Morning Talk วันนี้ พัฒนาอาคารสถานที่แบบสายฟ้าแลบ


         วันนี้ จัดMorning Talk คุยกันยามเช้า เข้าประเด็นการพัฒนาอาคารสถานที่ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย กระจายความรับผิดชอบ เร่งพัฒนาอาคารสถานที่ ให้ดูดีแบบเร็วด่วน ชวนกันทำแบบสายฟ้าแลบ ออกแบบประเด็นความคิดสำคัญไว้ใน Mindmap ดังแบบแผนความคิดดังนี้

การพัฒนาด้านอาคารสถานทีกศน.ชลบุรีแบบสายฟ้าแลบ

1 ศาลาเคเอ็ม

1.1 ซ่อมแซมสะพาน

1.2 จัดโต๊ะชุดประชุมในกลางศาลา

1.3 ออกแบบพัฒนาศาลาให้สามารถจัดแสดงเอกสารและผลงานโดยสามารถกันฝนได้

2 ห้องประชุมสำนักงานอำนวยการ

2.1 จัดทำภาพไวนิลตกแต่งผนังด้านบน

2.2 ซื้อชุดเครื่องเสียงแบบโต๊ะประชุม

3 ต่อเติมด้านหลังอาคารอำนวยการ

4 ทำระบบเก็บน้ำและสปริงเกอร์สนามหญ้าหน้าสนง.

5 จัดระเบียบห้องเก็บพัสดุ

5.1 ของชำรุดรอจำหน่ายเก็บไว้แน่นห้อง รีบจำหน่ายออก

5.2 จัดพื้นที่เก็บของ ตามหลัก ๕ ส

6 ห้องประชุม

6.1 โสตทัศนูปกรณ์พร้อมใช้ ไม่ต้องเคลื่อนย้ายเวลาจะใช้งาน

7 ติดดอกให้ต้นไม้โดยติดกล้วยไม้ที่ต้นไม้ใหญ่ให้สดชื่น

8 จัดสวนรอบอาคารอำนวยการ

9 ทาสีตัดขอบหน้าต่างและอื่น ๆ แบบ trend ใหม่ ๆ ที่อาคารอำนวยการ

10 บริเวณรั้วด้านหน้า

10.1 ติดภาพไวนิล พระบรมฉายาลักษณ์ ทรงพระเจริญขนาดใหญ่ เป็นการสดุดีอย่างสดุดตาผู้คนที่ผ่านไปมา สูงเด่นเป็นสง่าด้านหน้า กศน.ชลบุรี

10.2 ติดโฆษณาประชาสัมพันธ์ กศน.ชลบุรีที่แนวนั้ว

10.2.1 กศน.ชลบุรีน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก สังคมประจักษ์คุณภาพงาน

10.2.2 สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้คู่สังคมไทย ความภูมิใจ กศน.ชลบุรี

10.2.3 กศน.ชลบุรี ืฟรี ดีื ด่วน อบอวลด้วยมิตรภาพ

 

 

หมายเลขบันทึก: 149612เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2007 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

วันประชุมคงเห็นอะไรใหม่ๆใน ศนจ.ชลบุรี

ส่วนหนองใหญ่จะรีบตาม Trend .ให้ทันตามศักยภาพที่มีอยู่(คน-เงิน)ของเรา

แน่นอนครับ ผอ.อนุชา มาวันประชุมจะพบการเปลี่ยนแปลงอย่างดีขึ้นต่อเนื่อง

จัดศาลาที่ไร้ประโยชน์ให้กลายเป็น อาณาจักรแห่งความรู้ KM ที่มีคุณภาพคับแก้วแบบนี้  ดีค่ะ  หากไปศนจ.ครั้งใหม่คงตกตะลึงไม่น้อยที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง

คุณผุสดีPครับ งานนี้ระดมสรรพกำลังช่วยกันเป็นทีมครับ ใครมีอาวุธลับอะไรก็นำมาใช้ให้ได้ผลโดยเร็ว เช่นพี่ขจีวรรณ มีหลานเป็นสถาปนิก ก็จะไปเอามาช่วย เป็นต้น

ยินดีกับ กศน.ชลบุรี ด้วยที่ได้ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  พัฒนาปรับปรุงสิ่งต่างๆที่มีอยู่ให้เกิดเป็นประโยชน์ทุกตารางนิ้ว

       พยายามปรับปรุงสถานที่ให้ดูดีก่อน ทำเรื่องขัดพื้น มา2000.00 จัดห้องใหม่สถานที่ทำงานดูกว้างขึ้นหน่อย แต่อยากทำห้องสมุดให้ดีกว่าเดิม ก็ทำได้นิดหน่อย เพราะไม่มีอุปกรณ์เสริมตกแต่ง เลิยบอกว่าเอาเงินห้องสมุด60000.00บาทมาสัก 10000.00บาทซื้อของตกแต่ง น้องๆก็แย้งว่า ศนจ.สั่งให้ซื้อได้เฉพาะหนังสือและกระดาษได้บางส่วน ก็เลยอึ้งกับความรู้สึก พี่เก๊าอยากได้ชั้น ชุดนั่งอ่านหนังสือน่ารักบ้าง เห็น ศนจ.แต่งแล้วอิจฉาซื้อได้ไวจัง อยากทำให้ใกล้กับ "วังจันทร์เกษม"ที่กระทรวง แต่ตังมะมี มีก็ไม่กล้าใช้กัน เลยบอกน้องๆว่าลองไปสืบราคามาก่อน ถ้าซื้อของมาตกแต่งห้องสมุดให้น่ารัก จังหวัดจะขัดข้องการเบิกจ่ายอย่างไรหรือไม่ก็ไม่รู้ แล้วที่จังหวัดซื้อมาแต่งจนสวยและรวดเร็วใช้เงินอะไรบ้างครับ บอกตรงๆพวกอำเภอหัวหดกลัวเรื่อง ไม่อนุมัติจัง

ผอ.อนันต์ครับP

         ปรับปรุงสถานที่ได้เลยครับ เงินที่จัดสรรให้ห้องสมุด มีเงินบริหารหสม. เงินซื้อหนังสือ ซึ่งศบอ.สามารถบริหารได้ไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือทั้งหมด สามารถถัวกันได้ ดังนั้นห้องสมุดมีชีวิตเกิดขึ้นไม่ได้ต้องทำให้สถานที่ดีก่อน ครับ หนังสือก็ไม่จำเป็นต้องซื้อทีเดียวหมด ทยอยซื้อหนังสือ Top Ten ก็จะเป็นการดีที่จะทำให้มีหนังสือที่น่าสนใจให้ผู้ใช้บริการมาแล้วไม่ผิดหวัง

ในวันประชุมคงได้เห็นบรรยากาศใหม่ ๆคงเป็นอะไรที่มีชีวิตหน้าเข้าใช้บริการจริง ๆ เช่นเดียวกับห้องสมุดที่ว่ากันว่าต้องการให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตก็เห็นด้วยกับความคิดผอ.นะคะว่าสถานที่ควรน่าเข้าก่อน คนใช้บริการจึงอยากเข้า  เปรียบเหมือนกับว่าคนจะปิ๊งกันส่วนใหญ่ต้องปิ๊งที่น่าตาก่อน นิสัยจึงตามมาเพราะเรียนรู้กันที่หลัง  ห้องสมุดก็หลักการเช่นเดียวกันคะ ห้องสมุดบ่อทองก็จะมีการปรับปรุงด้วยเช่นกันคะ

วันนี้(28พ.ย.50)เห็นอะไรเปลี่ยนแปลง...เลยนำมาฝากครับ
ดูเองหละกัน

ขออนุญาตนอกเรื่องหน่อยครับ..
วันนี้(28พ.ย.2550)ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมแผนปฏิบัติการยกระดับการศึกษา
กำลังแรงงาน(วัยแรงงาน)ในโครงการวิจัยศึกษายุทธศาสตร์และรูปแบบการยกระดับ
การศึกษาแรงงานระดับจังหวัด
มีการทำSWOT เพื่อการยกระดับการศึกษากำลังแรงงานผมเห็นว่าหากศบอ.ใด
จะนำไปประยุกต์ใช้น่าจะดีนะครับ ผอ.พวงสุวรรณ์
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ


  ผมสรุปผลจากการประชุมฯได้ดังนี้ครับ
จุดแข็ง
- ศบอ.พานทอง มีความพร้อมในการจัด 7 S
-ผู้เรียนเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์,มีแรงจูงใจในการเรียน
- ผู้สอนเป็นคนในพื้นที่ (การประสานงานเครือข่าย)
-ผู้สอนมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง(พัฒนาการสอน)
-ผู้สอนมีความรับผิดชอบในงานสูง(มอบหมายงานเพิ่มขึ้น)
- วิธีการ/รูปแบบในการจัดหลากหลาย/มีความยืดหยุ่น
- สื่อมีความหลากหลาย
- แหล่งเรียนรู้ครอบคลุมเพียงพอ
-หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมให้การสนับสนุนร่วมมือ
 -โรงงานอุตสาหกรรมพร้อมเป็นเครือข่ายร่วมจัดการศึกษา
-เครือข่ายมีหลายกลุ่มหลากหลาย/พร้อมให้ความร่วมมือ
- วัดในพื้นที่ให้ความร่วมมือสูง
- แหล่งเรียนรู้ มีศรช.เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
-มีการกระจายอำนาจการบริหารและงบประมาณชัดเจน -ใช้สื่อเทคโนโลยี (Web blog)ในการบริหารงานกศน. มากขึ้น
- ผู้บริหาร ศบอ. เป็นนักประสานงาน/ผู้นำที่ดี
ปัจจัยภายนอก
S สภาพสังคม วัฒนธรรมของพานทอง
- ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษา/ใฝ่เรียนรู้
-ประชาชนต้องการยกระดับความรู้ของตนเองให้สูงขึ้น L กฎหมาย
- กฎหมายกำหนดให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- นโยบายการยกระดับประชากรวัยแรงงาน
E ระบบเศรษฐกิจ
P นโยบายการเมืองท้องถิ่น
- การเมืองท้องถิ่นให้การสนับสนุนด้านการศึกษา
T เทคโนโลยี
-ICT เพียงพอต่อการพัฒนาการยกระดับประชากรวัย
แรงงาน
จุดอ่อน
- นักศึกษา กศน. ออกจากในระบบโรงเรียนมานาน
ทำให้มีภาวะการลืมหนังสือ (เตรียมการสอนเสริม)
- ผู้เรียนมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมาก
และขาดความพร้อมในการเรียน
(ทำแผนการเรียนรายบุคคล,ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน)
- ผู้เรียนสำรวจได้ยาก โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายแรงงาน
ในสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายแฝง
(ลุยถึงที่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย หลากหลายวิธีการ)
- ผู้เรียนที่อยู่ในการศึกษาภาคบังคับที่ไม่ได้ศึกษาต่อ (รอ)
- ผู้เรียนขาดทักษะในการใช้สื่อ/แสวงหาความรู้
(เสริมทักษะในแต่ละด้าน)
- ผู้เรียนออกก่อนจบการศึกษา
- ผู้สอนรับภาระผู้เรียนจำนวนมาก/หลายระดับ
/หลายวิชา
- ผู้สอนขาดทักษะในบางสาระ
- ผู้สอนขาดความมั่นคงในอาชีพ/รายได้น้อย
- ผู้สอนขาดทักษะในการผลิตสื่อที่ใช้เฉพาะกลุ่ม
- สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนมีความหลากหลายมาก
/ควรมีสื่อเฉพาะหลักสูตร
- รูปแบบการจัดยังไม่บรรลุถึงการยกระดับ
(แบบเครดิตแบงค์)
- การวัดผลและประเมินผลผู้สอนไม่มีส่วนร่วม
ในการออกข้อสอบปลายภาค
- ศรช.ขาดเครื่องมือที่มีคุณภาพและทันสมัย
/ให้บริการยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ
- ขาดงบพัฒนา ศรช. ให้เป็นศรช. มีชีวิต
- ขาดระบบข้อมูลในการจัดการศึกษาประชากร
วัยแรงงานตำบลพานทอง
ปัจจัยภายนอก
S สภาพสังคม วัฒนธรรมของพานทอง
L กฎหมาย
- ระเบียบการปฏิบัติงานบางเรื่องยังไม่เอื้อต่อ
การจัดการศึกษา
E ระบบเศรษฐกิจ
- ภาวะการเลิกจ้างของนายจ้าง
P นโยบายการเมืองท้องถิ่น
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายการปกครองของแต่ละ
องค์กร
T เทคโนโลยี

กลยุทธ์

กลยุทธ์การบริหารแนวใหม่ : โดยใช้แผนยุทธศาสตร์ช่วยกำหนดแผนยก
ระดับเชิงยุทธศาสตร์ มุ่งผลลัพธ์ เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม
 ระดมสรรพกำลัง ประเมินผลงานแบบสมดุล
ทำคำรับรองการปฏิบัติงาน

กลยุทธ์การประสานข้อมูลเครือข่าย : โดยมีตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูล
คัดกรองแยกกลุ่มเป้าหมาย เคาะประตูบ้าน จัดเวทีชาวบ้านเพื่อการตัดสินใจ
ใช้ผู้นำท้องถิ่น/อาสาสมัคร กศน.

กลยุทธ์เสริมทักษะการเรียนรู้ : โดยกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นจุดเน้นในหลักสูตรเพิ่มทักษะใน
การค้นคว้ากระบวนการเรียนการสอน การอบรมให้ความรู้ทักษะการใช้
ICT การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่

กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ : ปรับวิธีการพบกลุ่ม ปรับวิธีการสอนโดยการสอนเสริม
, พบกลุ่มย่อย ใช้ E-Learning จัดระบบช่วยเหลือผู้เรียน ระบบติดตาม พบผู้รู้ ฯ

กลยุทธ์การเทียบความรู้และประสบการณ์: โดยพัฒนาหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม
จัดระบบสะสมความรู้และเทียบประสบการณ์
เรียนหลายวิธีตามความสามารถ(ต้องแก้ไขระเบียบ)
เช่น ทางไกล พบกลุ่ม ชั้นเรียน

กลยุทธ์การสร้างครูมืออาชีพ: โดยพัฒนาครูอบรมเรียนรู้การใช้ ICT
พัฒนาเทคนิคเฉพาะและอุดมการณ์ การทำงาน เสริมทักษะ
การสอนวิชาเฉพาะ เสริมสวัสดิการ สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูผู้สอน
 สนับสนุนการตั้งชมรมครูอาสาฯ ,ครู ศรช. จัดทำคำรับรองการปฏิบัติงาน

กลยุทธ์การพัฒนาสื่อหลัก: โดยจัดหาสื่อหลักให้เพียงพอกับผู้เรียน
พัฒนาสื่อหลักในรายวิชาที่ยังขาดแคลน
(ชุดสื่อทุกระดับทุกรายวิชา) ใช้สื่อหลักในการวัดและประเมินผล

กลยุทธ์การสร้าง ศรช.เป็นศูนย์สะดวกรู้ : โดยจัดหาอุปกรณ์ในศรช.
และการจัดระบบบริการ จัดตลาดนัดความรู้ จัดเครือข่ายแหล่งเรียนรู้
ส่งเสริมการจัดการความรู้ในชุมชน (KM)

กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพภาคีเครือข่าย: โดยจัดระบบการประสานงานเครือข่าย การทำข้อตกลงการทำงาน
(MOU) สนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษาของภาคีเครือข่าย
สนับสนุนทางวิชาการในการบริหารงานขององค์กรภาคีเครือข่าย
ประกาศเกียรติคุณ

วิสัยทัศน์
(ด้านล่างนี้เป็นเพียงตัวอย่างการเขียนเท่านั้นนะครับ)

1.ประชากรวัยแรงงานตำบล…..….ได้ร่วมกิจกรรมการศึกษาอย่างทั่วถึง
มีคุณภาพ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
2.ภายในปี2554 กลุ่มเป้าหมายประชากรวัยแรงงานตำบล……..…ยกระดับการศึกษา
ถึงระดับ ม. ต้นทุกคน
3.จัดการศึกษาภาคประชาชนอย่างหลากหลายให้ชาว……….…ได้เรียนรู้ตลอดชีวิต
ปีการศึกษาเฉลี่ยสูงกว่า 10 ปี ภายในปี 2554

พันธกิจ
1.กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนเพื่อจัดการศึกษา
-ให้นำกลยุทธ์ที่เขียนไว้มาโดยพิจารณาให้ตรงกับหัวข้อ1.
เช่น กลยุทธ์การประสานข้อมูลเครือข่าย :
โดยมีตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูล
คัดกรองแยกกลุ่มเป้าหมาย เคาะประตูบ้าน จัดเวทีชาวบ้านเพื่อการตัดสินใจ
ใช้ผู้นำท้องถิ่น/อาสาสมัคร กศน.
2.จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการยกระดับ
-ให้นำกลยุทธ์ที่เขียนไว้มาโดยพิจารณาให้ตรงกับหัวข้อ2.
...............................................................................
3.จัดแหล่งการเรียนรู้ในตำบล
-ให้นำกลยุทธ์ที่เขียนไว้มาโดยพิจารณาให้ตรงกับหัวข้อ3.
…………………………..…………………
4.สนับสนุนพันธมิตร และเครือข่าย
-ให้นำกลยุทธ์ที่เขียนไว้มาโดยพิจารณาให้ตรงกับหัวข้อ4
……………………………………….

ขอย้ำนะครับว่าอันนี้เป็นเพียงแผนปฏิบัติการยกระดับการศึกษากำลังแรงงาน
(วัยแรงงาน) เท่านั้นนะครับ

ยังไม่หมดนะครับ...พรุ่งนี้(29พ.ย.2550)ประชุมเพื่อระดมสมองต่อครับ...
วันนี้แค่นี้ก่อน.

จะนำไปปรับใช้กับ ศบอ.หนองใหญ่ ครับ

                          ขอขอบคุณ ผอ.พวงฯ และ อ.ไพรัตน์

อยู่ใน ศนจ.ยังตื่นตาตื่นใจอย่างขนาด นับประสาอะไรกับชาว ศบอ.ทั้งหลาย (ยกเว้นเมืองฯ)ที่จะเข้ามาประชุมในวันสิ้นเ้ดือนจะมีความสุขที่ได้เห็นการพัฒนาสถานที่ ชนิดพลิกฟ้าท้าลมของท่าน ผอ.ดิศกุล ทีเดียวเชียว.เวลิ์คค่ะเวลิ์ค
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท