การพิทักษ์สิทธิ


ถ้าคุณคือคนคนหนึ่งในโลกใบนี้ ย่อมต้องการการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

ความหมายของ สิทธิ สิทธิผู้ป่วย สิทธิมนุษย์ชน การพิทักษ์สิทธิ์         2.1.1  ความหมายของสิทธิ                สิทธิผู้ป่วยถือเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจเรื่องสิทธิผู้ป่วยมากขึ้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจคำว่า สิทธิ  ก่อนเป็นพื้นฐาน  มีนักวิชาการและนักกฎหมายหลายท่าน  ได้ให้ความหมายของสิทธิไว้มากมาย  เมื่อวิเคราะห์ถึงการให้ความหมายของสิทธิพบได้  3  ลักษณะ  คือ  อำนาจ  (Power)  ข้อเรียกร้อง  (request)  และความชอบธรรม  (rightness)  แต่การให้ความหมายมักจะใช้ลักษณะทั้ง  3  ที่วิเคราะห์ได้รวมกันไว้  ทำให้ความหมายของคำว่า สิทธิ  คลอบคลุมมากยิ่งขึ้น  ในประเทศไทยได้มีผู้ให้ความหมายไว้  ดังต่อไปนี้ ความหมายในลักษณะของ  อำนาจ  เช่น                พจนานุกรม  ราชบัณฑิตยสถาน ..  2542  ให้ความหมายของ  สิทธิ  ว่าหมายถึง อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้  ( .,.) : (กฎ) อำนาจที่จะกระทำการใดๆได้อย่างอิสระโดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย                พิกุลทิพย์  หงษ์เหิร  (2538)  ได้ให้ความหมายของ  สิทธิ  ว่าหมายถึงอำนาจอันชอบธรรมของมนุษย์ในการกระทำ  หรือการครอบครองสิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมาย                ดาราพร  คงจา  (2541)  ให้ความหมาย  สิทธิ  ว่าหมายถึง  อำนาจหรือความชอบธรรมหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของบุคคลนั้น ความหมายในลักษณะ  ข้อเรียกร้อง  เช่น                เฉลิมเกียรติ  ผิวนวล  (2530)  ได้ให้ความหมาย  สิทธิ  ว่าหมายถึง  ข้อเรียกร้องซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมาตรฐานหรือกฎหมายทั่วไปบางอย่างอันเป็นปรนัย  (Objective)  หรือเป็นที่ยอมรับกัน                ชัยวัฒน์    ถิรพันธ์  (2534)  ให้ความหมายของสิทธิ  ไว้ว่า  เป็นข้อเรียกร้องทางศีลธรรมของปัจเจกชนซึ่งสังคมยอมรับ                วิฑูรย์  อึ้งประพันธ์  (2537)  ให้ความหมายไว้ว่า  สิทธิ  คือ  ข้อเรียกร้องอย่างเป็นธรรมต่อบุคคลอื่น  หรือต่อสังคมให้เคารพในพฤติกรรม  หรือเจตคติของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง   และขณะเดียวกันคนนั้นก็มีหน้าที่ต่อผู้อื่นในทำนองเดียวกัน ความหมายในลักษณะของ  ความชอบธรรม  เช่น                สมศักดิ์  โล่ห์เรขา  (2528)  ให้ความหมายว่า  สิทธิ  หมายถึง  ความชอบธรรมที่บุคคลอาจใช้ยันกับผู้อื่นเพื่อคุ้มครอง  หรือรักษาผลประโยชน์อันเป็นส่วนพึงมีพึงได้ของบุคคลนั้น                สรุปได้ว่า  สิทธิ หมายถึง  อำนาจหรือประโยชน์ของบุคคลที่จะเรียกร้อง  หรือการกระทำการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  ผู้อื่นหรือทรัพย์สิน  โดยได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมาย              2.2.2  ความหมายของสิทธิผู้ป่วย                วิฑูรย์  อึ้งประพันธ์  (2535)  ได้ให้ความหมายของคำว่า   ผู้ป่วย  ไว้ว่าผู้เจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจและรวมถึงผู้ที่ได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งหมดซึ่งอาจเรียกว่า เป็นผู้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข  (Health  Care  Consumer)                ดังนั้น  สิทธิผู้ป่วย  หมายถึงสิทธิของพลเมืองทุกคนที่ไปรับบริการทางการแพทย์        หรือสาธารณสุข  สิทธิดังกล่าวมีรากฐานมาจากสิทธิมนุษยชน  หลักการสิทธิผู้ป่วยจึงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล  เป็นสิทธิของทุกคนที่จะตัดสินใจในกิจกรรมต่าง   ส่วนตัวด้วยตนเอง  (Self  -determination)  ซึ่งแสดงถึงความเป็นอิสระของมนุษย์ (Human  autonomy)และแบ่งสิทธิผู้ป่วยไว้เป็น  2  ประเภท  คือ1.       สิทธิทางจริยธรรม  เป็นสิทธิทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง     เช่นสิทธิของมนุษย์ที่จะมีอิสระเสรี  สิทธินี้มีความเท่าเทียมกัน  และไม่สามารถเปลี่ยนมือได้2.       สิทธิทางกฎหมาย  เป็นอำนาจที่มีความชอบธรรมโดยมีกฎหมายรับรองสกุลรัตน์  ปิยนิจดำรงค์  (2539)  ให้ความหมายไว้ว่า  สิทธิผู้ป่วย  หมายถึง  สิ่งที่ผู้ป่วยพึงได้รับเมื่อมาใช้บริการหรือรับการรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งเรื่องการพยาบาลและสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต  โดยผู้ป่วยทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกันตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และผู้ป่วยก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ ตามสิทธิหน้าที่ของตน                สรุป  สิทธิผู้ป่วย  หมายถึงอำนาจหรือประโยชน์อันชอบธรรมที่ผู้ป่วย  หรือผู้มารับบริการทางสุขภาพพึงได้รับ  ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ  และคำประกาศสิทธิผู้ป่วยจากสถานบริการสุขภาพ  และผู้ให้บริการรักษาพยาบาล

หมายเลขบันทึก: 149315เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2007 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท