การรู้สึกตัว, การรู้สึกสัมผัส, การจำ


 

     

รูปข้างบนนี้แทนกลุ่มนิวโรนที่บริเวณเซเรบรัล คอเท็กซ์  วงกลมสีต่างๆแทน"ตัวเซลล์"(Cell body) หางยาวๆแทนแอกซอน(axon)ของมัน  ในภาพนั้น นิวโรนสีแดงกระตุ้น(Synapse) นิวโรนเขียว  นิวโรนเขียวกระตุ้นนิวโรนเหลือง เหลืองกะตุ้นชมพู --- ไปจนกระทั่ง นิวโรนม่วงกระตุ้นนิวโรนเขียวอีกทีหนึ่ง  เกิดเป็น "วงจร" ขึ้น  ผมจะเรียกว่า "วงจรนิวโรน" 

เหตุการณ์นี้จะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในนิวโรนตัวแดง แล้วไหลเข้าไปในนิวโรนตัวเขียว และต่อๆไปเรื่อยๆจนตัวสีม่วงกลับมาไหลเข้ากระตุ้นนิวโรนเขียวอีกครั้งหนึ่ง

"วงจรนิวโรน"นี้จะทำให้เกิด"สนามแม่เหล็กไฟฟ้า" และถ้าหากว่า นิวโรนแดงนำ"รหัสภาพ"มาจาก Receptors ที่ตา แล้ว  "วงจรนิวโรน"นี้ก็จะเป็น "รหัสภาพนั้น" ทั้งวงจร  และเนื่องจากวงจรนี้"ทำให้เกิดการรู้สึก" ด้วย  เราจึงเรียกว่า วงจร "การรู้สึกสัมผัส" ถ้าแวบต่อมา "เกิดมีความหมายเข้ามาสรวม" วงจรการรู้สึกสัมผัสนี้ และเรา"รู้สึกรู้ความหมาย" ก็เรียกว่า"การรับรู้"

ครั้นต่อมา "ภาพจากสนามสัมผัสที่ตาภายนอกตา"ได้หายไปแล้ว  แต่"วงจรนิวโรนนั้นยังแสดงกิจกรรมอยู่"  เราก็เรียกว่า "จำ" "การจำ" "จำได้" "ความจำ"

ขอให้สังเกตว่า "วงจรนิวโรน"นี้ เกิดขึ้น"ในท่ามกลางการรู้สึกตัวที่ได้เกิดอยู่ก่อนแล้ว" ดังนั้นมันจึงทำให้ "บ่อของการรู้สึกตัวที่เกิดอยู่ก่อนแล้วนั้น มีความเข้มมากขึ้น"

คำสำคัญ (Tags): #sensation, consciousness, perception
หมายเลขบันทึก: 152866เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2007 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท