วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ผักปลังร้อยเอ็ดเพื่อสุขภาพความพอเพียงสู่เงินล้านแห่งอำเภอธวัชบุรี


เกษตรกรรม

ผักปลังร้อยเอ็ดเพื่อสุขภาพความพอเพียงสู่เงินล้านแห่งอำเภอธวัชบุรี 

พืชเศรษฐกิจโดยทั่วไป เกษตรกรมองถึงพืชผักที่มีชื่อแปลกราคาแพง มาจากต่างประเทศ ความเป็นจริงผักพื้นบ้าน สามารถสร้างเงินสร้างงาน สร้างรายได้อย่างพอเพียง เกษตรกรผู้มีความขยันอย่างฉลาด ปราศจาค อบายมุข แก้ไขปัญหาด้วยปัญญา นำผักพื้นบ้านปลูกปลัง วันนี้ทีมงานจากเมืองเกินร้อย นำคณะเข้าเยี่ยมศูนย์พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ คุณคงศักดิ์  นาคคุ้ม ให้การต้อนรับด้วยไมตรี พร้อมนำเยี่ยมการทำงานของพนักงาน บรรจุหีบห่อ แตง มะเขือเทศ คะน้า ผักกาดหอม คัดเลือกผัก ชั่งน้ำหนัก พร้อมมีห้องเย็นเพื่อการเก็บรักษาคุณภาพก่อนถึงมือผู้บริโภคคุณคงศักดิ์  นาคคุ้ม กล่าวว่า ที่นี่คือศูนย์กลางการผลิตพืชผักที่ปลอดสารพิษมีหลายหลายชนิดแต่ที่เป็นพระเอกในขณะนี้คือ ผักปลัง ที่ทีมงานของเราต้องสอบถามความเป็นมาเพราะ ผักปลังคือผักพื้นบ้านทำไมต้องมาเป็นพระเอกที่นี่ จึงได้รับคำตอบว่า ผักปลัง เป็นไม้เลื้อย มีสายพันธุ์ก้านสีเขียวและก้านสีม่วง ใบสีเขียวเป็นมัน รูปคล้ายหัวใจ ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อ ชาวเหนือเรียกว่าผักปั๋ง มีรสหวานเนื้อนุ่ม มีเมือกลื่นมาก กินง่าย ถ้าปรุงอาหารที่มีรสเปรี้ยว จึงจะไม่มีเมือกมาก  กินได้ทั้งยอดอ่อน ใบอ่อนและดอก นำมาลวก หรือนึ่งจิ้มน้ำพริก ชาวเหนือนิยมกินกับน้ำพริกดำ น้ำพริกตาแดง นำไปแกงกินกับถั่วเน่า จอผักปั๋งใส่มะนาว ดอกเอาจอกับแหนม แกงแค  ชาวเหนือและชาวภาคอีสานเก็บดอกตูมเด็ดยอดมาแกงส้ม ผับกับแหนม แกงเลียงใส่ปลา หรือกุ้งแห้ง แกงผักปั๋งใส่แหนม ชาวกรุงเทพฯเอามาเป็นผัดผักไฟแดง หรือผัดน้ำมันหอย ผักปลัง มีคุณค่าทางอาหาร มากมาย แคลเซี่ยม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2.866 ไมโครกรัม วิตามินเอ 478 ไมโครกรัม   ช่วยบำรุงสายตา และฟันให้แข็งแรง เมือกผักปลัง ทำหน้าที่ดูดซับสารพิษ ออกจากร่างกายถือเป็นผักสุขภาพ ตามหลักโภชนาการอาหารปลอดสารพิษ คุณคงศักดิ์ เล่าต่ออย่างได้อารมณ์ เพราะผู้ฟังสนใจมากยิ่งขึ้น และนำเยี่ยมแปลงผักต่างๆจำนวน 15 ไร่ ผักปลังเป็นผักพื้นบ้านโดยทั่วไป ขึ้นตามรั้ว ข้างบ้าน หลังบ้าน ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นสายพันธุ์ที่มีคุณภาพก้าน ใบหนา มีเมือกน้อยกว่าพันธุ์พื้นบ้าน คุณค่าทางโภชนาการสูงวิธีการปลูก การเพาะเมล็ดจะทำให้ผักปลังมีอายุดีกว่าการปักชำ โดยการเพาะเมล็ดในกระบะเพาะชำประมาณ 2 เดือน ระยะปลูกที่เหมาะสม 80X80 เซนติเมตร ขุดหลุมขนาด 50X50X50 เซนติเมตร ปรับปรุงให้ดินร่วนซุย ผสมคลุกเคล้า ปุ๋ยอินทรีย์ ปุยหมักหรือปุยคอกให้เหมาะสม แกลบดำ 2 ถัง รองก้นหลุม เพื่อรักษาความชื้นอย่าให้มากไปเพราะเป็นพืชอวบน้ำ เกิดอาการแพ้ปุ๋ยได้ คือรากเน่า โคนเนาตามา   ปิดด้วยดินรุ่วนด้านหน้าหลุมเพื่อรักษาความชื้นผักปรังเป็นพืชอวบน้ำ ต้องการความชื้นอย่างต่อเนื่อง แกลบดำช่วยให้ระบบรากเจริญเติบโตเร็วทำให้ต้นอวบ หลังการปลูกประมาณ 15-20 วันให้เด็ดยอดได้ทันทีเพื่อการแตกยอดมีทรงพุ่ม ไม่ต้องปล่อยให้เลื้อย การตัดยอดระดับสูงจากดินประมาณ 25-30 เซนติเมตร โรคและแมลงไม่ค่อยพบ ควรเสริมปุ๋ยชีวภาพประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อหลุมต่อระยะเวลา 15 วัน หลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสกับในหรือก้านใบ จะทำให้ใบเสีย หรือเกิดอาการเน่าตาย ผักปลังด้อยคุณภาพราคาตกต่ำนายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า  วันนี้มีโอกาสเข้าเยี่ยม “ศูนย์พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ของคุณคงศักดิ์ นาคคุ้ม โดยเฉพาะผักปลังที่ปลูกทุกวันนี้ ขายดีมากทั้งขายปลีกทั่วไป ขายส่งผ่าน “Seven Eleven” หรือตามห้างสรรพสินค้า ราคาขั้นต่ำ 50 บาท ฟังแล้วชื่นใจแทนเกษตรกรเพราะราคาสินค้าภาคการเกษตรส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา แต่ผักปลังส่งตลาดไม่ทันในช่วงฤดูหนาวชะงักการเจริญเติบโตอีกต่างหาก เร่งการผลิตนอกฤดูกาลยังไม่มีความสำเร็จ ทั้งนี้ให้มีการประสานงานกับ นายเลอสิทธิ์ สายแก้วมา เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด นายสุรชาติ กันทวิชยานนท์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้งนายวิศรุต กระบวนสืบ พาณิชย์จังหวัดร้อยเอ็ด การค้าภายในจังหวัด นายสมอินทร์ เกษนัด ประธานสภาอุตสาหกรรม ดร.สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด นายธีระ ชัยคณารักษ์กูร ประธานกรรมการบริหาร หจก.ฉั่วจั่วกี่ จำกัด โรงแรมไหมไทย และโรงเรียนธีรภาดาเทคโนโลยีร้อยเอ็ด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสร้างกลไกการตลาด พืชผักที่ปลอดสารพิษ ชีวิตมีความปลอดภัย ทุกท่านยินดีให้การสนับสนุนเพื่อการเชื่อมโยงการตลาด โรงแรมผักปลอดสารพิษ ลูกค้าเข้าพัก โรงเรียนปรุงอาหารจากผักคุณภาพ นักเรียนมีคุณภาพตามมาทางด้านนายเลอสิทธิ์  สายแก้วมา เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า พื้นที่ศูนย์พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ถนนแจ้งสนิท ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี อยู่ด้านหลังที่ทำการ อบต.นิเวศน์ สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ให้การสนับสนุนสารป้องกันกำจัดแมลงและกำจัดโรคพืช เป็นสารชีวภาพ โดยการประสานงานของนายปราโมทย์  กาญจนรัชต์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว.นายวินัย ลือชา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สร้างความเชื่อมั่นให้กับการผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ สร้างความพอเพียง อุ้มชูตัวเองได้ก่อนการก้าวหน้าต่อไป พร้อมคุณคงศักดิ์  นาคคุ้ม กล่าวในตอนท้ายว่า วันนี้ต้องทำงานหนักมากขึ้น มีผู้มาศึกษาดูงานทุกวัน รับแขก ทั้งภาครัฐภาคประชาชน เอกชน ชาวต่างประเทศ สนใจศึกษาดูงานหรือแลกเปลี่ยนความคิดเป็น โทร.081-9272541 ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ   ************************ 

วัชรินทร์ เขจรวงศ์

208 หมู่ที่ 2 บ้านสามแยก ตำบลเหนือเมือง

อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทร.0-6850-2416 โทรสาร.0-4351-8449                  

           [email protected],[email protected]

                                                                                                                                                     

http://www.watcharin101.net

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร101
หมายเลขบันทึก: 146417เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมสนใจปลูกผักปรังขายครับ ที่บ้านปลูกขายอยู่ ขายตามตลาดนัด แต่ราคาขายมันไม่เว่อร์แพงอย่างว่าเลยครับ 50 บาท ถ้าเราปลูกมากๆส่งต่างประเทศมีคนกินไหมครับ. จะได้รวมกลุ่มปลูกกัน น่าจะดีครับ .ขอความเห็นเพิ่มครับ..

หรือถ้าแม่ค้าแถวกรุงเทพสนใจ ผักชนิดนี้และต้องการนำไปขายที่ละมากๆ ติดต่อมาที่นี่ได้ครับ เราจะผลิตส่งให้ท่านครับ ผมอยู่ลำพูนครับตอนนี้เราปลูกแค่พอขายไม่มากครับ. หากท่านสนใจเราจะขยายแปลงปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นตันได้ครับ (เมลผมครับ [email protected] )

หวัดดีค่ะขอเรียกว่าลุงแล้วกันนะคะ คนบ้านเดียวกันเลยเนาะแต่หนูอยู่ อ.เมือง อยู่บ้านเมืองทองค่ะ แถวๆทางไปอ.จตุร หนูเคยเห็นข้อมูลเกษตรที่ลุงทำไว้ในเวปหลายเรื่องเหมือนกันค่ะ ดีใจจังที่ลุงเป็นคนรักเกษตรจริงๆ แถมยังมีข้อมูลให้ดูอีกเพียบ ไม่เหมือนเกษตรบางคนที่กินเงินเดือนไปวัน ๆ แต่กลับไม่ได้พัฒนาอะไรเลย ที่จริงแล้วหนูก็จบเกษตรเหมือนกันค่ะที่ มทร.สุวรรณภูมิ ตอนนี้เป็นผู้ช่วยนักวิจัยอยู่ค่ะ เห็นร้อยเอ็ดบ้านเราแล้วรู้สึกใจหายค่ะที่มันแห้งแล้งมาก ๆ แล้วยังงี้เราจะพัฒนาระบบเกษตรของจังหวัดเราได้ยังไงล่ะค่ะ มีที่ดินเป็นของตัวเองแต่ไม่มีน้ำที่จะเพาะปลูก มันน่าเสียดายจริงๆ ค่ะ แต่ถ้าเป็นเรื่องของการเพาะเห็ดาขายก็น่าจะดีนะคะคงจะดีกว่าปลูกผักถ้าหากว่ามีตลาดที่ดีนะคะ หนูอยากจะไปพัฒนาด้านการเกษตรที่บ้านจริง ๆ ค่ะ จะได้ให้ชาวร้อยเอ็ดเรามีอาชีพที่มั่นคง และเป็นเมืองที่น่าอยู่ ไม่ใช่ติดอันดับจังหวัดที่ยากจนอีกต่อไป

ที่จริงแล้วเกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัดก็มี แต่ทำไมไม่ค่อยจะเห็นมาส่งเสริมการเกษตรให้แก่ชาวบ้านหรือส่งเสริมอาชีพเลยละค่ะ ไม่เหมือนกับแถวอยุธยา ที่เจ้าหน้าที่ทางด้านเกษตรเค้าให้คำแนะนำดีมากๆ ค่ะ ทั้งยังมหาลัยยังส่งเสริมเกษตรกรด้วย มันต่างกันจริง ๆ

ขอบคุณค่ะที่ฟังหนูบ่นไปเรื่อย วันหลังจะเข้ามาดูใหม่นะคะตอนนี้ต้องรีบทำงานก่อนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท