เพียงเริ่มต้นโครงการ R2R เรื่องนี้ก็เห็นประโยชน์ชัดเจนแล้ว...จากทีมวิจัยวิกฤตของหน่วย Chem


สองสัปดาห์ที่ผ่านมา โครงการประเมินการตอบสนองของแพทย์ต่อการรายงานค่าวิกฤตของหน่วยเคมีคลินิก ได้เริ่มดำเนินการ หลังจากที่พวกเราได้ทำการนำเสนอโครงการในงานเปิดตัว โครงการ Patho OTOP3 กันไปแล้ว สำหรับที่มาที่ไปที่เราเขียนเอาไว้ในโครงการว่า


เนื่องจากหน่วยเคมีคลินิก ภาควิชาพยาธิวิทยา เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เตรียมขอรับรองคุณภาพมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 15189  ซึ่งในข้อกำหนดหนึ่งของ ISO 15189 ได้กำหนดให้ห้องปฏิบัติการต้องแจ้งค่าของการทดสอบที่อยู่ในช่วงค่าวิกฤต (Critical Value) ให้แพทย์ทราบในทันที เมื่อตรวจได้ผลการทดสอบ ค่าวิกฤตในที่นี้หมายถึงค่าการทดสอบที่มีค่าผิดปกติในระดับที่อาจมีผลต่อชีวิตของผู้ป่วยซึ่งแพทย์จำเป็นต้องมาดูแลและให้การรักษาทันทีสำหรับค่าวิกฤตของการทดสอบของหน่วยเคมีคลินิก เป็นค่าที่ทางหน่วยได้เสนอผ่านภาควิชาไปให้แพทย์ที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว ประกอบด้วยค่าของการทดสอบต่อไปนี้                         
Glucose   <60 mg%         >500 mg%                     
Calcium    <5.0 mg%        >18.0 mg%

Na+          <110 mmol/L   >160 mmol/L                     
K+            <2.0 mmol/L    >6.0 mmol/L
                     
Cl-            <70 mmol/L     >130 mmol/L
                     
CO2          <5.0 mmol/L    >45 mmol/L

ในทางปฏิบัติในปัจจุบัน เมื่อทางหน่วยตรวจได้ผลการทดสอบอยู่ในช่วงค่าวิกฤตดังกล่าว ทางหน่วยจะโทรศัพท์แจ้งให้ทางหอผู้ป่วยหรือคลินิกทราบทันทีและได้เก็บบันทึกข้อมูลเอาไว้ ซึ่งได้ปฏิบัติมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว บัดนี้เนื่องจากทางคณะผู้วิจัยต้องการทราบผลสัมฤทธิ์ของการแจ้งค่าวิกฤต ทางคณะผู้วิจัยจึงได้คิดงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามประเมินการตอบสนองของแพทย์เมื่อได้รับรายงานค่าวิกฤตจากห้องปฏิบัติการ กล่าวคือแพทย์ได้มาดูแลผู้ป่วยโดยทันทีหรือไม่ เพราะเหตุใด ทั้งนี้เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการแจ้งค่าวิกฤตให้มีความเหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ายต่อไป


การดำเนินการช่วงแรกนี้เราได้เก็บข้อมูลย้อนหลังเพื่อค้นหาคลินิกและหอผู้ป่วยที่ได้รับรายงานค่าวิกฤตบ่อยที่สุด 10 หน่วยงาน ทำจดหมายจากภาควิชาฯไปขอความร่วมมือว่า เราจะมีการโทรศัพท์สัมภาษณ์แพทย์และพยาบาลผู้รับรายงานค่าวิกฤตของเรา ในช่วงเวลาหลังจากที่รายงานไปแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ได้รับอาสาเป็นคนโทรศัพท์ในช่วงแรกนี้ แล้วก็ไม่ผิดหวังจริงๆค่ะ ได้คุยกับแพทย์และพยาบาลที่รับรายงานมาแล้วหลายราย นอกจากถามคำถามที่เราตั้งไว้เพื่อเก็บข้อมูลแล้ว ก็ได้มีโอกาสพูดคุยถึงการรายงานผลของแล็บไปด้วยหลังจากนั้น ประทับใจกับการตอบสนองของทุกท่านเป็นอย่างมาก รู้สึกได้จากทุกท่านว่า พวกเราชาวคณะแพทย์นั้น ทำงานอย่างตั้งใจ เพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดต่อผู้ป่วยจริงๆ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมหลายอย่างที่มีประโยชน์นอกเหนือจากข้อมูลที่เก็บเพื่องานนี้ เรียกได้ว่า ก้าวแรก ก็เกินคุ้มแล้วค่ะ คิดไม่ผิดที่ตัดสินใจลงมือทำงานโครงการ R2R ในครั้งนี้

หมายเลขบันทึก: 145580เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2007 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ศิริรัตน์ LAB สถาบันบำราศ

ขอให้กำลังใจ ให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ และเผยแพร่ผลงานแบ่งปันให้ทราบกันต่อไป

ตอนนี้แพทยสภา กำลังทำเรื่อง patient safety  เป็นหัวข้อรณรงค์ ในปีนี้ LAB บทบาทสำคํญตรงนี้ด้วย

สวัสดีครับ

  • ติดตามมาให้กำลังใจ
  • แม้ไม่บ่อยก็ให้รู้ว่า ใจอยู่ไม่ไกลครับ
  • ขอให้มีพลังทั้ง กาย-ใจ ได้สนุกไปกับหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องและราบรื่นนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท