ตอนที่ 20 นานาปัญหาเรื่องผลิตอาหารของกลุ่มแม่บ้าน


ปัญหา,อาหาร

      สวัสดีครับ ผู้อ่านเมื่อวันที่ 13  พศจิกายน 2550 ได้เข้าร่วม Knowledge-based OTOP เป็นการเข้าร่วมที่ดีมากเมื่อมองในภาพของการจัดการความรู้เพราะได้พบกับกลุ่มผู้ผลิตอาหารในจังหวัดชัยนาท หลายกลุ่ม และเป็นผู้ผลิตระดับมืออาชีพ แต่ถ้าไม่มีข้อมูลพื้นฐานจากการได้เข้าทำข่าว และบทความคงจะกระตุ้นให้เกิดความคิดวิเคราะห์ในปัญหา และศักยภาพของกลุ่มตนเองได้ยากมาก อีกทั้งในการจัดเวทีเพื่อให้รับทราบถึงปัญหา และสกัดความรู้จากวิทยากรที่ได้เชิญมาจากผู้ประสบความสำเร็จในการผลิต เคอรีพัพในจังหวัดสระบุรี จึงต้องการให้เขาซักถามปัญหา แนวคิดจากวิทยากรที่จะแก้ปัญหาให้กับเขา

      วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ตอนแรกเข้าร่วมช่วยเป็นผู้ลิขิต จึงต้องลงเป็นคุณอำนวยกระตุ้นถามทั้งสมาชิกกลุ่มแม่บ้าน และวิทยากรเอง (ยึดอำนาจบนเวที)

     ปัญหาที่แม่บ้านพบ เป็นเรื่องทั่วไปที่หลายกลุ่มมีคือ

  • บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สวย
  • ขาดความทนทาน 
  • ขาดแหล่งรับซื้อ แต่ที่สำคัญราคาแพงส่งผลให้สินค้าที่จะจำหน่ายแพงไปด้วย อีกทั้งซื้อน้อยๆ ไม่ได้ต้องสั่งครั้งละมากๆ (เงินจมซิครับ)
  • ปัญหาแรงงานน้อย(เพราะค่าแรงต่ำ ทางสมาชิก แก้ไขเหมือนกัน คือบางกลุ่มให้ผู้สูงอายุทำ และกระจายไปในครัวเรือน)  
  • และผลิตภัณฑ์อาหารบางอย่างอายุการเก็บรักษาน้อย เพาะไม่ได้ใส่สานกันบูด
  • ที่สำคัญที่สุดก็คือขาดแคลนเงินทุนครับ

     แนวทางแก้ไข วิทยากรที่เข้าร่วมได้ให้ข้อคิดว่า

  • บรรจุภัณฑ์จะต้องดูลูกค้าถ้าเราขายให้เขาไปใช้งานเองก็ไม่ต้องลงทุนมาก เพราะราคาจะแพงกว่าสินค้านะ 
  • การขนส่งให้ใช้แผนรองกันกระแทก และขนส่งด้วยความระมัดระวัง
  • เพิ่มช่องทางการตลาด โดยลงทุนการสร้างแรงจูงใจหน่อยด้วยการให้ลองชิม แถม และสร้างความแตกต่าง 
  • จัดหาแหลงเงินทุน ซึ่งในการจัดเวทีนั้นได้ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านได้นำผลิตภัณฑ์มาโชว์ วิทยากรพบการเขียนวัน เดือนปีการผลิต และวันหมดอายุด้วบปากกาจึงแนะนำเพิ่มว่า ขอให้ใช้สติกเกอร์แทน เพราะจะทำให้ดูนาเชื่อถือเพิ่มขึ้น (มีระดับ)

       การจัดการ เรื่องนี้กว่าจะได้กระตุ้นหนักหน่อย เพราะคอยจะเฉลงข้างทาง  วิทยากรได้ปล่อยความรู้ออกมามากเลยคือ

  • คิดแบบสร้างสรร เข้าเวทีมากๆ  หาข้อมูลไว้เยอะ ดูทีวีสารคดี หาตำราที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา รับฟังรายการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และไปตลาดดูรูปแบบที่เขาสนใจกันนะ
  • คุมคุณภาพ ควบคุมวัตถุดิบให้มีคุณภาพ ควบคุมทุกขั้นตอน และต้องปรับการผลิตตามสภาวะแวดล้อม เพราะมีผลต่อคุณภาพการผลิตมาก เชียวนะจะบอกให้

 

หมายเลขบันทึก: 146181เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2007 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สวัสดีค่ะ chudchainat สินค้าโอทอป ช่วยสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน และเกษตรกร มาร่วมอุดหนุน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท