ความรู้สึกเสรี ---- อะไร?


เรายังไม่รู้เกี่ยวกับ "ความรู้สึกเสรี" อีกมากครับ  ผมคิดว่าจะคิดเรื่อยเปี่อยเปื่อย -- เอ๊ย คิดจริงๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อจาก http://gotoknow.org/blog/mind/147046  อีกครับ  คือ  ผมอยากรู้ว่า  มันคืออะไร?  เป็นสสารหรือไม่?  หรือว่า  เป็น "ผลพลอยได้แบบนัยทั่วไปจากผลการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ  โดยที่เราสืบหาต้นตอได้ยาก"หรืออย่างไร?"  โดยเราพิจารณาไล่ไปตามลำดับดังนี้ครับ

เราหยุดรถที่ไฟแดง  หมายความว่า "เราถูกบังคับ" โดยไฟแดง(ไม่ใช่คน)  และหมายความต่อไปว่า "เราสูญเสียเสรีภาพ" แต่เรา "ไม่"รู้สึกว่าเราสูญเสียเสรีภาพ!

เราวิ่งหลบฝน  หมายความว่า "เราถูกบังคับ"โดยฝน(ไม่ใช่คน)  และหมายความต่อไปว่า  เรา"ไม่" รู้สึกสูญเสียเสรีภาพ

นายแดงสั่งนายดำว่า "ยืนขึ้น  แล้วมาหาผม"  นายดำทำตาม  หมายความว่า "นายดำถูกบังคับ" (โดยคน คือคำสั่งของนายแดง)  หมายความต่อไปว่า "นายแดงสูญเสียเสรีภาพ" แต่คราวนี้ นายแดง"รู้สึกว่าสูญเสียเสรีภาพ"ด้วย

เหตุการณ์ข้างบนนี้บอกเราบางอย่างดังนี้

(๑) ถ้าการกระทำของเราถูกขัดขวางหรือถูกบังคับโดยคนด้วยกันแล้ว  เราจะรู้สึกว่า  เราสูญเสียเสรีภาพ (เราเสียเสรีภาพจริงๆ)

(๒) ถ้าการกระทำของเราไม่ถูกขัดชวางหรือถูกบังคับโดยคนด้วยกันแล้ว  เราจะรู้สึกว่า เราไม่เสียเสรีภาพ (ทั้งๆที่เราเสียเสรีภาพจริงๆ  ถ้าหากเสรีภาพมีจริง)

(๓) ฉะนั้น (จาก ๑ และ ๒)  เราได้ความหมายว่า "เสรีภาพเกิดจากความรู้สึกของเราเอง (ทั้งๆที่แท้จริงแล้วหามีสิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพไม่)

(๔) (จาก ๑ และ ๒ เช่นกัน)  เราได้ความหมายว่า "แท้จริงแล้วเราต้องมีความรู้สึกเสรี (เพราะว่า ถ้าไม่มีความรู้สึกนี้อยู่จริงแล้ว  เราจะรู้สึกมันได้อย่างไร?) หรือ

(๕) เรา"ไม่"มีสิ่งที่เรียกว่า เสรี  คิดเสรี  กระทำเสรี  จิตเสรี อยู่จริงในจักรวาลนี้ เพียงแต่เรารู้สึกเอาเองว่ามีเท่านั้น

(๖) เรามีสิ่งที่เรียกว่า  เสรี  คิดเสรี  กระทำเสรี  จิตเสรี  อยู่จริงในจักรวาลนี้  เราจึงเกิดความรู้สึก "นี้" เมื่อถูกขัดขวาง หรือ ถูกบังคับ

การวิเคราะห์เรื่องนี้  ส่วนใหญ่ เราใช้ความคิดเชิงเหตุผล  ไม่ใช่ใช้วิธีไปดู  หรือลูบคลำ  เพราะว่า  รู้สึกเสรี  มันไม่มีตัวตน  สังเกตไม่ได้เลยครับ  ผลจากเหตุผลจึงเป็นสมมุติฐานเชิงทฤษฎี ทั้งสิ้น ครับ

คำสำคัญ (Tags): #การกระทำเสรี
หมายเลขบันทึก: 147451เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท