แง่งามแห่งคำพูด : นิราศภูเขาทอง


เรื่องราวบันทึกประวัติศาสตร์ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในประชุมกลอนนิราศสุนทรภู่ จากข้อเขียนอันงดงามของ นิราศภูเขาทอง ที่ได้รับการหยิบยกมาอธิบายในยามมองเห็นชีวิต พินิจและพิจารณาการกระทำในแต่ละขณะของชีวิต

แง่งามแห่งคำพูด : นิราศภูเขาทอง

อ้างอิง - ภาพ http://burabhawayu.multiply.com/photos

เมื่อเอื้อนเอ่ยความงดงามแห่งคำพูด

คำกล่าวถึงบทถึงบาท

แห่งงานประพันธ์ในนิราศภูเขาทอง

ล้วนยิ่งใหญ่สวยงามจับใจ ไม่ว่าจะเป็นแต่ละแง่งามของความหมาย ซึ่งกวีใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ถ่ายทอดไว้ ผ่านการมองเห็น และเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิตผู้คน คำอธิบายถึงความจริงของโลก ว่าจะดำเนินไปเช่นไร

ความหมายของคำสอน

ถึงหนทางอันพึงก้าวไปของมนุษย์

คือหนึ่งมนต์เสน่ห์สำคัญ

ซึ่งน้อมนำให้เราก้าวตาม เรียนรู้และถอดปริศนาของชีวิต ซึ่งเก็บซ่อนไว้ในวรรณกรรม กลอนแปด จำนวน 89 คำกลอน ที่สอนเราได้เข้าใจชั่วขณะได้เกือบทั้งชีวิต หากเราคิดไตร่ตรอง เดินตาม และก้าวย่างไปในแต่ละบท แต่ละบาทของคำ

ในข้อเขียนคำนำ

ของรังสฤษฎิ์ เชาวน์ศิริ อธิบดีกรมศิลปากร

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2518

ภายในหนังสือชื่อ ชีวิตและงานของสุนทรภู่  ฉบับรวมพิมพ์ครั้งที่ 10 กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ สำนักพิมพ์เสริมวิทย์บรรณาคาร พิมพ์จำหน่าย ระบุว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2485 ธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ได้จัดทำเชิงอรรถและบันทึกเพิ่มเติมตามหลักฐานที่ปรากฎ ระบุว่า

นิราศภูเขาทอง แต่งราวพุทธศักราช 2371

ในรัชกาลที่ 3

เมื่อครั้งสุนทรภู่ได้อุปสมบท

เป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชบูรณะ หรือ วัดเลียบ และได้เดินทางไปยังกรุงเก่าโดยทางเรือ นายธนิต อยู่โพธิ์ สันนิษฐานว่าสุนทรภู่ คงจะแต่งนิราศเรื่องนี้ เมื่อท่านมีอายุได้ 42 ปี และอุปสมบทมาได้ราว 4 หรือ 5 พรรษา นิราศภูเขาทองนี้ นอกจากจะมีคำกลอนไพเราะแล้ว ยังช่วยให้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติสุนทรภู่อย่างมาก

เรื่องนี้ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พุทธศักราช 2465

รวมอยู่ในการพิมพ์หนังสือร่วมเล่ม

ประชุมกลอนนิราศสุนทรภู่ 

ครั้งนี้ในปีพุทธศักราช 2485  นับเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 16 ผลงานประชุมกลอนนิราศของ สุนทรภู่ ในพระราชอาณาจักรสยาม ซึ่งมีพระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นต้นเรื่องทรงนิพนธ์ขึ้น เพื่อให้พิมพ์รวมกับเสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ซึ่งเป็นบทนิพนธ์ของสุนทรภู่ แจกเป็นอนุสรณ์ในงานฉลองพระชันษาครบ 60 ปี เมื่อปีจอ พุทธศักราช 2465 เป็นครั้งแรก

กระทั่งบัดนี้

ความงดงามแห่งคำ

ยังคงปรากฎให้เราได้เรียนรู้ 

 

อ้างอิง

นิราศภูเขาทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ. 2329 - 2398) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. 2371) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ลักษณะคำประพันธ์

นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนแปด มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะ และเรียบง่าย ความแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้

[แก้] การเดินทางในนิราศ

สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดประโคน บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตจังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบพระธาตุ จึงได้เดินทางกลับ

[แก้] คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์

คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอนนิราศภูเขาทอง มีการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้

  1. สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
  2. สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน
  3. การซ้ำเสียง คือ การสัมผัสอักษรอย่างหนึ่ง นับเป็นการเล่นคำที่ทำให้เกิด เสียงไพเราะ การซ้ำเสียงจะต้องเลือกคำที่ให้จินตภาพแก่ผู้อ่านอย่างแจ่มชัดด้วย
  4. การใช้กวีโวหาร คือ นิราศภูเขาทองมีภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
  5. ภาพพจน์อุปมา คือโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
  6. ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น
  7. การเลียนเสียง คือ กวีทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิด มโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
  8. การเล่นคำ คือ การใช้ถ้อยคำคำเดียวในความหมายต่างกันเพื่อให้ การพรรณนาไพเราะน่าอ่าน และมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น

[แก้] บางตอนจากนิราศภูเขาทอง

๏ ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ
   
๏ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ
   
๏ จงทราบความตามจริงทุกสิ่งสิ้น อย่านึกนินทาแกล้งแหนงไฉน
นักเลงกลอนนอนเปล่าก็เศร้าใจ จึงร่ำไรเรื่องร้างเล่นบ้างเอยฯ
   
หมายเลขบันทึก: 146539เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2007 01:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สุนทรภู่ ครูกลอน อักษรสรร
  • บทประพันธ์ เรียงร้อย ถ้อยโวหาร
  • ยังตราตรึง ซึ้งทรวง ซ่านดวงมาน
  • นิรันดร์กาล เพราพริ้ง สิ่งยินยล
  • สวัสดีครับ คุณพิสูจน์ P
  • ผลงานอันยิ่งใหญ่ ของบรมครูกวี นาม สุนทรภู่
  • ล้นพ้นอย่างมากครับ
  • ติดตราตรึงใจคนไทย ในแต่ละคำกล่าว
  • แต่ละข้อเขียน
  • ขอให้ผลงานจากความพยายาม
  • เพื่อสร้างสรรค์โลกแห่งอักษรไทย
  • จงอยู่คู่กับคำรำลึกนาม สุนทรภู่
  • ขอบคุณมากครับ
  • สำหรับข้อเขียนอันงดงาม
  • ขอบคุณครับ

uihสุนทรภู่เก่ง

อ่านงานสุนทรภู่..แล้วคิดถึง หลี่ไป๋..ไปพร้อมๆ กัน
ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท