วันนี้ไปเดินงานที่วัดใหญ่ (วัดพระพุทธชินราช, พิษณุโลก) มีร้านขายกล้ายไม้ 7-8 ร้าน ผมได้แวะเข้าไปดูกล้วยไม้สกุลช้างที่ออกดอกกันสลอน มีอยู่ 4 ต้นที่น่าสนใจมีลักษณะพิเศษคือ ใบยาวคล้ายกับไอยเรศ แต่กว้างกว่าเล็กน้อย ดอกเป็นช่อยาว ดอกสีขาว(เผือก) 2 ต้นอีก 2 ต้นเป็นชุดสีแดงเหมือนช้างกระ แต่ช่อยาว ใบยาวเหมือน 2 ต้นแรก ผมถามคนขายว่า 4 ต้นนี้ใช่ช่อชลูดหรือไม่ คนขายบอกว่าต้นสีขาวคือช้างเผือก ส่วนเป็นจุดกระคือช้างพลาย และคนขายได้ถามผมต่อว่าช่อชลูดคืออะไร(ลองภูมิ) ผมจึงบอกว่า ช่อชลูดเป็นลูกผสมช้างกับไอยเรศ แต่คนขายบอกผมว่า ชลูดคือช้างพลายที่มีใบเล็กเรียว และก็บอกผมให้ไปศึกษาให้ดี ผมก็เลยต้องมาศึกษาใหม่ ค้นคำว่า ช่อชลูด (Chorchalood) ก็พบว่า มีอยู่ 2 ชนิดที่ใช้คำว่าช่อชลูดคือ
1. Rhynchostylis Chorchalood เป็นลูกผสมระหว่าง ช้าง (Rhy. gigantea) กับ ไอยเรศ (Rhy. retusa) จดทะเบียนโดย Yaemboonchoo ในปี 1970
2. Arachnostylis Chorchalood เป็นลูกผสมระหว่าง Arachnis hookeriana กับ ช้าง (Rhy. gigantea) จดทะเบียนโดย Yaemboonchoo ในปี 1966
ซึ่งช้างทั้ง 4 ต้นที่ผมเห็นคือ ช่อชลูด ซึ่งถูกต้องแล้วครับ.... เวลาเลือกชื้อกล้วยไม้ขอทุกท่านสังเกตุสักนิดนะครับ จะได้กล้วยไม้ที่ถูกต้องตามสายพันธุ์ แต่สำคัญที่สุดคือ ถ้าสวยและชอบก็ซื้อได้ครับ
ช่อชลูด Rhy. Chorchalood
ช่อชลูด Rhy. Chorchalood Arachnostylis Chorchalood
Arachnostylis Chorchalood