เกมส์แห่งทางเลือก


การตัดสินใจเลือกหนทางในชีวิต

สอนคุณธรรมอย่างไร

ให้มีความพอเพียง

บทที่ 7/12

การตัดสินใจเลือกหนทางในชีวิต 

                                                                                  

จุดประสงค์ :   เพื่อรู้ รัก และฝึกจนเคยชิน

นิทานคติ  เรื่อง : เกมส์แห่งทางเลือก           

อติ เป็นชายหนุ่มที่มีความสมบูรณ์พร้อมคนหนึ่ง เขามีบ้านหลังใหญ่ เงินฝากในธนาคารจำนวนหนึ่งซึ่งทำให้เขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายจนแก่เฒ่า เขามีการงานที่มั่นคงอย่างยิ่ง ใครๆ ที่รู้จักกับอติ เห็นว่าเขานั้นดีสมกับชื่อของเขาอย่างยิ่ง แต่สำหรับอติเอง เขารู้สึกว่าชีวิตของเขาช่างไร้เป้าหมายอย่างยิ่ง            

วันหนึ่งอติลาพักร้อนเพื่อไปเที่ยวที่รีสอร์ทแห่งหนึ่ง รีสอร์ทแห่งนี้ไกลจากตัวเมืองและดูเล็ก แต่อติพบโฆษณาของรีสอร์ทในอินเตอร์เน็ต ข้อความที่น่าสนใจก็คือพบตัวตนและหนทางของคุณที่นี่นั่นทำให้เขาเลือกที่จะมาพักที่นี่ แต่เมื่อมาแล้วรีสอร์ทแห่งนี้ก็เหมือนกับที่อื่นๆ ไม่มีอะไรให้เขารู้สึกแตกต่างนัก บ้านพักหลังเล็กๆ สวนดอกไม้ ป่าต้นไม้ขนาดย่อมและลำธาร แค่นั้นเอง           

หากแต่คืนนั้น ที่เก้าอี้ใกล้ๆ กระท่อมของเขามีชายสองคนกำลังสนทนากันอยู่ อติอยู่ในบ้านได้ยินที่ทั้งสองคุยกัน ถึงเกมส์ๆ หนึ่ง ชายคนแรกดูมีอายุสักหน่อย อีกคนกลับยังดูเป็นหนุ่มน้อย คงเป็นญาติกัน           

ชายคนแรกเริ่มสนทนาว่า

 คนเรานะมีทางเลือกในชีวิตอยู่ทุกชั่วขณะ เพียงแต่ว่าเราจะเลือกที่จะทำอะไรเท่านั้น บางครั้งก็เลือกได้ถูกต้อง บางครั้งก็ผิดพลาดนะ ไอ้หลานชาย ลุงมีเรื่องเล่า 3 เรื่อง ทุกเรื่องมีทางเลือกหลายทาง และแต่ละทางเลือกมีปลายทางของมัน เจ้าลองฟังและลองตอบนะ

จากนั้นชายคนแรกก็เล่าเรื่องของเขา          เรื่องที่หนึ่งมีว่า ไม่นานมานี้ มีเพื่อนที่สนิทกัน 2คน ทั้งสองกำลังตกงานอยู่ เพื่อนคนแรกมีเงินในกระเป๋า 250 บาท อีกคนกลับมีเงินในกระเป๋าเพียง 60 บาท ระหว่างเดินหางานใหม่ ทั้งสองพบคนขายลอตเตอร์รี่ เพื่อนคนแรกชอบที่จะซื้อลอตเตอร์รี่เพื่อเสี่ยงโชค เขาจึงชวนเพื่อนเพื่อไปเลือกดูลอตเตอร์รี่ด้วยกัน คนขายกลับเหลือลอตเตอร์รี่อีกเพียง 3 ใบ ชายคนแรกตัดใจซื้อทันที่ 2 ใบ คนขายพยายามให้ซื้อใบสุดท้ายอีกใบ เขาก็จะขายหมด ชายคนแรกจึงมองไปที่เพื่อน เขารู้ว่าอีกฝ่ายมีเงินไม่พอที่จะซื้อ ส่วนเขาเองก็เหลือเงินไม่พอซื้อเช่นกัน แต่ก็สงสารคนขาย เขาควรทำอย่างไร และเขาก็คิดได้ทางเลือก 2 ทาง

1)   เขาได้ซื้อลอตเตอร์รี่ของเขาแล้ว และเขาควรเก็บเงินของเขาไว้เพื่อไปซื้อของกินเอง เพื่อนก็เป็นคนไม่ชอบลอตเตอร์รี่ เมื่อไม่สามารถซื้อได้ก็ไม่ต้องซื้อแล้วกัน

  2)   เขาเหลือเงินพอที่จะให้เพื่อนยืม เพียงแค่ไม่กี่บาท เพื่อนก็จะซื้อลอตเตอร์รี่ได้ และคนขายก็จะขายได้หมด ถ้าหากลอตเตอร์รี่ถูกขึ้นมา ก็จะได้โชคดีด้วยกัน           

ลุงหันมามองหลายชายแล้วถามว่า เจ้าเลือกได้คำตอบหรือยัง หลานชายพยักหน้า ลุงจึงกล่าวต่อว่า

 งั้นฟังเรื่องที่สองต่อนะ            เรื่องที่สองมีอยู่ว่า มีชายคนหนึ่งเรียนจบครู เขาเป็นคนเรียนเก่งมาก และสามารถสอบบรรจุครูได้เป็นที่หนึ่งของประเทศ เขาสามารถที่จะเลือกไปอยู่ที่โรงเรียนไหนก็ได้ และเขาก็กำลังจะแต่งงานกับหญิงสาวแสนสวยคนหนึ่ง ในใบตอบรับการทำงาน เขามองเห็นรายชื่อโรงเรียนต่างๆ ที่เขาจะเลือก แต่ในใจของเขากลับติดใจในโรงเรียนแห่งหนึ่ง โรงเรียนเล็กๆ ที่ภาคใต้ ห่างไกลและผู้คนที่แตกต่าง แต่มันกลับทำให้เขาอยากไปที่นั่น อีกใจก็กังวลกลัวว่าแฟนสาวจะไม่เห็นด้วย เขาควรเลือกโรงเรียนใหญ่ๆ ในกรุงเทพจะดีกว่า ทั้งสบาย เงินเดือนก็ดีกว่า สังคมก็เจริญ หากมีลูกก็จะได้เข้าเรียนที่นั่นได้เลย เขาครุ่นคิดอยู่หลายวัน แล้วเขาก็มีทางเลือก 3 ทาง

1)   เขาควรบอกแฟนสาว แล้วไปยังโรงเรียนที่เขาอยากไปที่สุด โรงเรียนห่างไกลที่ภาคใต้แห่งนั้น

2)   เขาควรเงียบไว้ก่อน ตอนนี้เขาควรเลือกทางที่สบาย ส่วนที่แห่งนั้นไว้ค่อยไปเมื่อมีโอกาสดีกว่า

3)   เขาควรไปที่โรงเรียนแห่งนั้นทันที แล้วจึงค่อยอธิบายต่อแฟนสาวทีหลัง เธอคงเข้าใจในตัวเขา

ลุงหันมามองหลายชายอีกครั้ง แล้วถามว่า เจ้าเลือกได้คำตอบหรือยัง หลานชายพยักหน้า ลุงจึงกล่าวต่อว่า

 งั้นฟังเรื่องที่สามต่อเลยดีกว่า            เรื่องที่สามมีอยู่ว่า เด็กหนุ่มคนหนึ่งอยู่บ้านเพียงลำพัง เพราะว่าครอบครัวไปเที่ยวต่างจังหวัดหลายวัน เขาไม่อยากไปด้วย จึงหาข้ออ้างที่จะอยู่เฝ้าบ้านให้ ซึ่งพ่อกับแม่ก็อนุญาต พอเพื่อนของเขาทราบก็พากันมาที่บ้านเพื่อชวนเขาให้จัดงานปาร์ตี้กัน คุณรู้ว่าถ้าจัดงาน บ้านก็ต้องรก สกปรก แล้วเสียงก็จะดัง นั่นจะทำให้เพื่อนบ้านบ่น ซึ่งพ่อกับแม่ของเขาก็ต้องรู้ด้วยอย่างแน่นอน แต่เพื่อนๆ ของเด็กหนุ่มพากันอ้างเหตุผลร้อยพันประการเพื่อให้เด็กหนุ่มจัดงาน เด็กหนุ่มนิ่งคิด และก็ได้ทางเลือก 2 ทาง

1)   จัดงานปาร์ตี้ก็ได้ แต่ต้องไม่ใหญ่ เสียงต้องไม่ดัง และดื่มได้เล็กน้อยก็พอ

2)   ยังไงพ่อกับแม่ก็ต้องรู้ งั้นก็จัดงานใหญ่ๆ ไปเลย

           

เมื่อเล่าจบ ลุงหันมามองหลายชายจากนั้นถามว่า

ลุงเล่าจบแล้ว เจ้าเลือกได้คำตอบหรือยัง

หลานชายพยักหน้า ลุงจึงถามต่อว่า

เจ้าตอบว่าไงบ้างละ

หลานชายยิ้ม แล้วตอบว่า

เรื่องที่หนึ่ง ผมเลือกตัวเลือกที่แรก ผมว่าชายคนแรกคงจะไม่ให้เพื่อนยืมเงินนะ ยิ่งยืมไปเพื่อซื้อลอตเตอร์รี่นี่คงทวงคืนกันยาก ไม่ว่าจะถูกหรือผิด เขาคงกลัวผิดใจกัน

อติซึ่งนิ่งฟังในกระท่อมมาพักใหญ่ พลันเปิดประตูออกมา แล้วเดินเข้าไปหาคนทั้งสอง พลางเอ่ยว่า

ขอโทษครับ พอดีผมได้ฟังเรื่องเล่าของลุง ผมขอร่วมตอบได้ไหมครับ เรื่องแรกนั้นผมว่าเป็นตัวเลือกที่สองนะครับ ถ้าเราซื้อได้ ก็ควรให้เพื่อนได้ซื้อด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะดูเห็นแก่ตัวอย่างไรก็ไม่รู้

ชายที่มีอายุหันมามองที่อติ แล้วก็ยิ้ม พลางพูดว่า งั้นมาดูปลายทางของทางเลือกกันนะ

หากเลือกทางที่หนึ่ง อย่างที่หลานของลุงตอบ คำตอบก็คือลอตเตอร์รี่ที่ซื้อจะไม่มีวันถูก และเพื่อนก็จะเห็นความไม่เอื้อเฟื้อของอีกฝ่าย แน่นอนทั้งสองจะไม่เป็นเพื่อนสนิทกันอีก เพราะฉะนั้นมันเป็นทางเลือกที่ไร้หนทางข้างหน้า ดังนั้นเมื่อรู้จงอย่างทำ

ลุงพูดพลางหันไปหาหลานชาย จากนั้นก็หันมามองที่อติ พลางกล่าวต่อว่าแต่ถ้าเลือกทางที่สอง ก็มีสิ่งที่คุณจะต้องตอบต่ออีก หากว่าลอตเตอร์รี่ที่เพื่อนอีกคนซื้อเกิดถูกขึ้นมา แต่เขาจะคืนให้แค่เงินที่เขายืมไป เพื่อนคนแรกจะมีอาการอย่างไร

อตินิ่งคิด เขารู้ว่าจะอย่างไร แต่มันก็ตะขิดตะขวงใจ เขาจึงมองไปที่ลุง พลางกล่าวว่า

ลุงมีทางเลือกไหมครับ

ลุงยิ้มแล้วก็ตอบว่าเอา มีก็ได้ ทางเลือกที่หนึ่ง ตะโกนใส่หน้าอีกฝ่ายว่า งกที่สุด แล้วเดินจากไป หรือว่า ชกหน้าอีกฝ่ายเลย หรือตัวเลือกสุดท้าย บอกอีกฝ่ายว่า เก็บเงินนั้นไว้เถอะ ไม่เป็นไรหรอกอตินิ่งคิดแล้วตอบว่าถ้าเป็นผมคงชกหน้าไอ้เจ้าเพื่อนคนนั้นแน่ๆ เลย

ลุงหัวเราะพลางบอกว่า

งั้นลุงเฉลยเลยนะ ถ้าชกอีกฝ่าย เขาก็จะบาดเจ็บ แต่เมื่อเขามีเงินก็จะแจ้งจับคนชกเข้าคุก และใครๆ ก็ต้องมองว่าคุณชกเพราะหวังในเงินของเพื่อนที่ถูกลอตเตอร์รี่  แต่ถ้าคุณแค่ตะโกนว่าอีกฝ่าย ก็จะต่างคนต่างๆอยู่ เขาก็ยังสุขสบาย แต่คุณจะเกิดแต่ความอิจฉา และคอยแต่จะริษยาเขา นั่นจะทำให้คุณโดดเดี่ยว ไม่มีเพื่อนอีกเลย เพราะว่าคุณก็จะไม่ไว้วางใจใครอีก  แต่ถ้าเลือกคำตอบสุดท้ายละ เพื่อนคนนั้นก็จะได้สำนึกว่าไม่ควรพูดเช่นนั้น แน่นอนเขาต้องให้คุณมากกว่านั้นแน่นอน อาจเป็นร้อย เป็นพันหรือเป็นหมื่นก็ได้ แถมยังจะเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันต่อไปอีกด้วย

จากนั้นลุงก็มองไปที่หลานชาย พลางกล่าวว่า

ความเป็นเพื่อนนะ จะต้องแบ่งปันกัน ยินดีเมื่ออีกฝ่ายได้ดี และต้องเลือกหนทางที่ดีที่สุดให้ได้ในเวลาที่เหมาะสม หากเลือกพลาดก็จะพบทางตันได้ง่ายๆ

     

จากนั้นลุงก็มองไปที่อติ แล้วก็พูดต่อว่าแล้วสำหรับเรื่องที่สองละ คุณเลือกคำตอบได้หรือยังอตินิ่งคิด พลางตอบว่า

ผมคงเลือกตัวเลือกที่หนึ่ง ผมคงบอกแฟนถึงโรงเรียนนั้น

เด็กหนุ่มก็ตอบเช่นกันว่า

แต่ถ้าเป็นผมนะ ผมจะไปที่นั่นก่อน ดูว่าเป็นอย่างไร แล้วค่อยบอกเธอ

ลุงก็หันมองทั้งสองคน แล้วเฉลยว่า

ถ้าเลือกตัวเลือกแรก บอกตั้งแต่ต้น เชื่อได้เลยว่าแฟนสาวจะต้องเชื่อคุณ และก็จะตามคุณไปที่ภาคใต้ แต่ตัวเลือกนี้ก็มีตัวเลือกย่อยนะ ลองตอบดูนะ ถ้าหากว่าไปที่นั่น แต่ได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี ด้วยทั้งเชื้อชาติและศาสนาที่ต่างกัน คุณจะทำอย่างไร อยู่ต่อและสร้างความกลมกลืนให้ได้ หรือว่าก็อยู่ต่อเพราะว่าคุณยังต้องการอยู่เพื่อเด็กๆ นักเรียนของคุณ แต่ก็ไม่สุงสิงกับใครมากนัก คุณจะเลือกอะไรละ

อติเริ่มคิดหนัก คำถามเริ่มยากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขารู้ว่าเขามีคำตอบ อติจึงตอบว่า

 ก็ต้องสร้างความกลมกลืนให้ได้ซิ

ลุงมองอติ แล้วก็พูดต่อว่า

คุณจะเจอแต่ความยุ่งยาก มีหลายเรื่องที่ไม่เข้าใจ เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย มีหลายคนพยายามให้คุณเลิกที่จะคบกับคนท้องถิ่น คุณจะทำอย่างไรละ ระหว่าง มุ่งมั่นสร้างความกลมกลืนอย่างที่คุณว่า หรือหยุด แล้วกลับกรุงเทพเสีย

อติมองไปที่ขอบฟ้ามืดมิด พลางตอบว่า

 ผมไม่ยอมแพ้ง่าย ๆอย่างไรก็ต้องทำต่อไปครับ

ลุงมองที่อติ แล้วก็มองไปที่หลานชายของตน พลางพูดว่า

 ถ้ามุ่งมั่นจริง ย่อมได้รับผลของความมุ่งมั่นนั้น คนท้องถิ่นก็จะยอมรับ และก็จะเป็นส่วนหนึ่งของที่นั่นตลอดไป  แต่ถ้าท้อถอยแล้วกลับกรุงเทพ คุณจะรู้สึกผิดไปชั่วชีวิตที่ไม่ได้ทำสิ่งที่อยากทำอย่างถึงที่สุด

หลานชายมองไปที่อติ แล้วเอ่ยขึ้นว่า

แล้วถ้าเมื่อไปอยู่ที่นั่นแล้วคนไม่ยอมรับ แต่ว่าอยากทำงานต่อ เลยอยู่เฉยๆ ไม่สุงสิงกับใครละ

ลุงยิ้มเล็กๆ แล้วก็ตอบว่า

คุณก็จะทำงานไปเรื่อยๆ แต่จะเริ่มรู้สึกไม่มีความสุขมากขึ้นเรื่อยๆ คุณจะเริ่มรู้สึกสงสารแฟนของคุณที่ต้องมาอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ความเศราจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไงละ

ลุงหยุดเล็กน้อย พลางกล่าวต่อว่า

แต่ถ้าลองไปดูก่อน ดูว่าเป็นอย่างไร แล้วค่อยมาบอกเรื่องนั้นกับแฟนละก็ แกก็จะเจอความยุ่งยากตั้งแต่ต้นไงละ ทั้งเรื่องที่ไม่เข้าใจ เรื่องที่เข้าใจผิดได้ง่าย และก็จะมีหลายคนรบเร้าให้เลิกล้มความต้องใจอย่างไรละ และนั้นก็ทำให้ต้องเลือกที่จะอยู่และสร้างความกลมกลืนให้เกิดให้ได้ หรือว่าหยุดแล้วกลับกรุงเทพเสียตั้งแต่ตอนนั้น

หลานชายนิ่งคิด แล้วก็ถามต่อว่า

 งั้นถ้าเก็บไว้ในใจตั้งแต่ต้น ไม่บอกใครละครับ จะเป็นอย่างไร

ลุงหันมาตอบว่า

 งั้นก็จะมีชีวิตเงียบๆ อยู่ในเมืองไปเรื่อยๆ แต่ในใจก็จะทุกข์ทม เพราะว่าไม่ได้ทำตามความต้องการของใจตัวเอง และถ้ามีอะไรไม่ดีเกิดขึ้นในชีวิตอีก มันก็จะยิ่งซ้ำเติมให้ชอกช้ำเข้าไปอีกไงละ

ลุงมองไปที่พุ่มไม้ใกล้ๆ พลางพูดต่อว่า

ทางเลือกมีทั้งที่ดีและไม่ดี แต่เมื่อเลือกแล้วพบทางตันหรือทางที่มีปัญหา ก็ต้องเลือกอีก ทุกจุดทุกขณะย่อมมีทางเลือกทั้งนั้น ต้องมุ่งมั่นให้ถึงที่สุดจึงจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ เอาละ แล้วสำหรับเรื่องที่สามละ เลือกคำตอบอะไรกัน

            <p align="justify"></p><p align="justify"></p><p align="justify"></p><p align="justify">อติตอบก่อนว่า</p><p align="justify"> ผมจะจัด ถ้าเป็นผมต้องจัดแน่นอน เพราะว่าหลังจากนั้นก็แค่ช่วยๆ กันเก็บกวาดก็ได้แล้ว</p><p align="justify">ส่วนหลานชายยิ้มเล็กๆ แล้วก็ตอบว่า</p><p align="justify"> เป็นผมไม่จัดหรอกไอ้งานปาร์ตี้ หากเกิดเรื่องวุ่นวายไม่มีใครจะมาช่วยรับผิดชอบสักหน่อย</p><p align="justify">ลุงฟังคำตอบของทั้งสองแล้วก็ยิ้มๆ พลางบอกว่า</p><p align="justify"> ถ้าเลือกที่จะไม่จัด ก็ไม่ต้องพบกับเรื่องไม่ได้คาดหวัง แต่แกคงจะถูกเพื่อนหัวเราะเยาะว่ากลัวพ่อแม่ไง แล้วเพื่อนๆ ก็จะไม่เอาแกอีก อาจจะห่างเหินกันเลยก็ได้ และนั้นก็จะทำให้แกรู้สึกว่าแกเลือกผิด ผิดที่แกไม่ไว้ใจเพื่อนๆ และตัวแกเองไงละ แกไม่กล้ารับผิดชอบแทนเพื่อน และที่แน่ๆ แกอาจจะพลาดที่จะได้เห็นว่าใครเป็นเพื่อนแท้จากงานนี้ก็ได้</p><p align="justify">แต่ถ้าเลือกที่จะจัดงาน ก็จงเตรียมตัวพบกับทางเลือกที่อาจเกิดขึ้น หากเพื่อนกินเหล้ากันแล้วเสียงดัง ทำข้าวของเสียหายละ จะทำอย่างไร ไล่พวกนั้นกลับ หรือว่าบอกให้พวกนั้นเพลาๆ ลง และกำชับว่าต้องช่วยกันเก็บกวาดบ้านให้เรียบร้อย จะเลือกทางไหนละ</p><p align="justify">อติมองไปที่ลุงและหลานชาย เรื่องเล่าที่มีแต่ทางเลือกให้ตอบนี่ไม่ง่ายที่จะต้องตอบเลยนะ แต่เขาก็ไม่ใช่คนยอมแพ้อะไรง่ายๆ  อติจึงตอบไปว่า</p><p align="justify"> ”ผมคงต้องบอกให้เขาเพลาๆ ลง ไอ้จะให้ไล่กลับไปนะผมว่ามันไม่ดีหรอก</p><p align="justify">ลุงยิ้มให้พลางตอบว่า</p><p align="justify"> ก็ถ้าคุณไล่พวกนั้นกลับ มันก็ไม่ต่างจากการที่คุณไม่จัดงานหรอก คุณกล้ามากนะที่จะจัดงานและถ้าเกิดอะไรขึ้นคุณจะบอกเพื่อนๆ ให้เพลาๆ ลงนะ เพราะว่าเมื่อคนเมาอาจเกิดการทะเลาะกันเองได้ง่ายๆ นะ แต่เชื่อเถอะเมื่อคุณกล้าจัด กล้าบอกเพื่อนตรงๆ คุณจะพบเห็นความเกรงใจจากเพื่อนของคุณ และโอกาสที่จะได้พบเพื่อนแท้จากงานนี้ เชื่อได้ว่าทุกคนจะช่วยกันเก็บกวาดให้ทุกอย่างอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย เหมือนไม่เคยจัดงานมาก่อน  แต่ก็ต้องระวังนะ ถ้าเพลินกันไป ถึงจุดหนึ่งมันก็จะพังลงทั้งหมดก็ได้ เพราะว่าทุกคนเมามาก แล้วไงละ คงไม่ต้องคาดเดาหรอกนะ</p><p align="justify">อติฟังแล้วก็ได้คิด แม้แต่ตัวเลือกที่คิดว่าดีแล้ว ยังมีปลายทางที่ไม่ชัดเจน อะไรก็อาจเกิดขึ้นได้ แต่ว่าอย่างไรก็ต้องเลือก เพราะถ้าไม่เลือกมันก็ไม่เกิด พลันเขาก็รู้สึกโล่งใจ จริงๆแล้วเขาก็มีสิ่งที่อยากทำแต่ยังไม่ได้ทำอยู่ตั้งมากมาย เขาขอบคุณลุงที่เล่าเรื่อง จากนั้นก็เดินกลับไปที่กระท่อม </p><p align="justify">พอถึงหน้าประตูเขาหันกลับไปมองที่เก้าอี้นั้นอีกครั้ง แต่น่าแปลกใจ ลุงและหลานชายคู่นั้นไม่นั่งอยู่ที่เก้าอี้นั้นแล้ว อติสงสัย แต่ความสงสัยนั้นไม่มีคำตอบ และเขาก็ไม่จะเป็นที่จะต้องหามัน เขามีเรื่องที่ต้องหาคำตอบอีกมากทีเดียว              </p><p align="justify">ช่วยกันขยายความเพื่อสร้างความเข้าใจ            </p><p align="justify">๑) ให้ช่วยกันหาคติพจน์และสุภาษิตส่งเสริมการตัดสินใจเลือกหนทางให้กับตนเองอย่างถูกต้อง            </p><p align="justify">๒) ให้ช่วยกันหาคำสอนของศาสนาต่างๆ ที่กล่าวถึงการตัดสินใจเลือกหนทางให้กับตนเองอย่างถูกต้อง            </p><p align="justify">ในทั้งสองกรณีให้มีอาสาสมัครรวบรวมบันทึกไว้ เพื่อทำเอกสารแจกให้เก็บไว้ โดยลงวันที่ไว้ด้วย </p><p align="justify"></p><p align="justify">ฝึกคุณธรรม          </p><p align="justify">๑) ฝึกรู้รอบ : เรื่องนี้เหมาะสมสำหรับสอนเรื่องการตัดสินใจเลือกหนทางให้กับตนเองอย่างถูกต้องหรือไม่ มีทางเลือกอย่างไรบ้าง และต่างกันอย่างไร    </p><p align="justify">๒) ฝึกแข็งขัน : เราจะตัดสินใจในประเด็นต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมได้อย่างไร  มีความมุ่งมั่นที่จะทำอย่างต่อเนื่องแค่ไหน            </p><p align="justify">๓) ฝึกพอเพียง : การตัดสินใจเลือกหนทางหรือเป้าหมายต่างๆ อย่างไร จึงเรียกว่าทำได้อย่าง พอเพียง   - อย่างไรเรียกว่าขาด  - อย่างไรเรียกว่าเกิน            </p><p align="justify">๔) ฝึกความยุติธรรม : การตัดสินใจเลือกหนทางหรือเป้าหมายแก่ตนเองอย่างไม่ยุติธรรม มีหรือไม่ ให้ช่วยกันยกตัวอย่าง </p><p align="justify"></p><p align="justify">กิจกรรมสันทนาการ</p><p align="justify">๑.     ให้ทางคนมาเล่าเรื่องทั้ง 3 เรื่องนี้ แล้วให้เก็บประเด็นคำตอบเอาไว้ก่อน ถามคำถามจากเรื่องให้เพื่อนๆ ช่วยกันตอบ แล้วจึงค่อยเฉลยไปทีละประเด็น อาจให้ครูหรือผู้ใหญ่คอยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยก็ได้                                                                         </p>เอนก สุวรรณบัณฑิต ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรม <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สภานิติบัญญัติแห่งชาติ</p>

หมายเลขบันทึก: 153435เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2007 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท