึงดึงท้องถิ่นเข้าสู่ระบบเสรีนิยมใหม่โดยมีรัฐเป็นตัวกลางหรือตัวช่วย    ไม่ต่างจากนโยบายอื่นๆในอดีต ... เพียงแต่มีประสิทธิผลมากกว่าด้วยซ้ำ...

  

ถ้ามองกลับมาที่กองทุนสวัสดิการชุมชนในบัจจุบัน ?? 

  

คนที่คิดตรงข้ามกับเสรีนิยมใหม่ คือ อมาตยา เซน  นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 1998   ที่มีส่วนช่วยให้โลกหันมาสนใจ การพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง 

  

ในขณะที่เสรีนิยมใหม่ให้ความสำคัญกับ  การมีเสรีภาพของปัจเจกตามศักยภาพ   อมาตยา เซน  กลับให้ความสำคัญกับ การสร้างศักยภาพเพื่อให้ปัจเจกมีเสรีภาพ  

  

ขออนุญาตตั้งคำถามฝากเพื่อนๆช่วยคิดว่า   กองทุนใดๆในชุมชนนั้น  มีเพื่อประการแรก หรือ ประการที่สอง หรือไม่ใช่ทั้งสอง

  

องค์กรการเงินชุมชนและสวัสดิการชุมชนถูกผนวกเข้าไปสู่ระบบเสรีนิยมใหม่หรือไม่  อย่างไร

อาจเป็นคำถามที่ไม่มีประโยชน์สำหรับการขับเคลื่อน  แต่คงเป็นประโยชน์สำหรับการทบทวนก่อนก้าวต่อ...

   
หมายเลขบันทึก: 154502เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ปัจจุบัน ระบบตลาดครอบครองพื้นที่ในชีวิตเกือบหมด ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนกระทั่งกลับเข้านอนอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อปี2528 กว่า20ปีแล้ว ผมจบใหม่ไปอยู่สวนที่สตูลกับอาจารย์คะเน อาจารย์ทำบัญชีรับจ่ายในสวนไว้ เราอยู่กัน3-4คน เดือนนึงจ่ายประมาณ1,000บาท

ตลาดช่วยแบ่งเบางานในชีวิต ใครๆก็เลือกทำงานได้เงิน แล้วเอาเงินไปจ้างคนอื่นทำในส่วนที่ตัวเองทำไม่ได้ ทำได้ไม่ดีเท่า หรือทำได้ดีกว่าแต่ใช้เวลามากกว่าซึ่งอาจเอาเวลาไปทำเรื่องที่ได้เงินมากกว่า

เป็นการเลือกงาน(ที่ชอบ)หรือเงิน

ส่วนใหญ่คนคงเลือกเงิน ถ้าใครเลือกเงินแล้วตรงกับงานที่ชอบก็โชคดีไป คนส่วนใหญ่คงไม่มีที่ทางให้เลือกมากนัก กลุ่มศิลปินดูจะเลือกงานมากกว่าเงิน

 

 

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

แต่เดี๋ยวนี้ ศิลปินได้เงินมากกว่างานแล้วนะคะ  คนรุ่นใหม่จึงอยากเป็นดาราศิลปินกันมาก

"คนส่วนใหญ่คงไม่มีที่ทางให้เลือกมากนัก"  ตรงนี้น่าสนใจค่ะว่า  ทางเลือกของเราหายไปไหนหมด เพราะเหตุใด

" ตลาดช่วยแบ่งเบางานในชีวิต ใครๆก็เลือกทำงานได้เงิน แล้วเอาเงินไปจ้างคนอื่นทำในส่วนที่ตัวเองทำไม่ได้ ทำได้ไม่ดีเท่า หรือทำได้ดีกว่าแต่ใช้เวลามากกว่าซึ่งอาจเอาเวลาไปทำเรื่องที่ได้เงินมากกว่า"

ที่จริงบทวิเคราะห์ของอาจารย์ภีมเป็นเศรษฐศาสตร์ ได้คะแนนเต็มเลยค่ะ   เพียงแต่เศรษฐศาสตร์อาจใช้คำว่า "รายได้"  แทนคำว่า "เงิน"  (เพราะมีรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน)

คนหนึ่งคนเปลี่ยนทางเลือก  ก็มีผลกระทบต่อ "ระบบความสัมพันธ์" กับคนรอบตัวด้วย  เศรษฐกิจกับสังคมจึงแยกกันยาก

เสรีนิยมใหม่  หรือ "ตลาด" ที่ช่วยเพิ่มทางเลือกให้ชีวิตผู้คน   จึงมีผลกระทบในวงกว้างมาก

 

 

ในขณะที่เสรีนิยมใหม่ให้ความสำคัญกับ 

การมีเสรีภาพของปัจเจกตามศักยภาพ  

อมาตยา เซน  กลับให้ความสำคัญกับ

การสร้างศักยภาพเพื่อให้ปัจเจกมีเสรีภาพ  

  

ขออนุญาตตั้งคำถามฝากเพื่อนๆช่วยคิดว่า   กองทุนใดๆในชุมชนนั้น  มีเพื่อประการแรก หรือ ประการที่สอง หรือไม่ใช่ทั้งสอง

.......................................................  

 น่าสนใจดีคะ  ในชุมชนเอง  เรื่องกองทุน น่าจะมีความเข้าใจกันไปหลายระดับ และส่วนมาก  เป็นการเพิ่มหนี้ แต่ข้อดี คือการที่ชาวบ้านได้มาพึ่งกันเองในรูปกลุ่มมากขึ้น

 หน่อยว่า ในชุมชนเอง มีทั้งสองประเด็นคะอาจารย์ แต่คนทำงาน ต้องค่อยๆอาศัยเงื่อนไขเหล่านี้ ในการเพิ่มศักยภาพที่ดีของปัจเจก

แล้วเชื่อมแต่ละปัจเจกมาทำสิ่งดีๆร่วมกัน แต่ต้องใช้เวลา น่ะคะ

เขียนไปมา งงเองเล็กน้อย...

ไม่งงหรอกค่ะคุณหน่อย   คิดในเชิงบวกไว้ก็จะมีทางออกเสมอนะคะ

คำว่า "เสรีภาพ" นี่เป็นคำฝรั่ง  ที่ซ่อนอยู่ข้างหลังความคิดของอมาตยาเซน คือ  ศักดิ์ศรี การสามารถเคารพตนเองได้   ทอนลงมาอีกก็คือ ความเชื่อมั่นในตนเอง ว่าเราก็มีดี  ทำอะไรที่ดีๆได้  เมื่อเชื่อมั่นก็กล้าแสดงออกถึงความคิดของตัวเอง  อมาตยา เซน ให้ความสำคัญกับเวทีสาธารณะ ที่แต่ละคนสามารถแสดงความคิดของตัวเองได้   เป็น "เสรีภาพ"ในการแสดงความเห็น และเสรีภาพในการเลือก  

กระบวนการชุมชนทำให้เกิดเวทีสาธารณะที่ผู้คนได้มีส่วนร่วม และมีศักดิ์ศรีในตัวเอง  ใช้ศักยภาพที่ตัวเองมีอยู่

หากกองทุนใดๆ มีส่วนหนุนเสริมช่วยเพิ่มศักยภาพของสมาชิก ไม่ทางใดทางหนึ่งก็คงจะเป็นสิ่งดี

แต่แนวคิดเชิงพุทธ   เราให้ความสำคัญกับระบบคุณค่าอย่างอื่นที่ไม่ใช่ "เสรีภาพ"   ระบบคุณค่านั้นคืออะไร

 

อมาตยา เซน คืออะไรครับ

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

อมาตยา เซน เป็นนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 1998 ตามที่เขียนไว้ข้างบนค่ะ

ไว้มีเวลาแล้วจะเขียนถึงอีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท