เส้นทางอุดมคติของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย


         ดร. ถิรพัฒน์  วิลัยทอง ศาสตราจารย์เกียรติคุณสาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ บรรยาย เรื่อง การบริหารงานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ แก่ผู้บริหารที่เข้าอบรมในหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 17  ไว้ตอนหนึ่งเกี่ยวกับ ปัญหาสำคัญของการพัฒนาระบบการวิจัยของประเทศไทย คือ การขาดระบบการพัฒนาบุคลากรตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

          ผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ควรจะผลักดันและเกื้อหนุนอาจารย์ในความดูแลให้มีเส้นทางอุดมคติที่ควรจะเป็น ตามแนวลูกศรสีแดงข้างซ้าย (รูปด้านล่าง) จนสามารถเป็นศาสตราจารย์ที่อายุประมาณ  45 ปี  ไม่ควรจะช้าเกินไปอย่างแนวลูกศรสีเหลืองข้างขวา ซึ่งกว่าจะเป็นศาสตราจารย์ก็อายุมากเกินไป 

         

          หลักการวางเป้าหมายและกลยุทธ์ คือ หลังจบปริญญาเอก

  • เป็น  ผ.ศ.  ภายใน 2-3 ปี ผลงานระดับ nation  2-3 paper
  • เป็น  ร.ศ.  ภายใน 2-3 ปี ผลงานระดับ international 1-2 paper + nation 3-4 paper
  • เป็น ศ.  ภายใน 10 ปี  ตำรา + ผลงานระดับ international 10 paper
    ต้องมี 2-3 paper ที่ตีพิมพ์ใน journal ที่มี IMPACT FACTOR (≥2 สำหรับฟิสิกส์)

          สิ่งต้องห้ามของอาจารย์ใหม่ ( 2 - 3 ปีแรก)

  1. หลีกเลี่ยงการเขียน (ตัดแปะ) ตำราเมื่อเริ่มทำงานในระยะแรก
  2. หลีกเลี่ยงการลงตีพิมพ์ในวารสารระดับคณะหรือมหาวิทยาลัย (คนไม่อ่าน ดูไม่ดีใน Biodata) ควรเป็นวารสารของสมาคมวิชาชีพ เช่น ScienceAsia เป็นต้น (การช่วยให้ได้ตีพิมพ์ง่ายๆ  ด้วยการให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับ third class จะทำให้ไปไม่ถึง first class)
  3. อย่าจับปลา  3  มือ   สอน     วิจัย     บริหาร/บริการ  (ทำให้เขาไม่มีเวลาสำหรับวิชาการ )
  4. หลีกเลี่ยงการใช้นักศึกษาทำงานแทนใน  2  ปีแรก ต้องทำวิจัยด้วยตัวเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้ให้รู้ก่อน
  5. หลีกเลี่ยงการทำมากกว่า  1  โครงการ (อย่าให้ทุนเขาน้อยเกินไป จนเขาต้องแตกโครงการ)
  6. หลีกเลี่ยงการเก็บเงินวิจัยไว้ในบัญชีส่วนตัว
  7. หลีกเลี่ยงการอมส่วนแบ่งผลงานวิชาการส่วนใหญ่เป็นของตัวเอง

          ดังนั้น ในบริบทของงานวิจัย ผู้บริหาร ควรเป็น facilitator มากกว่าเป็น commander หรือ social climber

หมายเลขบันทึก: 145385เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2007 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ครับ..ผมกำลังจะสำเร็จการศึกษา ป.ตรี วิศวกรรมศาสตร์เคมี ผมชอบการวิจัยและอยากเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยครับ แต่ตอนนี้ผมยังไม่อยากเรียนต่อเพราะผมไม่อยากรบกวนคุณแม่ผม จึงคิดว่าจบแล้วคงหางานทำก่อน แต่ผมก็ยังมุ่งมั่นที่จะเป็นอาจารย์ให้ได้เมื่อผมหาเลี้ยงคุณแม่ผมได้แล้วผมก็อยากจะกลับมาทำตามความฝันของผม...ผมอยากทราบว่าความฝันผมมันพอจะมีทางเป็นไปได้หรือเปล่าครับ...รบกวนอาจารย์ช่วยให้คำแนะนำหน่อยครับ

ถ้าชอบทำงานวิจัยละก็  ตรง spec อาจารย์มหาวิทยาลัยเลยละค่ะ 

แต่ก็ต้องรักการสอนด้วยนะคะ 

ต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู

ดังนั้น.........

ต้องแสดงศักยภาพว่าสามารถเรียนรู้ในระดับบัณฑิตศึกษาได้ (ต้องเรียนต่อจนจบ ป.โท - เอก ด้วยค่ะ)

สมัยนี้......คนจะเป็นอาจารย์ได้  เขารับกันแต่ ดร. เท่านั้น ( ป. โท ก็ยังไม่พอ)

มหาวิทยาลัยบางแห่ง แม้จะอนุโลมรับอาจารย์  ป.โท  แต่เขาก็จะขอวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษด้วย  เพราะต้องการทดสอบว่า  เมื่อถึงเวลา  จะเป็นผู้มีความสามารถที่จะเรียนต่อระดับ ป.เอกไหวหรือไม่ (เรียน ป.เอก ต้องอ่านวารสาร / หนังสือ ภาษาอังกฤษ มากๆๆๆ)

ตอนนี้ คุณ Pairotch  ยังไม่พร้อมที่จะเรียนก็ไม่เป็นไรค่ะ  (อายุยังน้อย) 

ประสบการณ์จากการทำงานจะช่วยให้การเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น มีความแหลมคมยิ่งขึ้น  ทำให้มีวุฒิภาวะดีขึ้น  แถมได้ความรู้จากการปฏิบัติจริงเป็นพื้นฐาน  (แต่อย่าทิ้งความรู้ทางวิชาการนานเกินไป)

การเป็นอาจารย์สอนในสาขาวิชา ที่เป็นวิชาชีพชั้นสูง  เช่น วิศวะ  อาจารย์ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานด้วย  ซึ่งดีกว่าอาจารย์ที่จบ ดร. มา ด้วยการเรียนลูกเดียว แล้วมาเป็นอาจารย์เลย  เพราะคนไม่เคยทำงานเวลาสอนก็จะสอนจากตำรา (เอาความรู้คนอื่นมาสอน)  ไม่มีความรู้ที่ปฏิบัติเอง  ไม่มั่นใจตนเเอง (ยกเว้นว่าตอนทำงานวิจัย ป.เอก ได้ทำงานวิจัยอย่างจริงจัง)

อ้อ!  การเรียนต่อ  ต้องเรียนในสาขาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันทั้งในระดับ ป.ตรี  ป. โทและ  ป.เอก  ถ้าขืนจบ ป.ตรีวิศวะ  แล้วไปจบ ป. โทบริหารธุรกิจ  ต่อด้วย ป.เอก รัฐศาสตร์  อย่างนี้ คงไม่ทราบจะให้เป็นอาจารย์ในสาขาไหนดี 

ขอให้ฝันเป็นจริงนะคะ  วางแผนดีดี....มุ่งมั่นตั้งใจแน่วแน่  ทุกอย่างที่ปรารถนาย่อมเป็นไปได้ทั้งนั้น 

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท