ความรู้สึกเสรี --- อยู่ร่วมโลกกับวิทยาศาสตร์?!


"จิตเสรี" "การกระทำเสรี" "การคิดเสรี" --- ยังไม่จบครับ --  เราค้นหาความหมายด้วย"การคิด" ไม่ใช่การ"ไปดู" ครับ  เพราะ มันไม่มีอะไรให้ดู?  คิดว่าเราไม่มีทางจะดูได้? หรือว่า "ดูได้"?  ปัญหาข้อสงสัยข้อนี้เราต้องเข้าไปสำรวจใน"อาณาจักรของวิทยาศาสตร์" แล้วละครับ  โดยเฉพาะ อาณาจักรของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติทีชื่อว่า "เคมี" ครับ

ในสาขาเคมีนั้น  เรารู้กันว่า "อะตอม" - Atom -  นั้น เป็น"สิ่ง"ที่เล็กมาก และ "เป็นวัตถุ"ครับ!  คนที่ "คิดเรื่องนี้" และ "นำ"คำ Atom เข้ามาใช้"ในสังคมของมนุษย์"คนแรก ก็คือ Democritus ราวๆช่วง ๓๐๐ - ๒๐๐ ก่อน ค.ศ.  สมัยนั้น ดิโมคริทุส คิดว่า อะตอมเป็น "ธาตุ" และ อะตอม "เล็กที่สุด" ครับ  แยกต่อไปไม่ได้อีกแล้ว  เขาให้เหตุผลว่า  การที่มันแยกตัวต่อไปไม่ได้นี้เอง  การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตัวมันก็สิ้นสุด  มันจึงมีความเป็น"นิรันดร์" และที่สำคัญก็คือ มัน"สามารถรวมตัวกันเป็นวัตถุต่างๆ" ได้ทุกอย่าง  มันรวมตัวกันเป็น"โมเลกุล"(แต่คำนี้มีผู้เสนอใช้ภายหลัง) โมเลกุลรวมตัวกันเป็น"เซลล์" เซลล์รวมกันเป็น กล้ามเนื้อ เป็นเลือด เป็นมือ  เท้า  เป็นสมอง  เป็นตัวคนทั้งตัว!!  และเรียกกันว่า Atomic Theory ของ Democritus

เราสามารถ "อธิบาย" คนได้ด้วย "อะตอม" !!!

แต่ที่เราติ่นเต้นตอนนีก็คือ "เราจะสำรวจมันดูว่า เราจะสามารถนำมาอธิบาย - รู้สึกเสรี - ได้หรือไม?"  เราไล่ต่อไปนะครับ

ในปัจจุบันนี้ นักเคมีได้"สำรวจเจ้าอะตอม"นี้ด้วยการทดลอง และแสดงให้เราเห็นว่า อะตอมมันยังมี"โครงสร้าง"ที่ประกอบด้วย Electron(s)" กับ สิ่งที่เรียกว่า Nucleous ,  Electron วิ่งโคจรอยู่รอบๆ นิวเคลียสด้วยความเร็วสูงยิ่ง  ทำให้ดูเป็นว่า การวิ่งของมันจะกลายเป็น"เปลือก"ห่อหุ้มนิวเคลียสไปเลย  และนอกจากนี้  การวิ่งรอบๆของมันไม่เคยตกลงไปชนนิวเคลียสเลย  ส่วน Nucleous ของอะตอม อาจจะประกอบด้วย ๑  Proton หรือมากกว่านับเปนสิบๆโปรตอนก็ได้ และนอกจากนี้ ยังมี Neutron จำนวนหนึ่งอีกด้วย  โปรตอนนี้มีประจุไฟฟ้าบวก  ส่วนนิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้า  โปรตอนและนิวตรอนรวมกันด้วย"แรง"บางประการ เป็น Nucleous ดังกล่าว   อิเล็กตรอนและนิวเคลียส "ดูด"กันด้วย"แรง"มหาศาล

และที่สำคัญต่อการวิเคราะห์ของผมก็คือ "อิเล็กตรอน" นี้มีธรรมชาติเป็น"วัตถุ" เรียกกันว่า "อนุภาค" หรือ Particle(s) ครับ

ถ้าถามว่า "รู้สึกเสรี" ของเราเป็น"อนุภาค" ด้วยหรือไม่? อ๋อ ผมว่าไม่ใช่ตรับ  ฉะนั้น มั่นใจได้ว่า  "รู้สึกเสรี"นี้ "ไม่ใช่วัตถุ" ซึ่งเราจะเรียกว่า "อนภาค"ไม่ได้  เพราะถ้าเรียกว่าอนุภาคแล้ว  มันจะต้องเป็นวัตถุ  แม้ว่าเราจะมองไม่เห็น!

ดังนั้น "รู้สึกเสรีไม่ใช่วัตถุ"

ถ้าหันไปดู โปรตอน  และพิจารณาดังวิธีที่กล่าวมา  ก็จะได้ผลเช่นเดียวกันครับ

คราวนี้เราลองดูผลการทดลอง "ยิง" นิวเคลียสให้ระเบิดออกไป เพื่อจะดูว่ายังมีอะไรอีกที่แยกได้  ในที่สุดก็สามารถ "ระเบิดนิวเคลียสได้" ซึ่งทำให้ได้พลังงานมหาศาล  ทำให้มนุษย์เริ่มเข้าสูยุค "นิวเคลียร์" ครับ ซึ่งผลอันนี้ก็ยังเป็นเรื่องของ วัตถุและพลังงานอยู่  เราจะเข้าไปสำรวจหาที่นั่งของ "รู้สึกเสรีไม่ได้เลย"  เพราะ รู้สึกเสรีไม่ใช่พลังงานและวัตถุเลย

ผมจึงอ่อนเปลี้ยเพลียใจที่จะเข้าไปหา "ลักษณะ"ของ "รู้สึกเสรี" ใน"โครงสร้างของอะตอม"แล้วละครับ (แต่ยังสู้ๆเหมือนที่เขาเชียร์ผู้แทนกันนะครับ)  แม้ด้วย "เหตุผล" หรือ "หลักการ"

หมายเลขบันทึก: 147691เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2007 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท