กระทรวงวัฒนธรรมและกีฬา มีความสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง


เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะว่า ถ้าแนวทางการพัฒนาประเทศต้องพึ่งเศรษฐกิจพอเพียง คงไปไม่ได้ไกล

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์เสรี  พงศ์พิศ ได้รับการทาบทามให้ช่วยเขียนแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแง่มุมวัฒนธรรม  เป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ....

เพราะว่า นักวิชาการด้านมนุษยวิทยาและนักสังคมศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  เป็นเรื่องทางด้านวัฒนธรรม เหมือนกับการเริ่มต้นที่สัมมาทิฏฐิ (เรื่องความหมาย,เรื่องคุณค่า และความเข้าใจที่ถูกต้อง)

การแสวงหาทางด้านวัฒนธรรมก็จะกลายเป็นเรื่องของ จิตใจ เรื่องจิตสำนึกในเรื่องความพอเพียง  เรื่องกายหรือการปฏิบัติที่อ่อนน้อมไม่ฝืนกระแสเศรษฐกิจโลก มากนัก จนกลายเป็นประเพณี  เช่นไม่ตัดต้นไม้ เพราะจะทำให้โลกร้อน ไม่สูบบุหรี่เพราะไปทำร้ายปอดคนอื่นเขา  หรือไม่ดื่มเหล้าเพราะว่ากลัวว่าคนเขาจะว่าค่าเหล้าเท่ากับค่ากับข้าวลูกเมีย หรือเมื่อสะสมไปมากๆ ก็เท่ากับค่าเทอมลูกอะไรทำนองนี้ครับ

หลักการของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังคงเดิมครับ คือ อยู่รอด  ,พอเพียง ,ยั่งยืน

การปรับใช้คือ อยู่รอด ทางด้านวัฒนธรรม คือ คนอยู่รอด ศีลธรรมอยู่รอด , สังคมอยู่รอด  นั่นคือ สิ่งที่ปฏิบัติต้อง เป็นการ (ลด, เลิก ,ทดแทน) หากทำให้ได้ 1 ใน 4 ของ(อบายมุข,สิ่งฟุ่มเฟือย) 

 หรือเป็นคำกล่าวของ พระอาจารย์พุทธทาส ว่า "ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา  โลกาจะวินาศ"

หมายเลขบันทึก: 149314เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2007 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท