KNOWLEDGE MANGEMENT


การจัดการความรู้
KM
บริษัทที่ใช้ KM
Business Innovation : การจัดการความรู้

ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ


ปัจจุบัน “Knowledge Management” หรือ “การจัดการความรู้” กำลังมีความสำคัญในทั้งองค์กรภาครัฐบาลและภาคเอกชน เช่น
รัฐบาลสิงคโปร์ที่กำลังพยายามทำให้เกาะเล็กๆ กลายเป็นเกาะอัจฉริยะ (Intelligence Island)

หรือองค์กรชั้นนำอย่างเช่น ฟูจิ-ซีร็อกซ์ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงจาก ‘Document Company” มาเป็น “Knowledge Enterprise Company”
ให้ได้ภายในทศวรรษนี้

Knowledge Management (KM) คือ กระบวนการจัดการข้อมูลทำให้เกิดองค์ความรู้ในองค์กร โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรมาช่วยในการจัดการความรู้อย่างสมดุล เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกระดับ ได้เข้ามามีส่วนร่วม
ในการแสดงความคิดเห็น ประสบการณ์ ได้อย่างเปิดเผย ต่อเนื่อง ตรงไปตรงมา เพื่อการพัฒนาโดยรวมขององค์กร

ตามหลักการแล้ว Chief Knowledge Office (CKO) เป็นผู้กำกับดูแลในด้านการจัดการความรู้โดยตรง โดยคุณลักษณะที่สำคัญสำหรับ
ผู้ที่จะเป็น CKO นั้น จะไม่ต่างกันกับผู้นำในส่วนอื่นๆ มากนัก

ยกตัวอย่างเช่น ต้องมีความเป็นผู้นำและมีกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ต้องสามารถสร้างและนำเสนอวิสัยทัศน์ของ
การจัดการความรู้ (KM vision) ต้องช่วย CEO ในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมาย ต้องสามารถสื่อสารและทำความเข้าใจกับผู้ที่
มีส่วนได้เสีย (stakeholders) และผู้ที่มีส่วนร่วมได้ ต้องมีความสามารถเป็นผู้ประสานงานกับองค์กรอื่นๆ และพันธมิตรขององค์กร และที่
สำคัญต้องเป็นผู้เปลี่ยนแปลงในฝ่ายต่างๆ ขององค์กรจากยุคอุตสาหกรรม (industry age) เพียงอย่างเดียวไปสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร
(information age)

สิ่งสำคัญที่ CKO ต้องตระหนักในการจัดการความรู้ คือการให้ความสำคัญต่อการประสานงานระหว่าง Human Resource (HR) กับไอที
อย่างสอดคล้อง อย่านำการจัดการความรู้ไปไว้ในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

ตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการนำเอาการจัดการความรู้มาใช้คือ บริษัทเดลล์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่จำหน่ายเครื่อง
คอมพิวเตอร์พีซี แบบประกอบตามคำสั่ง โดยเดลล์ได้ลงทุนสร้างระบบคลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไว้เก็บข้อมูลของชิ้นส่วนต่างๆ และส่วน
ประกอบของตัวเครื่องที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งสามารถเรียกดูได้ตลอดเวลา ระบบนี้ได้เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ แม้กระ
ทั่งลูกค้าก็ยังใช้ระบบนี้เพื่อสั่งคำสั่งซื้อ รวมทั้งผู้จัดส่งชิ้นส่วน(supplier) ก็สามารถรับคำสั่งซื้อจากเดลล์ได้แบบเรียลไทม์ (Real time)

ส่วนบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี) นำเอาการจัดการความรู้มาใช้ โดยเอชพีได้ลงทุนไปหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับลงทุนใน
อุปกรณ์สื่อสาร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทสามารถสนับสนุนให้พนักงานมีการแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคคลต่อบุคคลได้อย่างมีประสิทธิผล
รวมถึงผู้บริหารและพนักงานสามารถใช้เครื่องบินแวะเยี่ยมแผนกต่างๆ เพื่อการปรึกษาหารือพูดคุยโดยตรงกับทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์
ในแต่ละท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมออีกด้วย

ข้อมูลจากนิตยสารฟาร์อีสเทิร์นอีโคโนมิครีวิว ฉบับ พฤษภาคม 2002 กล่าวถึง Knowledge Management ที่ส่งผลให้บริษัทยักษ์ใหญ่
ด้านแฟชั่นค้าปลีกในเกาหลีใต้แห่งหนึ่งชื่อ "อี-แลนด์" (E-Land) สามารถพลิกตัวจากภาวะเกือบล้มละลาย กลายเป็นบริษัทที่สามารถ
เพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 70% และ รายได้สูงขึ้นกว่า 21% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ซึ่งกรณีของ อี-แลนด์ ที่ประสบความสำเร็จนั้น สืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบอินทราเน็ตภายใน เพื่อให้พนักงานสามารถพูดคุยกันได้
แถมยังมีระบบสะสมแต้ม คือ มีการทำแทร็คกิ้งออนไลน์ว่าพนักงานแต่ละคนเข้ามาถ่ายทอดประสบการณ์ตนเองมากน้อยแค่ไหน เพื่อ
ให้เพื่อนร่วมงานได้รับรู้ และเข้ามาเปิดอ่านข้อมูลอื่นๆ ที่เพื่อนๆ นำมาขึ้นไว้บนบอร์ด

ข้อมูลทั้งหมดที่นำขึ้นมาบนบอร์ดจะถูกจัดเก็บด้วยระบบดาต้าเบสอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถค้นหาหัวข้อที่ต้องการอ่านได้ และ
สำหรับพนักงานที่ได้มีการจัดสัมมนา หรือเลคเชอร์ให้เพื่อนๆ ได้รับถ่ายทอดประสบการณ์ของตน ก็จะได้รับแต้มสะสมพิเศษ เป็น
โบนัสพอยท์อีกต่างหาก

เมื่อแผนกใด หรือพนักงานคนใด ประสบความสำเร็จทางด้านยอดขาย การบริการลูกค้า หรือมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ก็จะมีการแชร์
ข้อมูลดังกล่าวไปยังพนักงานทุกคนในองค์กรอย่างตื่นเต้นและมีสีสันชวนติดตาม

ที่น่าทึ่งคือในการโปรโมทพนักงานแต่ละระดับ และในการประเมินผลงานประจำปีนั้น พนักงานทุกคนจะต้องยื่นประวัติส่วนตัวให้
หัวหน้างาน พร้อมทั้งระบุว่าในรอบปีที่ผ่านมา ได้มีการเรียนรู้และการถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเองอย่างไรบ้าง สะสมไปทั้ง
หมดกี่แต้ม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำมาใช้ในการประเมินขึ้นเงินเดือน โบนัส และตำแหน่งใหม่ จากตัวอย่างนี้

การกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากมายแต่อย่างใด แต่ต้องเป็นเป้าหมาย
หลักและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร รวมทั้งการทุ่มเทเวลาและกำลังคน เสริมด้วยความต่อเนื่อง และการวัดผลเป็นระยะๆ

สิ่งที่น่าท้าทายสำหรับ CKO มาจากความเข้าใจและตระหนักดีว่า ความรู้คืออำนาจ เพราะฉะนั้นผู้บริหารหลายๆ ท่านมักจะไม่ยอมปล่อย
ข้อมูลทั้งหลายลงมาสู่พนักงานระดับล่าง เพราะเกรงว่าเก้าอี้ตัวเองจะสั่นคลอนไปด้วย ตรงนี้จะเป็นอุปสรรคที่สกัดกั้นเป้าหมายของ
การจัดการความรู้ อย่างน่าเสียดาย

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 

นำเสนอโดย Smesmart Team : http://www.smesmart.is.in.th

     จากข้อมูลที่นำมาเสนอ  นับว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้อ่านเป็นความรู้ที่หลายๆ ท่านควรทราบไว้  เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ  ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการที่ทำงานตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ไปจนถึงระดับพนักงานทั่วไป  เพื่อสร้างกำลังคน  กำลังความรู้  เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี  นำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 153706เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2007 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท