Consciousness ได้ถูกกำหนดไว้แล้วใน DNA ?


ข้อความข้างบนนี้เป็นสมมุติฐานเชิงทฤษฎีข้อที่สามจากบันทึกครั้งก่อน  เป็นข้อความที่เหมาะที่จะ "ทดสอบ" ด้วยการวิจัย  ไม่เหมาะที่จะใช้วิธี"พิสูจน์" ด้วยเหตุผล  กระบวนการทดสอบอาจจะมีสองขั้นตอน  ขั้นตอนแรกอาจจะเป็นวิธี "วิเคราะห์หาความต่าง"  ขั้นตอนที่สองเป็นวิธีทดลอง  ดังนี้

ขั้นตอนที่หนึ่ง  วิเคราะห์หาความต่าง  เราทำได้โดยการนำ "เซลล์สมอง" ที่ชื่อ "นิวโรน"  ทั้งของคนและสัตว์(ไม่ทุกชนิด)  กับเซลล์ของพืช  ทั้งนี้เพราะว่า  คนและสัตว์มี"ความรู้สึกตัว"  ในขณะที่พืช  ไม่มีความรู้สึกตัว  แล้วเราดำเนินการดังตารางข้างล่างนี้

                              มี Consciousness          ไม่มี

                                 คน             สัตว์             พืช

Particle                    A  <----->  A  <------>  A

                                 B  <----->  B  <----->  B

                                 C  <----->  C              M

                                 D  <----->  D              N

                                 E               G              O

                                 F               H               P

จะเห็นว่า 

(๑) อนุภาค  A,B, มีทั้งในคนสัตว์และพืช  ชี้ว่า  ไม่เกี่ยวกับ "ความรู้สึกตัว"

(๒) อนุภาค C,D, มีทั้งในคนและสัตว์ ซึ่งมี "ความรู้สึกตัว"  แต่ในพืช ซึ่งไม่มีความรู้สึกตัวนั้น "ไม่มี C,D,"  ชี้ว่า  C,D, น่าจะเกี่ยวข้องกับ"ความรู้สึกตัว"

ขั้นที่สอง  เอา C,D มาวิเคราะห์หารายละเอียดต่อไปด้วยการวิจัยเชิงทดลอง

ถ้าผลการทดลองเป็นจริง  เราก็สรุปว่า "ข้อความสมมุติฐานเชิงทฤษฎี" นั้น ได้รับการสนับสนุน  หรือยังไม่ผิด  (แต่เราจะกล่าวว่าถูกไม่ได้)  และถ้าเช่นนั้น  Consciousness จะมีสถานะดังนี้

(๑)  Consciousness เป็น C,D, !!  และดังนั้นจึง"เป็นวัตถุ ?!"  เพราะว่า  C,D, เป็น Particles (สนับสนุน Identity Theory of Mind โดยทางอ้อม)

(๒)  Consciousness เป็นผลของ C,D, (สันับสนุน Epiphenominalism)

แต่ทั้ง (๑) และ(๒) เราไม่ต้องเป็นกังวล  ถ้าเราคิดถึง E = mc2 ของท่านไอน์สไตน์ ทั้งนี้ก็เพราะสมการนี้บอกเราว่า "ซ้ายมือ = ขวามือ" หรือ "พลังงาน = สสาร x ความเร็วของแสงยกกำลังสอง"  ซึ่งเมื่อถึงขั้นนี้แล้ว  เรื่องของ Materialism  vs  Idealism  ก็ไม่น่าจะบาดหมางกันอีกต่อไป?!

คิดๆไปแล้วสนุกนะครับ 

คำสำคัญ (Tags): #theoretical test
หมายเลขบันทึก: 150610เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2007 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

  • อาจรย์ทำให้ผมนึกถึงหนังสือ "มนุษย์ที่แท้" ที่อาจารย์ ส.ศิวลักษณ์ แปลไว้นานแล้ว ผมเองจำรายละเอียดไม่ได้แม่น จำคร่าว ๆ ทำนองนี้

"จางจื๊อเห็นปลาว่ายน้ำ ก็ว่าปลามีความสุขน่าอิจฉา เพื่อนท้วงว่า จางจื๊อไม่ใช่ปลา รู้ได้ยังไง ว่าปลามีความสุข จางจื๊อก็ว่า ท่านไม่ใช่ข้า รู้ไงว่าข้าไม่รู้ว่าปลามีความสุข"

  • ดูเหมือนว่า เป็นการเริ่มต้นด้วย "สัจพจน์" ว่า เรารู้ว่าอะไร มี consciousness และอะไรไม่มี
  • ปัญหาคือ สัจพจน์ ในทางเรขาคณิต คือ "สิ่งที่คาดว่าจริงที่ยังไม่มีปัญญาพิสูจน์"
  • ซึ่งอาจไม่จริง...
  • ดังเช่นกรณีของ Noneuclidean geometry...

 

สวัสดีครับ คุณหมอ

จางจื๊อ ที่ว่านั้นพูดดี  ชี้ว่าเขาพูดในระดับ ทฤษฎี คือจินตาการถึงสิ่งที่สังเกตโดยตรงไม่ได้  พวกที่ชอบใช้"สัจพจน์" ก็เหมือนกัน  เมื่อหลังชนฝา ก็มักจะอาศัยสัจพจน์นี่แหละ ในวิชาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์จะใช้กันมาก อันที่จริงมันก็จริงนะครับ คนอย่างเราๆเชื่อเอาง่ายๆ เช่น "เส้นตรงที่เชื่อมระห่วางจุดสองจุดคือเส้นที่สั้นที่สุด"  ความรู้พวกนี้นักปรัชญาเรียกกันว่า"Priori " หน้าที่เหมาะของมันคือเป็น  Premise ในเรื่องของข้อความแบบเหตุผล

ในปัจจุบัน  นักทฤษฎียังนิยมใช้กันอยู่ โดยเฉพาะพวก Models ทางคณิตศาสตร์  แต่สัจพจน์ที่ว่านั่น มันแปลกอยูอย่างหนึ่ง  คือ "แม้มันผิด แต่เมื่อพิสูจน์ไปๆ ผลมันออกมาเป็น Valid ได้" ก็มีครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท