ขี่ม้าชมเมือง.. ตานก..ตาหนอน..ตาใส


ปัญหาคือ นกกับหนอนไม่ค่อยได้คุยกัน หรือคุยกันคนละภาษา (ด้วยยึดติดกับภาษาของตัวมากเกินไป) สังคมจึงไม่ได้ประโยชน์จากความรู้กว้างและความรู้ลึกที่นำมาผสม “แปลเป็นเครื่องมือ” ในการทำให้สังคมดีขึ้น

นักวิชาการหลายสาขาทำตัวแบบ นก   คือบินมองจากที่สูง  ข้อดีของ ตานก  คือ มองเห็นภาพกว้าง  เห็นบริบทแวดล้อม  มองเห็นโครงสร้างและระบบ  แต่กลับเข้าไม่ถึงรายละเอียด ไม่เห็น คน ที่อยู่ในบ้านหรืออยู่ใต้ต้นไม้ในสวน  และมีโอกาสตีความผิดได้ไม่ต่างกับการแปลภาพจากดาวเทียม  

   

อีกแบบคือ ทำตัวแบบ หนอน    ข้อดีของ ตาหนอน  คือเข้าใจรายละเอียดในพื้นที่ได้ดี   แต่อาจจะมองภาพเชิงโครงสร้างได้ไม่ครบถ้วน

  

ปัญหาคือ  นกกับหนอนไม่ค่อยได้คุยกัน  หรือคุยกันคนละภาษา (ด้วยยึดติดกับภาษาของตัวมากเกินไป)   สังคมจึงไม่ได้ประโยชน์จากความรู้กว้างและความรู้ลึกที่นำมาผสม แปลเป็นเครื่องมือ ในการทำให้สังคมดีขึ้น  

   

นักวิชาการบางคนเก่งเป็นได้ทั้งนกและหนอน  แต่ก็ต้องทำงานหนัก มีทีมงาน และใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือนอกเหนือจากการวิจัยอย่างเดียว

  

ระหว่างนกกับหนอน  มีการทำวิจัยอีกลักษณะหนึ่งคือ  ขี่ม้าชมเมือง   (ประเภททำแบบสำรวจเก็บข้อมูลปฐมภูมิ) นักวิจัยเหล่านี้เห็นภาพระยะใกล้มากกว่านกแต่ก็ไม่ใกล้แบบหนอน   เห็นภาพระยะไกลมากกว่าหนอนแต่ก็ไม่ไกลอย่างนก         ความรู้จึงครึ่งๆกลางๆ   ขึ้นอยู่กับว่า  ขี่ม้าชมหลายรอบ หลายพื้นที่หรือไม่    แม้พอจะเป็นตัวกลางเชื่อมความรู้ระหว่าง นกกับหนอนได้บ้าง   แต่นกก็ไม่สนใจ  หนอนก็ไม่สนใจ

  

จะมีก็เพียง คน ตาใส   คือนักศึกษาที่นั่งฟังด้วยความสนใจ  

    
คำสำคัญ (Tags): #นักวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 154498เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • นี่ก็เป็นจุดอ่อนของเมืองไทย  ทั้งๆที่รู้  แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรให้คนหลากหลายความคิดเห็นและประสบการณ์  เปิดใจมาร่วมกันทำงาน  อิอิ

ยังถือว่าโชคดีที่มีคน ตาใส นั่ง ฟังด้วยความสนใจ

เพราะคนตาใสส่วนใหญ่ใช้วิชาจัดการความรู้
เล็งที่ผลลัพธ์เท่านั้น
สอบผ่านได้กระดาษ1ใบถือว่าสำเร็จแล้ว

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ปัทม์ อ.ภีมด้วย เวลามีอะไร จะให้ อ.ภีมช่วยเหลือล่ะ คิดถึงทุกที :-)
  • ปิ๊งนิทานอีกหนึ่งเรื่องครับ เรื่องนกกับหนอน และคงสรุปในตอนท้ายว่า ในที่สุดหนอนจึงเป็นเหยื่อของนก แต่กรณีที่ท่านอาจารย์วิเคราะห์คงไม่ใช่นิทานนกกินหนอนนะครับ
  • จากข้อคิดที่ อ.ภีม พิมพ์ลงไป ทำให้ผมต้องมาคิดว่า ตกลง ผมจะยอมรับดีหรือว่าไม่ยอมรับดี กับ ให้ได้เพียงกระดาษ ๑ ใบ ก็พอ โดยไม่ต้องใส่ใจว่าจะได้มาอย่างไร หรือ มีวิธีการเพื่อให้สอบผ่านมาได้อย่างไร
  • เรียน ท่านรอง คนชอบวิ่ง ผมเข้าใจว่า น่าจะมีทางแก้ไขนะครับ :-)
  • ขอให้มีความสุขกับสิ่งใหม่ๆนะครับบบบ

สวัสดีค่ะคุณหมอ  อ.ภีม และ อ.เอก

บางคนอาจเป็นแบบอาจารย์ภีมว่า  แต่คนตาใส (เพราะยังเห็นโลกไม่มาก) หลายคนก็รักดีและคิดดี  อยากให้สังคมดีขึ้นเหมือนกัน  อยู่ที่คนตาขุ่นอย่างพวกครูอาจารย์ พ่อแม่ที่เห็นโลกมามากจะเอาแว่นแบบไหนใส่ให้เขา  

เท่าที่เจอ   พ่อแม่นั้นตัวดีมาก ที่ใส่ความรู้สึกเชิงปัจเจก การเอาดีเพื่อตัวเอง  การแข่งขัน การมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยไม่ใส่ใจวิธีการว่าถูกหรือผิด  สิ่งเหล่านี้ถูกใส่เข้าไปในตัวเด็กมาตลอด 17-18 ปี   เมื่อมาถึงมหาวิทยาลัยก็ต้องมาตั้งต้น สร้างความคิดกันใหม่  แต่อาจารย์หลายคนก็ละเลยเรื่องนี้

อันที่จริง  นักศึกษามีศักยภาพเยอะทีเดียวถ้าเราสร้าง "แรงบันดาลใจ"  ไม่ใช่ "แรงจูงใจ"  ให้เขาอย่างเหมาะสม

ในวิชาที่สอน  ได้มีการบ้านให้เด็กๆไปคุยกับคนชนบทที่มาอยู่ในกรุงเทพฯ เช่น คนรอบๆมหาวิทยาลัย วันนี้ให้เด็กๆมานั่งคุยกันว่าเจออะไรมาบ้าง  และจะสรุปสิ่งที่เจออย่างไร

ยากตรงบทสรุปนี่แหละค่ะ...  ว่ามันจะเชื่อมโยงไปสู่มุมมองในเชิงเศรษฐกิจสังคมอย่างไร  

ถ้านักศึกษาได้เพียงกระดาษหนึ่งใบกลับไปหลังจากสี่ปี  ก็ถือว่าเราล้มเหลวค่ะ

 

 

น่าสงสารคนไทยดำดำ ที่ยังไม่รู้ชะตากรรมของประเทศ

ขอสารภาพว่าผมเป็นนักจัดการความรู้คนหนึ่งที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ให้ได้กระดาษ1ใบตั้งแต่เป็นนักศึกษา

ผมเรียนเพื่อให้สอบผ่าน สอบผ่านก็ลืมเนื้อหาที่เรียน

พยายามทบทวนดูว่าผมได้อะไรจากกระบวนการโรงเรียนและมหาวิทยาลัยบ้างที่เป็นฐานความรู้และ ความใส่ใจเรียนรู้ ที่เหลือเป็นการตัดสินใจในโอกาสและอุปสรรคที่จรเข้ามาจนเป็น "ตัวเรา" ในทุกวันนี้

คิดว่าการได้แค่กระดาษเพียง 1 ใบ มีสองสาเหตุ

สาเหตุแรก คือ  นักศึกษาคิดว่า เนื้อหาการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยไม่ให้อะไรที่เป็นประโยชน์ 

ประการที่สอง คือ  นักศึกษามุ่งการสอบและเกรดเป็นตัวตั้ง  เกียรตินิยมมาก่อน  ความรู้มาทีหลัง

ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน  มหาวิทยาลัยและผู้สอนมีส่วนรับผิดชอบ

อาจารย์มีสองหน้าที่คือ สร้างคนกับสร้างความรู้เพื่อสังคม   ... ไม่ว่าจะใช้วิธีแบบนก แบบหนอน แบบคนขี่ม้าก็มีประโยชน์และมีข้อจำกัดในตัวของมันเอง  ..คงต้องหาจุดอ่อนจุดแข็งของตัวให้เจอ

....อ้อ เพิ่งนึกออกว่ามีหนอนอีกแบบ ... หนอนหนังสือไง...

ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นค่ะ 

 

การเล่นเด็กไทยมีอะไรบ้าง

พ่อผมชื่อวุดครับแม่ผมชื่ รี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท