สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (www.clt.or.th)


ตอนที่ 1
           สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นสถาบันซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511  ซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 104 ว่า
          "ให้มีสถาบันขึ้นสถาบันหนึ่ง เรียกว่า "สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย" ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความกว้าวหน้าแก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั่วราชอาณาจักร อันมิใช่เป็นการหาผลกำไร หรือรายได้แบ่งปันกัน"
          บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวนี้แม้จะมีข้อความเพียงสั้นๆ ซึ่งไม่ยุ่งยากแก่การทำความเข้าใจมากนัก แต่ในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องแล้วก็ยังเป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการ หรืองานของสันนิบาตสหกรณ์ฯ มีความสงสัย หรือมีความสับสนกันอยู่เสมอๆ เกี่ยวกับสถานภาพ อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนการบริหารงาน และการดำเนินงานรของสันนิบาตสหกรณ์ฯ
          การจะทำความเข้าใจในสถานภาพ วัตถุประสงค์ หน้าที่ความรับผิดชอบ ตลอดจนการดำเนินงานของสันนิบาตสหกรณ์ฯ นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงประวัติความเป็นมาและเหตุผลในการจัดตั้งสันนิบาตสหกรณ์ฯ ประกอบไปด้วย ซึ่งประวัติความเป็นมาเหตุและเหตุผลในการจัดตั้งสันนิบาตสหกรณ์ฯ ดังกล่าวนี้จะสามารถศึกษาได้จากวิวั๖มนาการของการสหกรณ์ในประเทศไทยซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปดังนี้
การจัดตั้งสหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทย
          จากจุดเริ่มต้นของขบวนการสหกรณ์ของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2549 เมื่อรัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะทดลองใช้วิธีการสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินและการประกอบอาชีพของชาวนาผู้ยากจน นั้น พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ  ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยกรณ์ และนายทะเบียบสหกรณ์พระองค์แรก ได้ทรงนำเอาหลักและวิธีการของสหกรณ์เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ของชาวชนบทในประเทศเยอร์มันมาเป็นแบบอย่างในการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย  โดยได้จัดตั้งเป็นสหกรณ์หาทุนขึ้น เป็นแห่งแรกที่ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใช้ชื่อว่า "สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกันสินใช้" จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสมาคม (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2459 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 มีสมาชิกแรกตั้ง 16 คน มีทุนดำเนินงานซึ่งกู้จากธนาคารสยามกัมมาจล จำกัด จำนวน 3,000  บาท
ระยะเวลาแห่งการขายการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนและออกกฎหมายสหกรณ์
          เนื่องจากการดำเนินงานของสหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในการจัดหาเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืมไปไถ่ถอนหนี้สินเดิมและเพื่อการประกอบอาชีพ ในปีต่อมาก็ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนเพิ่มขึ้นอีกในจังหวัดลพบุรี และได้มีการขยายการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนในรูปแบบเดียวกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในท้องที่จังหวัดอื่น ๆ การขยายตัวของการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนดังกล่าว เป็นผลให้รัฐบาลต้องตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ขึ้นใช้โดยเฉพาะเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2471 ซึ่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ฉบับนี้ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นอี 2 ครั้ง ในพ.ศ. 2476 และ พ.ศ.2477
ระยะเวลาการจัดตั้งและขยายตัวของสหกรณ์ประเภทอื่นๆ
          หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2471 แล้วก็ได้มีการขยายตัวของกิจการสหกรณ์ในประเทศไทยออกไปอย่างกว้าวขวางและรวดเร็วมาก นอกจากจะมีการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนเพิ่มมากขึ้นแย้วยังมีการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์รูปอื่นๆ ขึ้นด้วย เช่น ร้านสหกรณ์ในปี พ.ศ. 2480 สหกรณ์นิคมในปี พ.ศ. 2581 สหกรณ์ออมทรัพย์ในปี พ.ศ. 2492 และสหกรณ์ประมงในปี พ.ศ. 2497  สหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรมในปี พ.ศ. 2502ฯลฯ เป็นต้น จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2510 ปรากฎมีจำนวนสหกรณ์ทุกประเภททั่วประเทศถึง 10,687 สหกรณ์
          พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 นี้ เป็นผลให้มีการปรับปรุงในโครงสร้างและการดำเนินงานของขบวนการสหกรณ์ของประเทศเป็นอย่างมาก กล่าวคือนอกจากสหกรณ์หาทุนขนาดเล็กในระดับหมู่บ้านจะถูกควบเข้าด้วยกันเป็นสหกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่ในระดับอำเภอแล้ว ยังมีการแบ่งประเภทสหกรณ์เสียใหม่ มีการจัดตั้งสหกรณ์รูปใหม่ๆ รวมทั้งขชุนนุมสหกรณ์ระดับต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย จนเป็นผลให้ ขบวนการสหกรณ์ของไทยประกอบด้วยสหกรณ์ประเภทต่างๆ รวม 6 ประเภทดังนี้
          1.  สหกรณ์การเกษตร
          2.  สหกรณ์นิคม
          3.  สหกรณ์ประมง
          4.  สหกรณ์ออมทรัพย์
          5.  สหกรณ์ร้านค้า
          6.  สหกรณ์บริการ
          นอกจากนี้ยังมีชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติอีก 10 ชุมนุม สหกรณ์สมาชิก 986 สหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ระดับจังหวัดอีก 73 ชุมนุม สหกรณ์สมาชิก 965 สหกรณ์
         
          การพัฒนางานสหกรณ์ในแต่ละช่วงระยะเวลที่ผ่านมานนั้น ส่วนใหญ่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการริเริ่มแนะนำและส่งเสริมจากภาครัฐบาลหรือทางราชการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามบรรดาผู้นำทางสหกรณ์ในอดีตต่างก็ตระหนักดีว่าการจะเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าความเข้มแข็งและความมั่นคงในการดำเนินงานให้แก่สหกรณ์ทุกประเภทตามอุดมการณ์ของสหกรณ์นั้น เป็นภาระหน้าที่อันสำคัญของขบวนการสหกรณ์ และจะอาศัยการริเริ่มส่งเสริมสนับสนุนจากทางราชการแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ บรรดาผู้นำสหกรณ์ในอดิตทั้งหลายจึงได้พยายามหาทางให้มีการจัดตั้งองค์กรในภาคของขบวนการสหกรณ์ขึ้น เพื่อรับเอาภาระหน้าที่ดังกล่าวไปจากภาครัฐบาล โดยได้มกีรดำเนินการเป็นขั้นตอนมาตามลำดับ โดยสรุปดังนี้ในข้อเท็จจริงของการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ทุกประเภทนี้นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวด้วยเรื่องการเงิน ฉะนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้นายทะเบียบสหกรณ์ หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้ง ต้องตรวจบัญชีของสหกรณ์อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ รวมทั้งทางราชการจะได้ทราบฐานะทางการเงินอันแท้จริงของสหกรณ์อันจะทำให้ข้อมูลต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ทางราชการได้ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการตรวจบัญชีของสหกรณ์ต่าง ๆ นี้ทางราชการต้องเสียค่าใช้จ่ายปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนเงินมิใช่น้อย ทางราชการจึงเห็นว่า เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล จึงได้กำหนดสหกรณ์ต่างๆ ให้ช่วยออกค่าใช้จ่ายในการตรวจบัญชีซึ่งเรียกว่า "ค่าธรรมเนียมการตรวจบัญชี" จ่ายเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดิน โดยคิดในอัตราพันละหนึ่งของทุนดำเนินงานในวันสิ้นปีทางบัญชีสหกรณ์

 

หมายเลขบันทึก: 154451เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ข้อมูลข้างต้น มีประโยชน์  ทำให้ผู้สนใจ รู้จัก สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย มากขึ้น

 

ตอนท้ายของบทความควรใส่ ชื่อเว็บ ของสหกรณ์ฯ ด้วยจะดีมาก 

 

ส่งกำลังใจมาให้  ขอบใจที่แวะเข้าไปเยี่ยม Blog ของผม

ขอให้โชคดี

สวัสดีค่ะอาจารย์ยม

           ดีใจมากค่ะที่อาจารย์แวะเข้ามาใน Blog  และจะใส่เว็บของสันนิบาตสหกรณ์ฯ เพิ่มเติม  หากส่วนไหนที่อาจารย์เห็นว่าต้องปรับปรุง บอกได้เลยค่ะ ยินดีมากด้วยค่ะ และขอขอบคุณกำลังใจที่อาจารย์ส่งมาให้ค่ะ

  • สวัสดีครับน้องปุย
  • ขอบคุณที่นำความรู้ดีๆมาแบ่งปันครับ

สวัสดีค่ะ

              คุณเขียวมรกตขอบคุณมากที่แวะเข้ามาในบล็อก  และขออนุญาตเรียกว่าพี่นะค่ะ

              ปุยจะได้นำความรู้เกี่ยวกับ เรื่องสหกรณ์มาลงในบล็อกให้พี่ และทุกท่านได้อ่าน อย่างน้อยทุกท่านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องสหกรณ์ เพราะปุยทำงานทางด้านนี้  ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ค่ะ

สวัสดีครับ คุณสารินี (ปุย)

ผมมีโอกาสเข้ามาเยี่ยมบล็อกคุณ ถือว่าเป็นประโยชน์กับ สสท มาก ขอเป็นกำลังใจให้ทำต่อไป เพื่อชาวบล็อกที่สนใจเรื่องราวของสันนิบาตสหกรณ์ฯ ก็ขอเข้ามาแชร์เรื่องการจัดตั้งสหกรณ์ สำหรับท่านที่สนใจ

การจัดตั้งสหกรณ์

มาตรา 33 สหกรณ์จะตั้งขึ้นได้โดยการจดทะเบียนตาม พรบ.สหกรณ์ และต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิกโดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามหลักการสหกรณ์ และต้อง

1) มีกิจการร่วมกันตามประเภทของสหกรณ์ที่ขอจดทะเบียน

2) มีสมาชิกเป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ

3) มีทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน และสมาชิกแต่ละคนจะต้องถือหุนอย่างน้อยหนึ่งหุ้น แต่ไม่เกินหนึ่งในห้าของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด

4) มีสมาชิกซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับภายใต้บทบัญญัติมาตรา 43 (7)

ประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียนให้กำหนดโดยกฎกระทรวง ปัจจุบันมี 7 ประเภท คือ

1) สหกรณ์การเกษตร

2) สหกรณ์นิคม

3) สหกรณ์ประมง

4) สหกรณ์บริการ

5) สหกรณ์ร้านค้า

6) สหกรณ์ออมทรัพย์

7) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

มาตรา 34 ผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้น ต้องประชุมกันเพื่อคัดเลือกผู้ที่มาประชุมให้เป็นคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์จำนวนไม่น้อยกว่าสิบคน เพื่อดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ โดยให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำเนินการดังต่อไปนี้

1) พิจารณาเลือกประเภทของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งนั้น

2) กำหนดแผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด (ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นนายทะเบียน ซึ่งอาจจะมอบอำนาจให้รองนายทะเบียน ผู้ตรวจการสหกรณ์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมายให้ปฏิบัติการแทนได้)

3) ทำบัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพร้อมด้วยจำนวนหุ้นที่แต่ละคนจะถือเมื่อจัดตั้งสหกรณ์แล้ว

4) ดำเนินการร่างข้อบังคับภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 43 และเสนอให้ที่ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพิจารณากำหนดเป็นข้อบังคับของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้น (ปัจจุบันกรมส่งเสริมสหกรณ์จะมีตัวอย่างร่างข้อบังคับไว้ให้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วต่อการจัดทำ)

มาตรา 35 การขอจดทะเบียนสหกรณ์ ให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ยื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์พร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้

1) สำเนารายงานการประชุมตามมาตรา 34 จำนวนสองชุด

2) แผนดำเนินการตามมาตรา 34 (2) จำนวนสองชุด

3) บัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพร้อมลายมือชื่อ และจำนวนหุ้นที่แต่ละคนจะถือเมื่อจัดตั้งสหกรณ์แล้ว จำนวนสองชุด

4) ข้อบังคับตามมาตรา 34 (4) จำนวนสี่ชุด

มาตรา 36 นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลใด ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนสหกรณ์ได้

ในการพิจารณารายการที่เกี่ยวกับคำขอ หรือรายการในข้อบังคับของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้น ถ้านายทะเบียนสหกรณ์เห็นว่ารายการดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือยังมิได้ดำเนินการตามมาตรา 34 นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจสั่งให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์แก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องได้

มาตรา 37 เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า สหกรณ์ตามที่ขอจดทะเบียนมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 33 คำขอจดทะเบียนมีเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามมาตรา 34 และการจัดตั้งสหกรณ์ตามที่ขอจดทะเบียนจะไม่เสียหายแก่ระบบสหกรณ์ ให้นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียน และออกใบสำคัญรับจดทะเบียนให้แก่สหกรณ์นั้น

ให้สหกรณ์ที่ได้จดทะเบียนล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล

มาตรา 38 ในกรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน ให้แจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์โดยไม่ชักช้า

คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ มีสิทธิ์ยื่นคำอุธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ โดยยื่นคำอุธรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติให้เป็นที่สุด

ผมขอจบเพียงแค่นี้ก่อน ถ้าหากมีผู้ที่สนใจ ก็จะเข้ามาแชร์ร่วมกับท่านอีก

เกี่ยวกับการจัดตั้งสหกรณ์จะให้มีคุณภาพนั้น คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ควรทำความเข้าใจกัลกลุ่มสมาชิก โดยการเชิญผู้รู้มาอบรมให้ความรู้เรื่องสหกรณ์ หลักการ อุดมการ วิธีการสหกรณ์แก่กลุ่มคนที่จะรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ก่อน เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของสหกรณ์ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของสมาชิกอย่างไรบ้าง เมื่อสมาชิกมีความเข้าใจลึกซึ้งถึงแก่นแท้ของสหกรณ์แล้ว สหกรณ์ของท่านก็จะมีความเข้มแข็งเพราะเกิดขึ้นบนความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มสมาชิก เพราะการเป็นสมาชิกสหกรณ์ไม่ใช่จะมาเพื่อกู้เงินได้อย่างเดียว แต่สหกรณ์จะสามารถเหลือเกื้อกูลกันได้อีกหลายด้าน บนหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตรงนี้สำคัญ ต้องเตรียมการตั้งแต่ยังไม่เกิด เพราะถ้าสหกรณ์เกิดบนพื้นฐานของความไม่เข้าใจในหลักปรัชญาของสหกรณ์แล้วก็ยากที่จะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกครับ จะเป็นสหกรณ์ที่แท้จริง ต้องเน้นคน (สมาชิก) เพราะสหกรณ์เป็นของสมาชิกโดยสมาชิก เพื่อสมาชิก ถ้าสมาชิกไม่เข้าใจก็อย่าเสียเวลาเลยครับท่าน เพราะปัจจุบันสหกรณ์เทียมก็มีเยอะ ซึ่งจะเป็นตัวทำลายความน่าเชื่อถือของบรรดาสหกรณ์ทั่วไปที่ดี ๆ

สวัสดีครับ วันนี้อยากจะถือโอกาสแนะนำบริการที่ศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัส (น.ม.ส.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสันนิบาตสหกรณ์ฯ ที่ให้บริการด้านที่พัก ห้องประชุม ห้องอาหาร สำหรับงาน HRD หรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสหกรณ์ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญยิ่งของสันนิบาตสหกรณ์ฯ และในปี 2552 นี้ ศูนย์ฯ ได้มีการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการใหม่เกือบทุกด้าน ทั้งในส่วนห้องพักก็มีการอัพเกรดให้มีความสวยงามได้มาตรฐานโรงแรมมากขึ้น จัดทำเคาน์เตอร์บริการส่วนหน้า (Front Office) มีห้องโถงต้อนรับ (Lobby) เพื่ออำนวยความสะดวกสบายสำหรับผู้มาใช้บริการ ห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง ห้องอาหาร "ครัวสหกรณ์" ปรับโฉมใหม่หมด พร้อมแล้วที่จะให้บริการสำหรับทุกท่าน ทั้งสหกรณ์และบุคคลทั่วไป เราจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นศูนย์การประชุมที่ได้มาตรฐานทั้งสินค้าและบริการ มีอุปกรณืทันสมัย ครัน ที่สำคัญศูนย์ฯ ของเรามีบรรยากาศเป็นธรรมชาติ ร่มรื่น ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร คือ ถนนพิชัย เขตดุสิต กทม. ติดกับพรรคชาติไทยพัฒนา ใกล้ที่ทำการรัฐสภา สวนสัตว์เขาดิน และสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ท่านที่สนใจจะมาพักที่นี่ ก็มีความยินดีครับ เราพร้อมที่จะให้การต้อนรับท่าน ด้วยความเต็มใจ เพราะที่นี่เราเป็นเหมือน บ้านหลังที่สองของท่าน หรือเป็นสโมสรของคนสหกรณ์ที่จะมาพบปะสังสรรค์ได้ตลอดเวลา เราบริการท่านในราคาแบบสหกรณ์ คือ เอื้ออาทรซึ่งกันแกน บนคำขวัญที่ว่า ท่านสำคัญเสมอสำหรับเรา.....

สวัสดีีคับ

อยากทราบความหมายและหน้าที่ของแต่ละสหกรณ์คับ

ขอบคุณคับ

และขอถามว่า สหกรณ์จำเป็นต้องมีคำว่าจำกัดยุท้ายชื่อไหมคับ

อยากทราบว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารพาณิชย์เขาก็ลดกันแล้ว ทำไมดอกเบี้ยเงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ไม่ลดลงบ้างครับ

“จากจุดเริ่มต้นของขบวนการสหกรณ์ของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2549” เพิ่งเริ่มเมื่อปี 2549 เองเหรอคะ นึกว่าตั้งแต่ 2459 เสียอีกค่ะ

เปิดให้เข้าพักหรือยังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท