ขับรถอย่างไรปลอดภัย ปลอดภัยจากน้ำตาลในเลือดต่ำ


พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องคนโมโหหิว หรือน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วออกอาการต่างๆ มาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีวิธีป้องกันอันตรายจากการขับรถท่ามกลางภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมาฝากครับ

พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องคนโมโหหิว หรือน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วออกอาการต่างๆ มาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีวิธีป้องกันอันตรายจากการขับรถท่ามกลางภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมาฝากครับ

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์อเล็กซานเดอร์ ดี. เอ็ม. สทอร์ค และคณะ แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยอูเทรคท์ เนเธอร์แลนด์ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างคนไข้เบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวม 65 คน

...

เบาหวานชนิดที่ 1 ส่วนใหญ่พบในเด็ก เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินที่จะนำน้ำตาลเข้าเซลล์ได้น้อยลง

เบาหวานชนิดที่ 2 พบมากในผู้ใหญ่ และเด็กโตที่อ้วน เกิดจากเซลล์ทั่วร่างกายพากันประท้วง ดื้อต่ออินซูลิน ทั้งๆ ที่ตับอ่อนยังคงผลิตอินซูลินได้

...

ผลการศึกษาพบว่า คนไข้เบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 21 ใน 45 คนหรือ 46.67% ยังคงฝืนขับรถไปทั้งๆ ที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ แถมคนไข้ 43% ในจำนวนนี้ยังบอกว่า ถึงน้ำตาลในเลือดต่ำก็ขับรถได้

อาจารย์สทอร์คกล่าวว่า คนไข้เบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่า 40% (42.86%) ไม่รู้ว่า น้ำตาลในเลือดต่ำทั้งๆ ที่น้ำตาลในเลือดต่ำแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน

...

คนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำและฝืนทำงานหรือขับรถมีความเสี่ยงที่จะเป็นลม หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรือเกิดอุบัติเหตุง่ายกว่าคนทั่วไป

อาการที่บ่งชี้ว่า อาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้แก่ ใจสั่น มือสั่น การมองเห็นตกลงชั่วคราว ความคิดอ่านช้าลง สมองไม่แล่น

...

อาการแบบนี้พบบ่อยในคนไข้เบาหวานที่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลินชนิดฉีดหรือยา โดยเฉพาะถ้ากินข้าวไม่สม่ำเสมอ เช่น มื้อนี้ไม่ชอบก็ไม่ยอมกิน ถึงเวลากินแล้วไม่กิน ฯลฯ จึงควรพกน้ำตาล หรือลูกอมติดตัวไว้กินเมื่อมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

คนที่ไม่เป็นเบาหวานก็พบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ โดยเฉพาะถ้ากินอาหารประเภทน้ำตาล เช่น เครื่องดื่มเติมน้ำตาล ฯลฯ แป้งขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว ฯลฯ มาก

...

อาหารประเภทแป้งขัดสีและน้ำตาลทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเร็ว-ลดต่ำเร็ว ทำให้หิวง่าย อ้วนง่าย

วิธีป้องกันที่ดีคือ เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง กินผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล(ไม่ใช่น้ำผลไม้) ถั่ว งา นมไขมันต่ำหรือนมไม่มีไขมัน และกินอาหารไขมันต่ำ เพื่อให้การย่อยอาหารช้าลง น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นช้าๆ และลดลงช้าๆ

...

การพกอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม นมไขมันต่ำหรือนมไม่มีไขมัน ฯลฯ ติดรถไว้ก็ช่วยแก้ขัดได้ ดีกว่าเสี่ยงน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกิดอุบัติเหตุ หรือโมโหหิว

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ที่มา                                                        

  • Thank Reuters > Amy Norton > Some diabetics prone to unsafe driving choices > [ Click ] > November 20, 2007. / J Diabetes care. November 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 21 พฤศจิกายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 148117เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2007 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ผมเป็นอีกคนหนึ่งคับ
  • เวลาหิวจะหงุดหงิด
  • ขอบคุณมากๆครับ

ขอขอบคุณ... คุณ suksom

  • คนส่วนใหญ่คงจะหงุดหงิดง่ายขึ้นเมื่อหิว
  • ทว่า... มีบางคนที่หิวมากๆ แล้วหงุดหงุด หรือโกรธ ก้าวร้าวรุนแรง
  • ดูจะมีคำเรียกว่า 'bonk' ภาวะนี้พบบ่อยในคนที่ใช้แรง เช่น เล่นกีฬา ทำงานหนัก ฯลฯ

สวัสดีครับอาจารย์ครับ

ผมขออนุญาตเชื่อมโยง ไปยังบันทึกภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกือบชอ็ค ที่ประสบมาด้วยตัวเองเมื่อไม่นานมานี้ครับ

http://gotoknow.org/blog/paleeyon/145741

เบาหวาน: รู้จริงแต่เก็บไว้ในใจไม่ปฏิบัติ เกือบวางวาย

ขอบคุณครับ

ขอขอบคุณ... คุณ Paleeyon

  • เรียนเสนอให้ท่านผู้อ่านลองแวะไปอ่านเรื่องของคุณ Paleeyon ครับ... น่าสนใจมากทีเดียว
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท