Electromagnetic Field : -- Consciousness?


การศึกษา "การรู้สึกตัว" หรือ Cosciousness  ในบันทึกที่ผ่านมาและต่อไป  เป็นความคิดที่ "แตกต่าง"จากสิ่งที่ Freud และนักจิตวิทยากลุ่ม Cognitivists คิด อยู่ค่อนข้างมาก  โดยเฉพาะ"ข้อมูลที่ศึกษา และแนวคิด"

ในขณะนี้  ผมพยายามหันไปหาร่องรอย "ภายในสมอง"  ไม่ใช่เปิดกะโหลกเข้าไปส่องดู  แต่เป็นการสำรวจความรู้เก่าๆที่เราเรียนกันมาในสมัยชั้นมัธยม  ซึ่งความรู้เหล่านั้นได้กลายเป็นวามรูของคนทั่วไปไปแล้ว เช่น  Atom,  Electron, Proton, Neutron, Dna, Rna,  Cell, Neuron, Molecule, Electromagnetic Field  เป็ต้น  ซึ่งถ้าคนทั่วไปจบชั้น ม.๖ สมมติว่า ๖๐ %  แล้ว  คนเหล่านั้นก็จะใช้คำเหล่านี้ในภาษาประจำวันได้

ความรู้ระดับชั้น ม.๖ ที่สัมพันธ์กับคำต่างๆที่ยกตัวอย่างมาข้างบนนี้ก็เช่น "เกิดกระแสไฟฟ้าใน Neuron " ได้ และ"เคลื่อนที่เป็นคลื่น" เรียกว่า "กระแสไฟฟ้า" ก่อให้เกิด"สนามแม่เหล็ก"  เรียกว่า "สนามแม่เหล็กไฟฟ้า" หรือ Electromagnetic Field  สนามแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะ "ส่งผล"บางอย่างต่อสิ่งที่ "มันผ่านไป"  ---- "กระแสไฟฟ้าที่เกิดในนิวโรน ตัวหนึ่งจะไหลต่อไปยังนิวโรนตัวอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงได้" และ"ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ" จนกวาจะอ่อนแรงลง  ฯลฯ   ถ้าคนที่จบ ม.๖ มา  ไม่รู้เรื่องเหล่านี้พอสนทนากับเพื่อนๆบ้าง  ก็จะถูกเพื่อนสงสียวา  เราจบ ม.๖ มาได้อย่างไร (เราก็คงจะอ้างว่า  --  ลืม !)  ผมจึงอยากคิดว่า  ภาษาเหล่านี้ไม่ใช่ภาษาของพวกนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์อีกต่อไป  แต่มันเป็นภาษาในชีวิตประจำวันของคนทุกคน 

เมื่อผมหันมาสนใจเรื่องเหล่านี้อีกครั้งหนึ่ง  ทำให้ผมเกิดความคิดแปลกๆ  แวบขึ้นมามากมาย  เช่น  นิวโรนในสมองมีเป็นจำนวนมาก  กระแสไฟฟ้าก็คงจะมากมหาศาล และคงทั่วสมอง?  สนามแม่หล็กก็คงจะมีพลังงานมาก  "ความซับซ้อนเหล่านั้นอาจจะทำให้เกิด - สิ่งใหม่ - ขึ้นมาได้ไหม? สิ่งใหม่นี้อาจจะเป็น - "Conscious"  ?  ซึ่ง "การรู้สึกตัวนี้ - ไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับ - สนามแม่เหล็กไฟฟ้า?" ฯลฯ  ถ้าผมเรียกข้อคิดเหล่านี้ว่าเป็น "สมมุติฐาน"  และเรียกว่า "สมมุติฐานเชิงทฤษฎี" หรือ Theoretical Hypothesis  แล้ว  ก็จะได้สมมติฐานดังกล่าวดังนี้

       (๑) Consciousness เป็น "ผลของ" Electromagnetic Field (EMF)  ซึ่ง ทั้งสองอย่าง "ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน"  หรือ

       (๒) Consciousness  คือ Electromagnetic Field  คือเป็นสิ่งเดียวกัน

       (๓) Consciousness เกิดจาก สารเคมีบางอย่างที่ถูกเข้ารหัสไว้ก่อนแล้วใน DNA, RNA

       (๔) ไม่มีร่องรอยใดของ Consciousness ใน เซลล์ ทุกประเภท

คำสำคัญ (Tags): #theoretical hypotheses of consciousness
หมายเลขบันทึก: 149431เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2007 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีครับ
  • ประเด็นนี้ Ray Kurzweil ได้พูดถึงอย่างละเอียดในแนวคิด ซึ่งผมเคยพูดถึงหนังสือเล่มที่ว่าในแผนที่เดินทาง (Roadmap) การวิจัยเทคโนโลยี  ซึ่งเขามองว่า สามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความไวสูง เช่น MRI มาทำ Brain Debug ว่า consciousness เกิดขึ้นอย่างไร
  • เขามี web site ที่เนื้อหาคล้ายหนังสือ อยู่ที่ www.kurzweilai.net ครับ

ขอบคุณมากครับ คุณหมอ ที่กรุณาแนะนำชี้แนะหนังสือ และแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม  มีประโยชน์มาก  ผมไปดูมาแล้ว  แต่หนังสือที่ว่าผมยังไม่ได้อ่านครับ  ผมคิดว่า  เหตุการณ์เช่นนี้แหละครับที่สอดคล้องกับมโนทัศน์ Gotoknow.org  ที่หลายท่านได้เคยถกกันไว้บางแห่ง  ดูเหมือนจะเป็นในบล็อกของหมอนี่แหละ

ในเว็บ.ที่หมอแนะนำนั้น  ผมดู่แต่หัวเรื่อง  พร้อมด้วย Introduction  เท่าที่เห็น  ทำให้ผมคาดการณ์ว่า  สิ่งที่ยังไม่ได้อ่านคงจะเป็นเรื่องเล่าผลการค้นพบความคิดของคนอื่น  แต่ชี้ให้เห็นความเคลื่อนไหวของความคิดที่คนส่วนมากไม่ค่อยมองเห็น  หรืออะไรทำนองนั้น  มันปลุกใจให้คนอ่านตื่นเต้น  ผมเองอ่านแล้วทำให้เสียใจ  ที่เริ่มมาคิดถึงใน Approach แนวนี้ (แนวแบบ Top - Down) คือ  หันไปสนใจวัตถุในระดับ  ano  scale  ช้าไปมากครับ

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ไสวที่เคารพ
  • ประเด็นเรื่อง consciousness นั้น ผมมองว่า แหล่งแรกที่น่ายกมาพูดถึง คือจากพระไตรปิฎกครับ ซึ่งท่านพุทธทาสฯเคยยกมาพูดถึงบ่อย จะมีประเด็นที่ลุ่มลึกที่วิทยาศาสตร์เริ่มเข้าไปแตะ ๆ นิดหน่อย
  • แหล่งถัดมา คืองานเขียนของ Kurzweil ซึ่งอาจสุดโต่งไปว่า consciousness สามารถ copy & paste ได้ โดยเขามองในมุมนักออกแบบเทคโนโลยี คือกล้ามองล้ำหน้าวิทยาศาสตร์ปัจจุบันไปหนึ่งก้าว โดยเขามองว่า ตอนนี้ อยู่ในขั้นการ debug การทำงานของสมอง ในฐานะเป็นระบบปฎิบัติการทางชีวภาพ
  • ตัวอย่างที่ผมเห็นการยกเอาประเด็นว่า consciousness สามารถ copy & paste ได้ มีในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งสะท้อนว่า ประเด็นพวกนี้ มีคนที่มองว่า ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นทางวิทยาศาสตร์
  • ของ Stephen Baxter เรื่อง Ring มองว่า สังเคราะห์ consciousness อยู่ในรูปแบบอะไรก็ได้
  • ใน Arthur C. Clarke + Stephen Baxter เรื่อง Sunstorm มองว่า ซอฟท์แวร์ที่มี complexity ถึงระดับหนึ่ง สามารถบรรลุถึงขั้นเป็น sentience being คือมีเทียบเท่าconsciousness
  • ใน Peter F. Hamilton เรื่อง Pandora's star มองว่า consciousness เป็นระบบปฎิบัติการประเภทหนึ่งที่สามารถทำ backup และกู้คืนได้

 

สวัสดีครับ คุณหมอ

ผมดีใจมาก กับข้อชี้แนะและข้อฝากที่สำคัญหลายข้อ และทำให้ผมคิดต่อดังนี้ครับ

(๑)  ประเด็นแรก(ข้อแรก) ผมคิดว่า เจ้าชายสิทธัตถะ คงจะคิดถึงปัญหา "การรู้สึกตัว" หรือ Consciousness นี้ตลอดนะครับ  ไม่ใช่คิดแต่วิธีพ้นทุกข์อย่างเดียว  หลักฐานที่ทำให้ผมคิดเช่นนี้ก็คือ  ขั้นสุดท้าย ที่ตรัสรู้แล้วนั้น  พระพุทธองค์ "นิพพาน" ซึ่งหมายถึงภาวะที่ "หลุดพ้นหมดทุกอย่าง" เหลือแต่"ความสงบ" ซึ่งไม่ใช่ความสุขแบบ Hapiness ที่คนทั่วไปเข้าใจ

และภาวะนี้คงเป็น "อสสารโดยสิ้นเชิง" ที่เราเคยคิดว่า "วิทยาศาสตร์" จะ "แตะไม่ถึง"  และไม่มีทางแตะถึงได้นั้น  ขณะนี้ เราอาจจะต้องชงักความคิดนี้ไว้ก่อน  เมื่อเราคิดถึงสิ่งที่ท่านอัจฉริยะ "ไอน์สไตน์" ได้บอกเราไว้ก่อนหน้านี้ว่า "พลังงานเท่ากันกับสสาร" ในรูปของ E = mc2 (กำลังสองนะครับ ผมยังจำได้อยู่!) ซึ่งชี้แนะให้เราเห็นว่า  มหาบุรุษเหล่านี้ที่เราว่าเชาชอบพูดแต่ในระดับ"ทฤษฎี" นั้น ถ้าเทียบกับเทคโนโลยีก็เห็นจะเป็นระดับ Nano นี่เอง

เรื่องนี้ "ใครไวก่อนก็คงได้ก่อน" นะครับ  หากมหาวิทยาลัยของเรายังมะงุมมะงาหราอยู่กับ "การท่องจำ" หรือ "แจกชีตให้เด็กไปท่องมาสอบ" เป็นสารนะแล้วละก้อ -- คุณหมอต้องช่วยด้วยแล้วหละ  -- ผมนี่แก่มากแล้วและหมดหน้าที่แล้ว นะครับ  คิดอะไรได้ก็มีหน้าที่เล่าให้ฟัง  ไม่มีใครฟังก็แล้วไป

(๒) ข้ออี่นๆทั้งหมดที่หมอเขียนข้างบนนี้นั้น ผมตีความว่าเขาเป็น "Technologists" นะครับ  ที่เข้าไปสู่ "Bottom" แบบ Bottom - Up ที่ระดับ Nano scale  และคงจะซาบซึ้งกับ E = mc2 ของท่านไอน์สไตน์กระมังว่า พอจะเข้ากันได้ระหว่าง อวัตถุ กับ วัตถุ  มิฉะนั้นแล้วก็คงจะไม่กล้าที่จะมาแตะภาวะ "Consciousness" หรอก หรือไม่ก็ต้องทบทวนคำนิยามของคำ "Consciousness" กันก่อน

ของเรานี่ ท่าน ดร.จันทวรรณ และ ดร.ธวัชชัย ก็สนใจทางนี้มากนี่ครับ แต่หนักไปทาง Mechanics หรือ Physics มากกว่าทาง Life Science  แต่กลุ่มที่ตรงเผงกับสาขาก็คือ Neuroscience หรือ Life Science หรือกลุ่ม Medicine อะไรทำนองนั้นนะครับ ซึ่งแตกแขนงออกไปมากจนเรียกไม่ค่อยจะถูก  เราคงจะพอฝากความหวังกับคนในกุ่ลมเหล่านี้ได้

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

 

เข้ามาเรียนรู้ค่ะ   อ่านล้วยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ   ดิฉันกำลังศึกษาเรื่องการดูจิตไม่แน่ใจว่าเรื่องเดียวกันหรือเปล่าค่ะ

                                                    อัจฉรา  เชาวะวณิช

สวัสดีครับ คุณหมออัจฉรา

เรากำลังคุยกันถึงเรื่องของ "ความรู้สึกตัว" (Consciousness)  หรือ "จิต" (Mind) ครับ  ผมคิดว่าเป็นเรื่องในแวดวงเดียวกันครับ  เพราะเกี่ยวกับจิต 

เรื่อง "การดูจิต" เป็นอย่างไรหรือครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท