เรื่องของเทศบาลตำบลแม่พริก (ต่อ)


การจัดการความรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงาน

      หลายคนคงสงสัยว่าทำไมต้องศึกษาสภาพทั่วไป  รวมทั้งข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของเทศบาลด้วย  สำหรับผู้วิจัยแล้วขอยอมรับว่าในขณะนี้ก็ตอบได้ไม่ชัดเจนเหมือนกันว่าทำไมต้องศึกษา  ไม่ศึกษาได้ไหม  ศึกษาแล้วจะเอาไปทำอะไร  ฯลฯ  เบื้องต้นที่สุดผู้วิจัยคิดว่าจำเป็นต้องศึกษา  เพราะ  ข้อมูลเหล่านี้จะชี้ให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบกลุ่มของเราเป็นอย่างไร  หน่วยงานเหล่านี้ให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรเป็นพิเศษ  แล้วเราจะหาทางสอดแทรกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานร่วมกันได้อย่างไร  และที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ข้อมูลเหล่านี้จะให้ความรู้แก่เรา  ซึ่งความรู้เป็นส่วนสำคัญมากของกระบวนการจัดการความรู้  เนื่องจาก  การจัดการความรู้  คือ  การนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงาน 

      ความจริงแล้วโดยส่วนตัวผู้วิจัยก็ไม่ค่อยชอบการศึกษาข้อมูลเหล่านี้จากเอกสารเหมือนกัน  เพราะ  รู้สึกว่ามันขาดชีวิตชีวา  มันเป็นแท่งๆ  มองไม่เห็นความเคลื่อนไหว  แต่อย่างไรก็ตาม  ในการศึกษาวิจัยในโครงการนี้  ผู้วิจัยตั้งใจเอาไว้แล้วว่าจะลงไปศึกษาข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียด  โดยใช้เทคนิคการศึกษาภาคสนามร่วมด้วย  แต่ในเบื้องต้นขอศึกษาจากเอกสารก่อน  เพื่อที่จะได้มองเห็นภาพรวมกว้างๆ  หลังจากนั้นค่อยเจาะลึกทีละประเด็น  จำได้ว่าสมัยเรียนปริญญาโท  ช่วงทำวิทยานิพนธ์  ซึ่งในครั้งนั้นผู้วิจัยทำการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบในชุมชนแห่งหนึ่ง  จำเป็นต้องหาข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ด้วย  แต่เชื่อไหมคะว่าผู้วิจัยไม่เคยไปขอข้อมูลเหล่านี้จากเทศบาลเลย  ใช้การลงพื้นที่  พูดคุย  สัมภาษณ์ล้วนๆ  จนอาจารย์ที่ปรึกษาบอกว่าเชื่อแล้วว่าผู้วิจัยไม่ชอบอ่านหนังสือ  เพราะ  แม้แต่ข้อมูลเพียงไม่กี่หน้าของเทศบาลผู้วิจัยยังไม่มีความพยายามที่จะหามาอ่านหรือมาศึกษาเลย  ผู้วิจัยก็ได้แต่ยิ้มๆ  ไม่พูดอะไร ความจริงก็ไม่ถึงกับขี้เกียจขนาดนั้น  แต่ก็อย่างที่บอกนั่นแหละค่ะว่ารู้สึกว่าข้อมูลจากเอกสารยังมีจุดอ่อนอีกมาก  แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีจุดแข็งนะคะ  สำหรับผู้วิจัยแล้วเห็นว่าข้อมูลจากเอกสาร  โดยเฉพาะเอกสารราชการก็มีข้อดีเหมือนกัน  เพราะ  สามารถให้ภาพรวมอย่างกว้างๆได้  โดยเฉพาะภาพรวมที่เป็นโครงสร้าง  แต่จะดีมาก  ถ้าเราหาข้อมูลหลายๆทางค่ะ

       เมื่อวานนี้สรุปเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลแม่พริกไปแล้ว  วันนี้จะขอสรุปต่อในหัวข้อต่อไป  คือ  ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐาน  และข้อมูลด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

       2.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

          2.1การคมนาคม/ขนส่ง  ในเขตเทศบาลใช้ถนนในการคมนาคมเป็นหลัก

          2.2การไฟฟ้า  ทุกครัวเรือนในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าใช้

          2.3การประปา  ทุกครัวเรือนมีนำประปาใช้  โดยใช้นำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน  หมู่ที่2  บ้านท่าด่าน  ตำบลแม่พริก 

          2.4การสื่อสารและการคมนาคม   มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง  สามารถรับสัญญาณวิทยุติดตามตัวในพื้นที่ราบได้  มีครัวเรือนที่ใช้โทรศัพท์ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์

          2.5การจราจร  มีปัญหาไม่มากนัก  ส่วนมากมีการสัญจรไปมาในช่วงเช้าและช่วงเย็นหลังจากนักเรียนเลิกเรียนแล้ว

          2.6การใช้ที่ดิน  พื้นที่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เป็นพื้นที่เกษตรกรรม  อีก 50 เปอร์เซ็นต์ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

        3.ด้านเศรษฐกิจ

           3.1โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร

                 ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านการเกษตร  และมักประสบปัญหาพืชผลราคาตกตำ  ทำให้รายได้ของประชากรค่อนข้างตำ  รายได้เฉลี่ยของประชากรประมาณ 40,000-50,000 บาทต่อครัวเรือน  ดังนั้น  ประชากรในวัยแรงงานจึงไปประกอบอาชีพในท้องที่จังหวัดอื่นๆหรือต่างประเทศอยู่พอสมควร

            3.2การเกษตรกรรม

                 พื้นที่ทางการเกษตรร้อยละ 50  ยังขาดการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่  สินค้าพืชสวน  เช่น  มะนาว  ส้มเกลี้ยง  กล้วยนำว้า  ฯลฯ  ราคาค่อนข้างตำ  และไม่มีการดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มราคาให้สูงขึ้น  รวมทั้งไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน 

            3.3การอุตสาหกรรม

                 ยังไม่ปรากฎว่ามีการประกอบอุตสาหกรรมทั้งในระดับครัวเรือน  โรงงานขนาดเล็ก  ขนาดกลาง  และขนาดใหญ่   ดังนั้น  แรงงานส่วนใหญ่จึงต้องไปทำงานหรือประกอบอาชีพในต่างจังหวัด

             3.4การพาณิชยกรรม/การบริการ

                  มีการประกอบการพาณิชยกรรม/การบริการประเภท  ร้านค้าขนาดเล็ก  ประเภทร้านสินค้ารวมหลายอย่าง  ร้านขายของชำ  ร้านอาหารเครื่องดื่ม  ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง  ร้านขายเครื่องวิทยุไฟฟ้า  ด้านการบริการมีร้านตัดผม  ร้านเสริมสวย  ร้านซ่อมเครื่องยนต์  รถยนต์  รถจักรยานยนต์

              3.5การท่องเที่ยว

                   ในเขตเทศบาลยังไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจ 

              3.6การปศุสัตว์

                   เกษตรกรมีการเลี้ยงโค  กระบือ  ตามทุ่งหญ้า  ไร่นาตลอดทั้งปี  ส่วนการเลี้ยงสุกร  และสัตว์ปีก  (ไก่พื้นบ้าน)  เป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือน  ส่วนที่เหลือจึงจะนำมาขาย

           จากข้อมูลในส่วนนี้ทำให้ผู้วิจัยได้รับความรู้และเกิดความคิดเพิ่มขึ้นมาพอสมควร  เช่น 

           1.เนื่องจากส่วนใหญ่ประชากรประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม  ดังนั้น  จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าในการที่จะขยายผลไปสู่ประชากรในกลุ่มนี้จะมีวิธีการที่เหมือนหรือแตกต่างกับประชากรกลุ่มอื่นๆหรือไม่?  อย่างไร?

           2.หากพิจารณาข้อมูลในด้านการประกอบอาชีพจะเห็นได้ว่า  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  โดยเฉพาะการเลี้ยงโค  กระบือ  ซึ่งเลี้ยงกันทั้งปี  ซึ่งตรงกับข้อมูลที่ทางกลุ่มได้บอกกับผู้วิจัยว่าทางกลุ่มกำลังทำในเรื่องการเลี้ยงวัวขุนเพื่อให้เป็นวิสาหกิจของชุมชน  เนื่องจาก  พื้นที่มีความเหมาะสม  มีอาหารให้กับโคกินทั้งปี  แต่ขาดในเรื่องของเงินทุนและการสนับสนุนจากทางภาครัฐ  ดังนั้น  ในส่วนนี้อาจเชื่อมไปสู่การทำงานร่วมกันระหว่างทางกลุ่มกับทางเทศบาลได้  ข้อมูลตรงนี้น่าสนใจ  ผู้วิจัยจะลงไปศึกษาและพูดคุยในรายละเอียดต่อไปค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15087เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท