บุหรี่


ให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

      วันนี้ (22พ.ย50)เป็นวันพฤหัสที่เราต้องมีหน้าท่ให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ ในตอนแรกที่เขียนโครงการขอเปิคลินิกให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่เป็นการให้บริการผู้ป่วยนอกที่อยากเลิกบุหรี่แล้วเดินเข้ามาขอรับคำปรึกษาในโรงพยาบาล

     การเปิดคลินิกให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่เป็นโครงการต่อเนื่องจากการที่เราได้มีโอกาสที่ดีเข้ารับการอบรมของ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เป็นหลักสูตรต้นแบบ

    ตอนที่เข้าอบรมเรามีความสนใจเรื่องการช่วยคนให้เลิดสูบบุหรี่อยู่แล้วเพราะไม่ชอบการสูบบุหรี่อย่างมาก ตอนที่ทำงานที่หอผู้ป่วยหนัก พบผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองตองใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลาไม่สามารถอย่าเครื่องช่วยหายใจได้ เรารู้สึกว่าเป็นความทุกข์ทรมานอย่างมาก

   เมื่อเราได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรต้นแบบของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการเลิกสูบบุหรี่ มุมมองและความรู้สึกของเราต่อคนสูบบุหรี่เปลี่ยนไประดับหนึ่งและเมื่อเรามาทำงานให้คำปรึกษากับผู้ป่วยหรือบุคคลที่สูบบุหรี่จริงๆทำให้เราเข้าใจคนติดบุหรี่มากขึ้น เข้าใจความเครียดที่ไม่ได้สูบบุหรี่ คนเราทุกคนรักตัวและกลัวตายกันทุกคนและต้องการเป็นคนที่สังคมยอมรับ เพี่ยงแต่ยังเลิกไม่ได้เนื่องมาจากทนต่อความเครียดได้ ไม่สามารถเอาชนะจิตใจที่อยากสูบได้ (การเอาชนะใจตนเองมันเป็นเรื่องยากจริงๆ) ประกอบกับบุคคลใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวไม่เข้าใจ ไม่ให้ความร่วมมือและประคับประคองให้ผ่านภาวะวิกฤติไปได้

    หลายคนเคยเลิกสูบบุหรี่มาแล้วแต่ต้องกลับไปสูบอีกเนื่องจากสภาพแลดล้อมท่ประกอบด้วย

   - เศร้า เหงา อยู่คนเดี่ยวไม่มีเพือน

   - เครียดจากการทำงานหรือจากการดำเนินชีวิตในสภาพสังคมท่เปลี่ยนไป

   - ในวงเหล้า (วงเหล้าทำให้เกิดอะไรๆอีกหลายๆอย่างจริง)

   - ฯลฯ

    กลับมาเล่าเรื่องการเปิดคลินิคให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ต่อ(หลงประเด็นไปนาน) เมื่อเปิดให้บริการใหม่ๆ มีผู้รับบริการฌแล่วันละ 1 คน บางวันไม่มีเลย ทั้งๆที่เราก็เดินบอกเกือบทุกห้องครวจเลยน่ะ ว่าถ้ามีคนไข้สูบบุหรี่ส่งมาขอรับคำปรึกษาได้เลยเรายินดีมาก เวลาผ่านไป 1 เดือน เรากลับมองมองหาช่องทางใหม่ว่าจะทำอย่างไรเราถึงจะได้ทำงานให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ถึงเราจะเปิดคลินิกต่อไปแต่ไม่มีผู้มารับบริการก็ไม่มีประโยชน์

      เราเริ่มกลยุทธ์ใหม่โดยการประสานงานกับหอผู้ป่วยหนักท่เราเคยทำงานอยู่ และจับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหัวใจที่สูบบุหรี่ เราพบว่าเกือบร้อย%ของผู้ป่วย AMI สูบบุหรี่ เราเริ่มวิธีการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ เขียนบันทึกกิจกรรมการให้คำปรึกษาใน nurse's note แต่ไม่มีใครอ่านมากนักจึงเปลียนมาบันทึกที่ Progress noteและ OPD card มีการสนใจบันทึกของเรามากขึ้น เริ่มมีการสั่งยาเพื่อลดการเครียดของคนไข้ร่วมด้วย หลังจากทำงานมาได้ 3 เดือน เราสรุปผลงานของคลินิก ให้คำปรึกษาเพื่อเลิกยาสูบ ดังนี้

  

ผลลัพธ์การให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ เดือน มิถุนายน กันยายน 2550  

ผู้รับคำปรึกษา

OPD

IPD

เลิกได้ < 30 วัน เลิกได้>1 เดือน ติดตามไม่ได้ เลิกได้ < 30 วัน เลิกได้>1 เดือน ติดตามไม่ได้
สูบเท่าเดิม สูบน้อยลง
สูบเท่าเดิม
สูบน้อยลง
5 3 2 4 1 3 7 -

14

11

รวม 25 คน

   ปัญหาและอุปสรรค์ของการดำเนินงานให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

  1.  ผู้รับบริการที่เดินเข้ามาขอเลิกบุหรี่มีจำนวนน้อย
  2. ป้ายห้ามสูบบุหรี่ในโรงพยาบาลมีจำนวนน้อย
  3. ยังมีบุคลากรของโรงพยาบาลสูบบุหรี่ในโรงพยาบาล

   หลังจากการสรุปผลลัพธ์ของการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่เรานำเสนอเลขา PCT อายุรกรรมก็ได้รับความสนใจพอสมควร เริ่มมีความร่วมมือเกิดขึ้นคือ

   หอผู้ป่วยใน PCT อายุรกรรม เริ่มสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับการสูบบุหรี่มากขึ้น(เริ่มAแรกเท่านั้นเอง) หลังจากนั้นไม่ว่าผู้ป่วยจะต้องการเลิกสูบบุหรี่หรือไม่(อีก 4A) เราลงไปทำเอง

   วันนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่เราได้มีโอกาสเดินไปทำอีก 4A ที่เหลือ รูปแบบการให้คำปรึกษาของเรามีทั้ง การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลในหอผู้ป่วยที่มีผู้ป่วยเข้ารับคำปรึกษาน้อยกว่า3 คน และให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่มในหอผู้ป่วยที่มีผู้รับคำปรึกษาจำนวนมาก 

   การให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ก็ได้ประสบการณ์อย่างที่อาจารย์ กรองจิต วาทีสาธกกิจ บอกจริงๆ "ผู้รับคำปรึกษาทุกคนเปรียบเสมอครูที่ได้ให้โอกาสเราเรียนรู้" และที่จะลืมกล่าวถึงไม่ได้คือ อาจารย์กัลยากร Intervention ของอารย์ที่ใช้บรรเทาอาการเครียดของผูเลิกบุหรี่ได้ดีที่สุดคือ "การนวด" เพราะ

     1)ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลย นอกจาก 2 มือของภรรยาเท่านั้นเอง

     2)ไม่ต้องให้ผู้ป่วยออกแรงเนื่องจากผู้ป่วยโรคหัวใจต้องจำกัดการทำกิจกรรมในระยะแรกทำได้แค่หายใจอย่างเดียวเท่านั้นเอง กิจกรรมที่เหลือพยาบาล ICU ทำให้ทั้งหมดค่ะ

     3)เรารู้สึกว่าทั้งผู้ป่วยและภรรยามีความสุขที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือกันและสัมผัสกันด้วยความรักค่ะ

     สรุป การให้คำปรึกาเพื่อเลิกบุหรี่ของเราทำให้ทั้งผู้ให้ ผู้รับและครอบครัวของผู้รับคำปรึกษามีความสุขค่ะ อาจารย์กรองจิตบอกอีกนั่นแหละว่า การมีความสุข คือการได้รับผลบุญที่เราทำ

หมายเลขบันทึก: 148408เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2007 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท